สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: sakol ที่ พฤษภาคม 20, 2011, 03:14:43 pm



หัวข้อ: เวลานั่งสมาธิ ต้องนั่งบนเบาะ ด้วยหรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: sakol ที่ พฤษภาคม 20, 2011, 03:14:43 pm
มีคนกล่าวว่า ถ้านั่งสมาธิให้ดีต้องนั่งบนเบาะ อันนี้จริงหรือไม่ครับ

อยากทราบว่า มีเพื่อนสมาชิก ท่านใดไม่ใช้เบาะนั่งสมาธิ บ้างครับ

 :25:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งสมาธิ ต้องนั่งบนเบาะ ด้วยหรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 20, 2011, 07:22:00 pm

ผมนั่งบนพื้นที่ปูกระเบื้องก็ได้ นั่งบนเก้าอี้ไม้ก็ได้

นั่งบนเสื่อก็ได้ นั่งบนอาสนะบางๆก็ได้

สรุป นั่งที่ไหนก็ได้ครับ หากไม่มีปลิโพธหรือนิวรณ์ มารบกวน (นั่งได้แบบมีสมาธิ)

 :49: ;)


หัวข้อ: Re: เวลานั่งสมาธิ ต้องนั่งบนเบาะ ด้วยหรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: VongoleX ที่ พฤษภาคม 20, 2011, 08:57:32 pm
ส่วนตัวนะครับ ผมจะนั่งไม่มีอะไรรองกัน ครับ แต่ก็จะนั่งได้ประมาณ 1 ชม. พอให้ได้สงบใจบ้าง

บางครั้งก็อาศัยนั่งหลับครับ เพราะว่าง่วงครับ เช่นไปสถานปฏิบัติธรรมบางแห่ง ต้องนอนรวมในศาลา

แต่เราไป แล้วง่วง อยากนอนไม่ได้ ก็อาศัยนั่งหลับครับ....

  พูดถึงการนั่ง ผมว่า ใหม่ ๆ ควรฝึกนั่งเก้าอี้ สลับกับการนั่ง ขัดตะหมาด จะดีนะครับ

 คือ นั่งสลับ กัน หรือ เดินจงกรม สลับ ผมว่าน่าจะดี โดยทฤษฎี นะครับ เพราะส่วนตัวผมเอง

ไม่ค่อยจะชอบเดินจงกรม เพราะผมชอบเดินไว ครับ ไม่ชอบเดินช้า ครับ

 พอมากำหนด เดินช้า ๆ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ เป็นต้น รู้สึกไม่ค่อยชอบครับ

ชอบเดินโดยไม่กำหนดอะไรมากกว่า ครับ

 :25:


หัวข้อ: Re: เวลานั่งสมาธิ ต้องนั่งบนเบาะ ด้วยหรือป่าวครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 23, 2011, 08:25:57 am
อาตมาคิดว่า ถ้าง่วงนอนจริง ก็อย่าฝืนนะจ๊ะ ให้นอนหลับไปโดยกำหนดสติเวลาตายไว้

ใครทำได้ตามเวลา ก็ถือว่ามีวสี ตามนั้น

ส่วนการนั่งจะนั่งอย่างไร ท่าไหน ก็กำหนดจิตเป็นสมาธิได้ทั้งนั้น

สมาธิ ไม่ได้อยู่ที่การนั่ง ท่านั่ง อุปกรณ์การนั่ง เพราะถ้าคุณนั่งบนอุปกรณ์ี่ที่ดี นั่งบนท่าที่สวย แต่กำหนดจิตไม่ได้ก็ยังไม่เป็นสมาธิ ดังนั้น อุปกรณ์ ท่านั่ง เป็นเหตุปัจจัยส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ในการเดินจิต สิจ๊ะ

ถ้าถามว่า ระหว่างคนพิการที่นอนอยู่ กับ คนที่มีร่างกายครบถ้วน ทั้งสองคนจะภาวนาธรรมสำเร็จได้หรือไม่

ก็ตอบว่า ทั้งสองคน เสมอกัน แต่คนพิการอาจจะได้เปรียบ เพราะสภาพความบีบคั้นนั้นบังคับจิตให้เข้าสภาวะไว้เหมือนคนมีความทุกข์ ก็ต้องอาศัยทุกข์ เข้าสู่การภาวนา ดังนั้นคนที่ปรารถนาสุข จึงไม่ชอบความทุกข์ในสายกรรมฐาน จึงให้มาเรียนความสุข ( เวทนา ) เพื่อเข้าถึงธรรม

เจริญธรรม

 ;)