สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 23, 2011, 11:38:22 am



หัวข้อ: คำว่า"มัชฌิมา แบบลำดับ" มาจากไหน? ใครยังไม่รู้ เชิญทางนี้...
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 23, 2011, 11:38:22 am

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

มหาวรรคที่ ๒
ปหาราทสูตร

   [๑๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต ใกล้กรุงเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า

ดูกรปหาราทะพวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทรบ้างหรือ ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทร ฯ

ฯลฯ......ฯลฯ......ฯลฯ......


(http://www.madchima.org/forum/gallery/2_19_03_10_9_34_03.jpeg)

ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด
ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ
มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง


ดูกรปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง ฯลฯ


ฯลฯ......ฯลฯ......ฯลฯ......

ที่มา  "ความอัศจรรย์ของมหาสมุทร" เกี่ยวข้องอย่างไรกับ "การศึกษาไปโดยลำดับ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2142.msg8068#msg8068 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2142.msg8068#msg8068)


หัวข้อ: Re: คำว่า"มัชฌิมา แบบลำดับ" มาจากไหน? ใครยังไม่รู้ เชิญทางนี้...
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 23, 2011, 11:52:10 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๑๐. กีฏาคิริสูตร

การตั้งอยู่ในอรหัตตผล

   [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้

แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ

ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.


(http://www.dekdern.com/userfiles/image/25309531pu5.jpg)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม

(http://www.thaimtb.com/webboard/236/118164-1.jpg)


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๔๑๒๓ - ๔๒๓๔.  หน้าที่  ๑๗๙ - ๑๘๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4123&Z=4234&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4123&Z=4234&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222)
ขอบคุณภาพจากเว็บ dekdern และ thaimtb.


หัวข้อ: Re: คำว่า"มัชฌิมา แบบลำดับ" มาจากไหน? ใครยังไม่รู้ เชิญทางนี้...
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 23, 2011, 12:10:04 pm
(http://www.watthaistockton.org/userfiles/image/%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20Buddhsit%20Education/rahula.jpg)

พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล ครั้งตติยสังคายนา

พุทธกาลล่วงแล้วได้ประมาณ  ๒๑๖ ปี  ก่อนตติยสังคายนา จึงหมดพระกรรมฐานแบบสันโดดคือ การเจริญพระกรรมฐานแบบกองใด กองหนึ่ง อย่างใด อย่างหนึ่ง ของพระมหาสาวกทั้งหลาย เหลือแต่พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นพระกรรมฐานทางสายกลาง  ของพระราหุลเถรเจ้า
 
เหตุที่เรียกพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพราะเป็นพระกรรมฐานที่ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง ในพระสมถกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และเรียนเป็นลำดับไปจนครบ ๔๐ กอง เป็นการรวบรวมเอาพระสมถะกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง และวิปัสสนาทั้งมวลไว้ในที่เดียวกัน

เพื่อไม่ให้พระสมถะกรรมฐาน ๔๐กอง และพระวิปัสสนาทั้งมวล แตกกระจายสูญหายไปในทางปฏิบัติ (คือไม่เหลือ แต่ตำรา) อีกทั้งไม่ให้ความสำคัญกับพระกรรมฐานกองใด กองหนึ่ง


(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQTviyU8o7k70-g1fYGKKjgc4ukMhwLe626M3U2ATp3LNm92Q9U-g&t=1)

พระกรรมฐานแบบมัชฌิมา แบบลำดับ อันเป็นของ พระผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นเลิศทาง เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ศีล สมาธิ ปัญญา คือ พระราหุลเถรเจ้า


อ้างอิง
- ที่มาของคำว่า "กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=435.msg1611#msg1611 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=435.msg1611#msg1611)
- หนังสือ ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  เรียบเรียง.
- ขอบคุณภาพจากเว็บ t0.gstatic และ watthaistockton