หัวข้อ: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ? เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 29, 2011, 07:40:01 am ตอบปัญหาจากเมล
ปุจฉา ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ? วิสัชชนา สัทธา ความเชื่อ; ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตาม ลักษณะอาการภายนอก ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต; ศรัทธา คือ ความเชื่อ ต้องประกอบด้วย ปสาทะ คือ ความเลื่อมใส ความเลื่อมใส ควรเลื่อมใสในพระรัตนตรัย มี พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ( อริยะสงฆ์ ) เจริญธรรม ;) หัวข้อ: Re: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ? เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 29, 2011, 05:48:24 pm ตอบปัญหาจากเมล คนไทยไม่เชื่อ "กรรม..!" ผมไม่เชื่อ คำสอนที่แม่ชีคนนี้พูด หัวข้อ: Re: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ? เริ่มหัวข้อโดย: wiriya ที่ เมษายน 29, 2011, 07:53:53 pm ขอร่วมบุญกับพระอาจารย์ด้วยครับ ด้วยเนื้อหาพระสูตร เกี่ยวกับความสัทธา ครับ
อินทริยสังยุตต์ - ๕. ชราวรรค - สัทธาสูตร พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน สัทธาสูตร ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก [๑๐๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่ออาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูกรสารีบุตร อริยสาวก ผู้ใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในตถาคต หรือในศาสนาของตถาคต. [๑๐๑๑] พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด มีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่ง ในพระตถาคต อริยสาวกนั้น ไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภ ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. [๑๐๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติประกอบด้วยสติเป็น เครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำพูดแม้นานได้. [๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้ เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต. [๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่ เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความ ดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน. [๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวก นั้นแล พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้น ตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. [๑๐๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ศรัทธาของอริยสาวก เป็นสัทธินทรีย์ ดังนี้แล. [๑๐๑๗] พ. ดีละๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัย ในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่า อริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยัง กุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. [๑๐๑๘] ดูกรสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่อง รักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตามระลึกถึง กิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้. [๑๐๑๙] ดูกรสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มี ศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็น อารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต. [๑๐๒๐] ดูกรสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิตตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัด อย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับ ด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืด คืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน. [๑๐๒๑] ดูกรสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแล พยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้ว นั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา. [๑๐๒๒] ดูกรสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล. จบ สูตรที่ ๑๐ หัวข้อ: Re: ถ้าจะเชื่อ หรือ ศรัทธา ควรเชื่ออย่างไรคะ ? เริ่มหัวข้อโดย: nopporn ที่ มีนาคม 28, 2014, 08:28:34 am เห็นหัวข้อนี้ น่าจะเกี่ยวข้องกับคำว่า ศรัทธา ที่พระอาจารย์หมายถึง ล่าสุด ใช่หรือไม่คะ
:58: st12 st12 |