หัวข้อ: e-book content จำเป็นหรือไม่ ( ตอนนี้มีขายราคาตั้งแต่ 2000 บาท ขึ้นไป ) เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ กรกฎาคม 22, 2011, 07:21:16 am (http://graphics.sci.ubu.ac.th/wiki/images/a/ac/TC1100.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://graphics.sci.ubu.ac.th (http://graphics.sci.ubu.ac.th) เมื่อคราวที่แล้วได้กล่าวถึงแท็บเล็ตพีซีและอีรีดเดอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงเนื้อหาสาระความรู้ ต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายประเภทในระบบอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่รูปภาพ วิดีโอ ข้อความ เสียง ซึ่งขอรวมเรียกว่า คอนเทนต์ ตรงนี้ครับที่สำคัญมากเพราะการที่มีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แล้ว จำเป็นต้องมีคอนเทนต์มาพร้อม ๆ กันเพื่อให้ครบวงจร ในปัจจุบัน ใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษา HTML ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ไปใส่ไว้บนโลกของอินเทอร์เน็ตได้ วิธีการไม่ต่างจากการพิมพ์เอกสารหรืออัพโหลดไฟล์ธรรมดา แต่การที่ใครก็ได้สามารถใส่คอนเทนต์ลงบนอินเทอร์เน็ต ทำให้เนื้อหานั้นอาจไม่ได้ผ่านการกลั่นกรอง และมาสู่คำถามถึงความน่าเชื่อถือของเนื้อหาดังกล่าว ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการทำหนังสือซึ่งมีที่มาที่ไปชัดเจน มีการตรวจสอบคุณค่าเนื้อหาสาระโดยสำนักพิมพ์ บนโลกของอินเทอร์เน็ต ก็มีหนังสือเช่นกันซึ่งเราเรียกว่า อีบุ๊ก (eBook) ซึ่งเป็นการแปลงหนังสือที่อยู่ในรูปของกระดาษมาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ อีบุ๊กจึงถือเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญอีกอันหนึ่ง อีบุ๊กมีข้อดีอยู่หลายประการคือ ไม่มีต้นทุนการพิมพ์ ไม่ต้องใช้กระดาษ ไม่ต้องใช้หมึก ซึ่งถือเป็นต้นทุนสำคัญของหนังสือเลยทีเดียว อีกทั้งยังลดการขนส่งหนังสือจากโรงพิมพ์ไปยังร้านขายหนังสือได้อีก ทำให้สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตหนังสือไปได้มาก ลดการตัดต้นไม้ ลดพลังงานและมลพิษที่เกิดจากการขนส่ง ดังนั้นต้นทุนส่วนใหญ่ของอีบุ๊กจึงไปอยู่ที่ค่าลิขสิทธิ์ และผู้อ่านก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปร้านขายหนังสือ สามารถค้นหาหนังสือผ่านทางออนไลน์ได้ สร้างความสะดวกสบายในการซื้อหาหนังสือ ถ้าไปดูตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2551 ที่ได้สำรวจการอ่านหนังสือของประชากร เกี่ยวกับวิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านหนังสือพบว่า อันดับแรกคือ หนังสือควรมีราคาถูกลงถึงร้อยละ 28.7 ดังนั้นราคาของหนังสือจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง อีบุ๊กจึงถือเป็นโอกาสอีกอันหนึ่งที่จะทำให้หนังสือนั้นมีราคาที่ถูกลง ถ้าหากเข้าไปในเว็บอเมซอนจะพบว่ามีอีบุ๊กนับล้านเล่ม อีกทั้งยังมี อีแม็ก กาซีน (eMagazine) อีกมากมาย แต่เราลองมาดูในประเทศไทย อีบุ๊ก ที่เป็นภาษาไทยนั้นยังไม่ค่อยมีให้เห็นกันสักเท่าไรนัก ดังนั้นการที่จะส่งเสริมประชาชนให้เข้าถึงความรู้บนโลกอินเทอร์เน็ต นอกจากจะคำนึงถึงตัวอุปกรณ์เช่นแท็บเล็ตหรืออีรีดเดอร์แล้ว ยังจะต้องส่งเสริมอีบุ๊กให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นและมีราคาถูกด้วย. ดร.โชคดี เลียวพานิช ภาควิชาไอที คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อัสสัมชัญ chokdee@scitech.au.edu |