สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 13, 2011, 01:09:50 am



หัวข้อ: ขงจื้อ : มหาปราชญ์แห่งแผ่นดิน
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 13, 2011, 01:09:50 am
"ขงจื้อ"

http://www.youtube.com/watch?v=7dcyXUL-kDA# (http://www.youtube.com/watch?v=7dcyXUL-kDA#)


หัวข้อ: Re: ขงจื้อ / เล่าจื้อ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 13, 2011, 02:00:23 am
นักปราชญ์เมธี/ขงจื้อ vs ปรมาจารย์ลัทธิเต๋า/เล่าจื้อ


http://www.youtube.com/watch?v=YTfpneBfKyc# (http://www.youtube.com/watch?v=YTfpneBfKyc#)

             ในยุคชุนชิวของจีนมีมหาบุรุษสองท่านเกิดร่วมยุคสมัยกัน ท่านหนึ่งคือ ขงจื้อ อีกท่านหนึ่งคือ เล่าจื้อ

สองมหาบุรุษสองแนวทางเดิน หนึ่งนั้นยึดวิถีทางเดินโลก อีกหนึ่งนั้นธำรงแนวทางวิสุทธิ ดังนั้นโลกจึงอุบัติเกิดนัก

ปราชญ์เมธี เป็นลัทธิขงจื้อ ๑ และ นักพรต เป็นลัทธิเต๋า ๑    สิ่งที่ผมหยิบยื่นมาให้เพื่อนๆชาวเว็บพิจารณาก็ด้วย

ประโยคที่ว่า "สมเจตนาในทุกสิ่ง ด้วยการหยุดนิ่ง" จากคริปคือบทสรุปเยี่ยมยอดที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับนักภาวนา



(http://img.photobucket.com/albums/v376/svlina/lao-tzi2.jpg)

"ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด

สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"



http://twssg.blogspot.com/2010/02/movie-news-confucius-2010-thai-trailer.html


หัวข้อ: Re: เล่าจื้อ : ปรมาจารย์ลัทธิเต๋า
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 13, 2011, 02:36:33 am
(http://cutieparade.exteen.com/images/100px-Dao4.jpg)
(http://wenhua.eco.gov.cn/uploads/allimg/c090703/124B0J502Z-4H09.jpg)

บรรดาผู้ที่รู้แจ้งนั้นไม่ได้รู้มาจากคำพูดหรือคัมภีร์ หากแต่รู้จากการดำเนินชีวิตตามความเป็นจริง เหลาจื๊อเป็นหนึ่งใน

จำนวนน้อยนิดนี้ และในหมู่ผู้รู้แจ้งนี้มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้พยายามเปิดเผยสิ่งที่ พวกเขารู้ เหลาจื๊อก็เป็นผู้หนึ่ง

แต่สิ่งที่พวกเขาได้พยายามบอกถึงประสบการณ์ที่รู้แจ้งนั้นมิใช่ของจริง เพราะว่าอะไรก็ตามที่สามารถแสดงออกมา

ได้ย่อมมิใช่ของจริง สิ่งนั้นเป็นได้แค่รูปแบบของการสมมุติซึ่งขาดพลังทางจิตวิญญาณ




http://www.nakdham.com/webboard/index.php?topic=2010.0
http://www.vcharkarn.com/vblog/32144 (http://www.vcharkarn.com/vblog/32144)
http://cutieparade.exteen.com/20070429/entry (http://cutieparade.exteen.com/20070429/entry)


หัวข้อ: Re: มรรคาภิวัตน์ (หลักปรัชญาความเป็นคน 8 ประการ)
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 13, 2011, 04:54:31 pm
(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/pakinaka1.gif)(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQwpdI6ohJa5xA4VUXnY2f05KEKgtEWkcMdWhj5DdEyxH8AGgr2)

8 คำนี้ เป็นคำที่ชาวจีนสมัยก่อนได้รับการสั่งสอนให้ยึดมั่นปฏิบัติ เพื่อเป็นหลักธรรมสำคัญประจำใจตลอดชีวิต ซึ่ง

