สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: timeman ที่ กรกฎาคม 27, 2011, 09:55:15 am



หัวข้อ: เวลาฟุ้งซ่าน มาก ๆ ควรทำอย่างไร ควรพิจารณาธรรม อย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: timeman ที่ กรกฎาคม 27, 2011, 09:55:15 am
อยากได้คำแนะนำเวลา การภาวนา ผมได้ภาวนาไปแล้วมีคววมรู้สึกฟุ้งซ่านมาก ๆ

ดังนั้น เวลาฟุ้งซ่าน มาก ๆ ควรทำอย่างไร ควรพิจารณาธรรม อย่างไรดีครับ

จึงจะแก้ ความฟุ้งซ่าน ได้ครับ

 :c017:


หัวข้อ: Re: เวลาฟุ้งซ่าน มาก ๆ ควรทำอย่างไร ควรพิจารณาธรรม อย่างไรดีครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 31, 2011, 09:01:28 pm
อยากได้คำแนะนำเวลา การภาวนา ผมได้ภาวนาไปแล้วมีคววมรู้สึกฟุ้งซ่านมาก ๆ

ดังนั้น เวลาฟุ้งซ่าน มาก ๆ ควรทำอย่างไร ควรพิจารณาธรรม อย่างไรดีครับ

จึงจะแก้ ความฟุ้งซ่าน ได้ครับ

 :c017:

  ขอโทษคุณtimeman ด้วยครับ ผมเพิ่งเห็นกระทู้นี้

  ยังไม่มีใครมาคุญด้วย ผมจะคุยเป็นเพื่อนครับ

  ความฟุ้งซ่านของคุณ ผมไม่ทราบว่า เกิดตอนไหน เกิดในขณะกำลังจะทำสมาธิหรือเปล่า

  ความฟุ้งซ่าน ที่เป็นศัตรูของสมาธิ ก็คือ อุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล)

 เป็นนิวรณ์ข้อที่ ๔


คนส่วนใหญ่ที่มีความฟุ้งซ่านน่าจะมาจาก กามฉันทะ และพยาบาท ซึ่งเป็นปรกติของโลก

 แต่ถ้าเป็นการฟุ้งซ่านในธรรม  พระอรหันต์เท่านั้นที่จะตัดได้ เพราะว่า อุทธัจจะ เป็นสังโยชน์เบื้องสูง

 (อุทธัจจะในนิวรณ์ กับในสังโยชน์ไม่เหมือนกัน)

 ผมจะพูดเฉพาะ อุทธัจจะที่อยู่ในนิวรณ์นะครับ ผมจะขอนำข้อความในหนังสือที่พระอาจารย์เขียนไว้มาแสดง


 ในเบื้องต้นของการภาวนาในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จะมีการทำนิมิตอยู่ ๓ ขั้นตอน คือ

        ๑. ปัคคาหะนิมิต
        ๒. บริกรรมนิมิต
        ๓. อุเบกขานิมิต


    ผมจะกล่าวเฉพาะอุเบกขานิมิต
        ในระหว่างภาวนา ถ้าจิตซัดส่ายออกไปในอดีต หรือไปในอนาคต หรือฟุ้งซ่านอยู่ในปัจจุบัน
ก็ให้เพิกจิตวางเฉย เมื่อมีสติ ก็ดึงคืนกลับมา ด้วยการส่งลมหายใจเข้าไปให้เต็มปอดพร้อมภาวนาว่า
"พุทโธ" และส่งจิตไปยังฐานจิตทันที การวางจิตอย่างนี้เรียกว่า "อุเบกขานิมิต"

     
    ยังมีอีกเทคนิคหนึ่งที่พระอาจารย์สอนไว้ ก็คือ การกลั้นลมหายใจ เมื่อจิตของเราฟุ้งซานมากๆ
ให้เราหายใจเข้าลึกๆ แล้วกลั้นลมหายใจ นับ ๑ ถึง ๑๐ จากนั้นให้ค่อยๆผ่อนลมหายใจออก
    ความจริงแล้ว ต้นฉบับจากครูบาอาจารย์ให้นับ ๑ ถึง ๓๗ ครับ (นำมาจากโพธิปักขิยธรรม ๓๗)
เนื่องจากพวกเรายังเป็นผู้เริ่มฝึกเลยเอาแค่สิบก็พอ แต่หากใครนับได้ถึง ๓๗ ก็อนุโมทนาครับ


   :welcome: :49: :25: :25: