สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: วรรณา ที่ กรกฎาคม 26, 2011, 09:43:57 am



หัวข้อ: พระอริยะบุคคล ระดับไหน จึงจะไม่โกรธ แล้ว คะ
เริ่มหัวข้อโดย: วรรณา ที่ กรกฎาคม 26, 2011, 09:43:57 am
ทราบมาว่า พระอริยะบุคคล มี  4 พวก

แต่ละพวกนั้น มีพวกไหน ตัดความโกรธ ได้เด็ดขาดแล้วคะ

 :88: :25: :c017:


หัวข้อ: Re: พระอริยะบุคคล ระดับไหน จึงจะไม่โกรธ แล้ว คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 26, 2011, 02:47:08 pm
สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ

       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ

       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;

       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
      พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ปฏิฆะ ความขัดใจ, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต
       ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ;

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    ข้อมูลที่เสนอมา น่าจะพอตอบข้อสงสัยของคุณวรรณาได้
    สรุปก็คือ ต้องเป็นอริยบุคคลระดับ "อนาคามีผล" เป็นอย่างน้อย


    ขอแถมให้อีกเรื่อง อนาคามีผลไม่มีนิวรณ์ คือ

    นิวรณ์ ๕ (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง.)

๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ )
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย )

   เมื่อไม่มีนิวรณ์ สมาธิของอนาคามีผล จึงสมบูรณ์

   สุดท้ายขอเปรียบเทียบคุณธรรมของอริยบุคคล ให้เข้าใจในภาพรวม
   
   โสดาบัน    ศีลสมบูรณ์   สมาธิเล็กน้อย   ปัญญาเล็กน้อย
   สกิทาคามี  ศีลสมบูรณ์   สมาธิปานกลาง  ปัญญาเล็กน้อย
   อนาคามี    ศีลสมบูรณ์   สมาธิสมบูรณ์    ปัญญาปานกลาง
   อรหันต์     ศีลสมบูรณ์   สมาธิสมบูรณ์    ปัญญาสมบูรณ์
   
  ขอให้ธรรมคุ้มครอง :25: