สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 09, 2011, 07:17:51 am



หัวข้อ: การฝืนธรรมชาติ จะเข้าถึงธรรมชาติ ได้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 09, 2011, 07:17:51 am
(http://www.madchima.org/forum/gallery/10_05_05_11_8_01_06.jpeg)

(http://www.madchima.org/forum/gallery/10_05_05_11_8_19_12.png)
ข้อปฏิบัติหนึ่งที่เห็นใน มหาสติปัฏฐาน นั้นก็คือ สัปปชัญญะบรรพ อิริยาปถบรรพ อันนี้ต้องการให้กำหนดสติรู้ในธรรมชาติของกายใช้หรือไม่ครับ ดังนั้น ในหลักการปฏิบัติจะเห็นว่า เมื่อเราหิว ก็ควรทาน เมื่อเราง่วง ก็ควรนอน
เมื่อเรามีความต้องการ อันเป็นสภาพที่เป็นธรรมชาติ ก็ควรตอบสนองเท่าที่ควรจำเป็นอย่างนี้ จึงจะสมควรใช่หรือไม่ เพราะไม่ฝืนธรรมชาติ
การฝืนธรรมชาติ จะเข้าถึงธรรมชาติ ได้อย่างไร ?

(http://www.madchima.org/forum/gallery/10_05_05_11_11_09_58.png)
 ธรรมชาติ ก็มี 3 แบบ ธรรมชาติฝ่าย เป็น อกุศล กับธรรมชาติผ่าย กุศล  และธรรมชาติที่รอจะเป็น กุศล และ อกุศล อยู่

จะเอาธรรมชาติแบบไหนละจ๊ะ

เมื่อหิว ต้องทานหรือไม่  ต้องไปย้อนดูว่า เวลาที่หิวจริง หรือ อยากกิน

เมื่่อง่วงนอน ต้องกลับไปดูว่า อยากนอน หรือ จำเป็นต้องนอน


ลองพิจารณา ดูสั้น ๆ เท่านี้ก่อนนะจ๊ะ เดี๋ยวค่อยมา วิสัชชนา เพิ่มเติม

เจริญธรรม
 ;)



หัวข้อ: Re: การฝืนธรรมชาติ จะเข้าถึงธรรมชาติ ได้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: prachabeodee ที่ พฤษภาคม 09, 2011, 10:13:20 am
คำว่าธรรมชาติ นี่ ค่อนข้างกว้างและก็จำกัดความได้ลำบาก เพราะ จริงๆแล้ว แม้คำว่า "ผิดธรรมชาติ"ก็ยังถือเป็นลักษณะของธรรมชาติอย่างหนึ่งได้เช่นกัน....เพียงแต่อาจเป็นลักษณะที่ไม่เกิดขึ้นได้บ่อยนัก(ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยปรุงแต่งในขณะนั้น..) .........ซึ่งก็ขึ้นอยู่กันมุมมองหรือหลักในการใช้แยกหรือเจตนาในการแยกสิ่งนั้นๆ...ทั้งหมดทั้งมวลแล้วก็เป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นเท่านั้น......
ดังนั้น....น่าจะใช้ คำว่า มัชฌิมาปฎิปทาน่าจะดีกว่า .....เช่น ผู้ที่มีปิติอันเกิดแต่ใจ,ผู้อยู่ในฌาณหรือผู้เป็นพระอริยะเจ้า......ก็ไม่หิว.........แต่ก็ต้องกิน เพราะโลกนี้,กายนี้ยังต้องเป็นไปตามกฎ(ธรรมชาติ)ที่เป็นไปในโลกนี้...โลกนี้ดำเนินไปได้ด้วยลักษณะอย่างนี้..........(เหตุปัจจัยเขาเป็นอย่างนี้)


หัวข้อ: Re: การฝืนธรรมชาติ จะเข้าถึงธรรมชาติ ได้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: rainmain ที่ พฤษภาคม 09, 2011, 11:25:44 am
เห็นด้วยว่า มหาสติปัฏฐาน นั้นไม่ได้เป็นการเข้าถึงธรรมชาติ แต่ เข้าใจในธรรมชาติ
และใช้ชีวิตอยู่ ด้วยความจำเป็น ตัดความไม่จำเป็นออก สอดคล้องกัน ทั้งกาย และจิต
เพราะ กาย น้้นต้องคืนสู่ธรรมชาติ อันเป็นสภาพธรรมดา

มีความหมายของคำว่า ธรรม คือ ธรรมดา ตถาตา อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท อริยสัจจะ นิพพาน

ธรรมะเป็นกลาง ๆ ก็อย่างที่พระอาจารยย์กล่าวไว้ในตอนต้นว่า

   กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพพยากตาธัมมา เริ่มต้น ธรรมชาตก็อย่างนี้ ละครับ

  :s_hi: