หัวข้อ: ฌาน 5 เป็น ฌานของ พุทธภูมิ หรือไม่คะ เริ่มหัวข้อโดย: วิชชุดา ที่ กรกฎาคม 21, 2011, 02:44:08 pm เคยได้อ่านจากหนังสือ หลวงพ่อลิงดำ แล้วท่านกล่าวว่า ฌาน 5 เป็น ฌานของผู้อยู่ในพุทธภูิมิ
อยากทราบว่าจริง หรือไม่ คะ แล้วพวกฝึกได้ ฌาน 5 นี่ฝึก ถึง ฌาน 8 ไม่ได้ใช่หรือไม่คะ :c017: หัวข้อ: Re: ฌาน 5 เป็น ฌานของ พุทธภูมิ หรือไม่คะ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 21, 2011, 10:56:39 pm ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา) ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา) ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา); ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒. ทติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ อ้างอิง พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต) หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เทศน์ไว้อย่างไร ผมไม่ทราบ เท่าที่ได้อ่านได้ฟังมา คนปรารถนาพุทธภูมิ เรียนสมถกรรมฐานได้ทั้ง ๔๐ กอง นั่นคือ สามารถเรียนสมาบัติ ๘ หรือ ฌาน ๘ ได้ (รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔) ส่วนวิปัสสนากรรมฐานทำได้สูงถึง สังขารุเปกขาญาณ หากเดินวิปัสสนาเกินกว่านี้ จะเป็น"สาวกภูมิ" ;) หัวข้อ: Re: ฌาน 5 เป็น ฌานของ พุทธภูมิ หรือไม่คะ เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ กรกฎาคม 23, 2011, 11:06:47 am กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอน ฌาน 5 แล้วจึงไปต่อ อรูปฌาน คะ
แสดงให้เห็นว่า ฌาน 5 กับ ฌาน 4 นั้น อารมณ์ อาการ คล้ายกัน คะ เพียง ฌาน 5 มีเพิ่มเข้ามาจาก ฌาน 4 คือ อุเบกขา ซึ่งอยุ่ใน ฉฬังคอุเบกขา เป็น ฌานุเบกขา และ ปริสุทธุเบกขา ด้วยคะ แต่ เห็นพระอาจารย์ จะกล่าว ตัตรมัชฌุตเบกขา มากกว่า ทุก อุเบกขา นะคะ วานศิษย์ ใกล้ชิด สานต่อด้วยนะคะ :25: หัวข้อ: Re: ฌาน 5 เป็น ฌานของ พุทธภูมิ หรือไม่คะ เริ่มหัวข้อโดย: pornpimol ที่ กรกฎาคม 23, 2011, 11:50:55 am ก็ยังไม่เข้าใจ อยู่ดี คะ เพราะยังปฏิบัติไปไม่ถึง คะ เลยไม่กล้าเข้าไปวิจารณ์ นะคะ
สาุธุ เจ้าคะ :s_hi: หัวข้อ: Re: ฌาน 5 เป็น ฌานของ พุทธภูมิ หรือไม่คะ เริ่มหัวข้อโดย: TC9 ที่ กรกฎาคม 23, 2011, 11:59:19 am เห็นด้วยครับ เรื่องนี้ผมก็ว่า เกินจากสติปัญญา ของผมเข้าไปวิจารณ์ เหมือนกันครับ
:41: |