แต่ละคำก็มีหลักธรรมที่สมควรจดจำและนำไปปฏิบัติตาม ดังนี้




(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/zhong.gif)

“จง” หมายถึง ความจงรักภักดีต่อพระราชาหรือเจ้านายของตน เป็นลักษณะโดดเด่นของวัฒนธรรมจีนที่เน้นคุณธรรม

ในสังคมสมัยใหม่มีความหมายถึงความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติบ้านเมืองหลายคนคงรู้จักคำว่า "ตงฉิน" ตงฉิน

คือขุนนางผู้มีความจงรักภักดีต่อเจ้านายของตน




(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/xiao.gif)

“เซี่ยว” หมายถึง ความกตัญญูต่อบรรพบุรุษเป็นคุณสมบัติสำคัญของคนทุกคนแต่โบราณ มีผู้กล่าวไว้ว่าความกตัญญูนี้

เองทำให้ชาวจีนสามารถรักษาบ้านเมืองได้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ชนชาติเก่าอย่าง โรมันกรีก ได้สิ้นสลายไป

นานแล้ว




(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/ren.gif)

"อี้" หมายถึง มโนธรรม เป็นคุณธรรมของบัณฑิต(สุภาพบุรุษ)จีน ที่ขงจื้อยกย่องว่าเป็นคุณธรรมที่เป็นรากฐานของ

คุณธรรมทั้งปวง เป็นความใจดี ใจกว้าง ความหวังดีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์




(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/ai.gif)

“ที่” หมายถึง ความรัก ความปรองดอง ความรู้สึกอันลึกซึ้งที่มีต่อคนหรือสิ่งของเดิมเขียนแบบอักษรเก่าจะมีตัว

(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/xin.gif) ที่แปลว่าหัวใจประกอบอยู่ด้วย หมายถึงความรัก(ชอบ)อะไร ก็ต้องรักด้วยหัวใจ แสดงถึงความจริงใจ

ที่มีต่อความรักนั้น แต่ปัจจุบันตัว (http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/ai-full.gif) ได้เขียนแบบตัวย่อคือ (http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/ai-short.gif) โดยตัดตัวที่แปลว่าหัวใจออกไปซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการ

ทางภาษา




(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/li.gif)

"หลี่" หมายถึง จริยธรรม ขนบธรรมเนียมและพิธีกรรมอันเป็นที่นิยมว่าถูกต้อง และงดงาม ในสังคมที่ตกทอดมาแต่

โบราณ




(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/yi.gif)

“ซิ่น” หมายถึง สัจจะ ซึ่งเป็น 1 ในคุณธรรม 8 ข้อของชาวจีนที่แสดงออกด้วยความยึดมั่น ไม่ทิ้งเพื่อนในยามยาก

หรือในยามมีภัย ต่อสู้เพื่อความถูกต้องอย่างเด็ดเดี่ยว



(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/lian.gif)

"เหลียน" หมายถึง ความสุจริต ความสันโดษมักน้อย ความไม่โลภซึ่งเป็นคุณธรรมของขุนนางจีนสมัยโบราณและเป็น

คุณธรรมที่หล่อเลี้ยงความซื่อสัตย์สุจริตของชาวจีน



(http://i191.photobucket.com/albums/z291/por_hrd/chi.gif)

"ฉื่อ" หมายถึง ความละอาย คล้ายหิริโอตัปปะ คนที่มีความละอายใจเป็นประจำอยู่ในกมลสันดานนั้น ก็จะมีหลักเหนี่ยว

รั้งจิตใจไม่ให้กระทำใดๆ ไปตามกิเลส ทะยานอยากของตน




http://www.fwdder.com/topic/67388/hl=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
http://www.siamphrukhandicraft.com/index.php?mo=3&art=207910 (http://www.siamphrukhandicraft.com/index.php?mo=3&art=207910)
http://www.jariyatam.com/moral-01-/the-ethics-of-confucius- (http://www.jariyatam.com/moral-01-/the-ethics-of-confucius-)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=easywandering&month=25-06-2007&group=1&gblog=23 (http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=easywandering&month=25-06-2007&group=1&gblog=23)