สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: สมภพ ที่ กรกฎาคม 13, 2011, 10:58:13 am



หัวข้อ: เวลาในการภาวนา ไม่มีช่องว่าง ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กรกฎาคม 13, 2011, 10:58:13 am
“มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (ไม่หลับ ไม่ง่วง ไม่มึนชา).
จงชำระจิตใจให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวันยันค่ำ ไปจนสิ้นยามแรก แห่งราตรี.
ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือตะแคงขวา เท้าเหลื่อมเท้า) มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น.
ครั้นถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตใจให้หมดจดจากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน การนั่ง อีกต่อไป” ดังนี้.
อุปริ. ม. ๑๔/๘๒/๙๔.
http://www.etipitaka.com/read?language=thai&number=62&volume=14 (http://www.etipitaka.com/read?language=thai&number=62&volume=14)

*
ถ้าเราแบ่งกลางคืนเป็นช่วง 18.00 ถึง 6.00 จะได้ 12/4 = 3 ยาม
ยามหนึ่ง = 18.00 ถึง 22.00
ยามสอง = 22.00 ถึง 02.00
ยามสาม = 02.00 ถึง 18.00
ดังนั้น พระพุทธเจ้าให้พระภิกษุเดินสลับนั่งตลอดวันหลังฉันจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี(22.00)
จากนั้นสำเร็จการนอนด้วยอย่างราชสีห์กระทั่งสิ้นยามสอง(02.00)
จากนั้นเดินสลับนั่งจนสิ้นยามสาม(6.00) แล้วบิณฑบาตร ขบฉัน เดินสลับนั่งต่อ


(http://mkpayap.payap.ac.th/course/mk380/MK315Web/sec1/472284/001.jpg)


หัวข้อ: Re: เวลาในการภาวนา ไม่มีช่องว่าง ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 13, 2011, 12:16:53 pm

(http://www.sangthipnipparn.com/image/kaew%20bhudha/1191343605.jpg)
ภาพจากwww.sangthipnipparn.com/

กระทู้ที่เกี่ยวข้องครับ......

"ตื่น ๕ ส่วน หลับ ๑ ส่วน" พระพุทธองค์ตรัสไว้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4331.msg16014#msg16014 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4331.msg16014#msg16014)



ยาม, ยาม-

 [ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม;

ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม;

(โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ

; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน

; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

อ้างอิง  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


ยาม คราว, เวลา, ส่วนแห่งวันคืน

ปฐมยาม ยามต้น, ยามที่หนึ่ง, ส่วนที่หนึ่งแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน; เทียบ มัชฌิมยาม, ปัจฉิมยาม

มัชฌิมยาม ยามกลาง, ส่วนที่ ๒ ของราตรี เมื่อแบ่งคืนหนึ่งเป็น ๓ ส่วน, ระยะเที่ยงคืน; เทียบ ปฐมยาม, ปัจฉิมยาม

ปัจฉิมยาม ยามสุดท้าย, ช่วงสุดท้ายแห่งราตรี เมื่อแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ส่วน; เทียบ ปฐมยาม, มัชฌิมยาม

อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text= (http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=)ยาม
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%D2%C1 (http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C2%D2%C1)