สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: timeman ที่ กรกฎาคม 27, 2011, 09:57:08 am



หัวข้อ: เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: timeman ที่ กรกฎาคม 27, 2011, 09:57:08 am
เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก..... นั่งได้เป็นวัน ๆ

อย่างนี้จัดว่าได้บรรลุธรรม หรือยัง ครับ

   :c017:


หัวข้อ: Re: เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ กรกฎาคม 28, 2011, 07:21:46 am
เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก..... นั่งได้เป็นวัน ๆ

อย่างนี้จัดว่าได้บรรลุธรรม หรือยัง ครับ

   :c017:

 ผมเองเวลาภาวนากรรมฐาน ก็นิ่ง ๆ อยู่เป็นเวลา ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง ครับ

 อย่าเลยครับที่จะมาคิดว่า ผมบรรลุธรรม ผมตอบได้อย่างเต็มปาก เต็มคำเลยครับว่า 

 ยังไม่ได้บรรลุอะไรเลยครับ

 เวลาออกกรรมฐาน มาก็ยังมี โลภ โกรธ หลง อยู่ แต่อาจจะนอนลงไป สงบลงไปบ้างจากเมื่อก่อน

ดังนั้น การนั่งกรรมฐาน ได้นาน ๆ ก็ใช่ว่าจะบรรลุธรรมนะครับ

 การบรรลุธรรม ต้องตรวจที่สังโยชน์ 10 ประการ แล้วต้องตรวจตนเองเท่านั้นครับ ไม่มีใครตรวจให้กันได้ครับ

  :s_hi: :13: :13:


หัวข้อ: Re: เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 28, 2011, 08:39:46 am
เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก..... นั่งได้เป็นวัน ๆ

อย่างนี้จัดว่าได้บรรลุธรรม หรือยัง ครับ

   :c017:

 เวทนา ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย
           ๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย
           ๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่า อุเบกขาเวทนา;
       
    อีกหมวดหนึ่งจัดเป็น เวทนา ๕ คือ
           ๑. สุข สบายกาย
           ๒. ทุกข์ ไม่สบายกาย
           ๓. โสมนัส สบายใจ
           ๔. โทมนัส ไม่สบายใจ
           ๕. อุเบกขา เฉยๆ;

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


เวทนามีหลายอย่าง ที่นิ่งๆอาจเป็น "อทุกขมสุขเวทนา" ก็ได้ ทางที่ถูกกต้องมี วิปัสสนาจารย์สอบอารมณ์ครับ

 วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี สระบุรี เลยครับ

  :welcome: ;)


หัวข้อ: Re: เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กรกฎาคม 28, 2011, 09:26:55 am
สำหรับผมมองเห็นว่า การนั่งได้นิ่ง ๆ นั้นก็ดีครับ อนุโมทนา ครับเพราะเป็นพื้นฐานการปฏิบัติภาวนาในขั้นที่สูง
ซึ่งดีกว่าหลายคนที่นั่งได้ไม่เิกิน ชั่วโมงเลยครับ เพียงแค่มาปรับพื้นฐานทางจิตให้ถูกต้องตามหลักกรรมฐาน
เพิ่มอีกสักหน่อยก็ น่าจะไปได้ฉลุย นะครับ

 ส่วนตัวแล้วก็อนุโมทนา ด้วยครับกับการภาวนา ไม่ว่าจะใช่ความอดทน อดกลั้น หรือ ภาวนาถูกต้องตามหลักกรรมฐานครับ เพราะขณะนั้นชื่อว่าเจริญ กุศลจิต อยู่นะครับ จิตไม่ทุกข์ไม่ตกอยู่ข้างฝ่ายหดหู่ หรือ ฟุ้งซ่าน ไม่พอใจ หรือพอใจ ไม่ลังเลสงสัย ผมว่าพ้นนิวรณ์ ชั่วครู่ ก็ยังดีกว่าจมปลักอยู่กับนิวรณ์ทั้งวัน เลยครับ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: sakol ที่ กรกฎาคม 29, 2011, 06:07:01 pm
นิ่งติดนั่ง นั่งติดนิ่ง
นิ่งติดสุข สุขมีตอนนั่ง
ก็ดีครับ ขอให้นิ่งไว้ก่อนเป็นดีครับ ส่วนใหญ่ เรื่องจะมีเพราะเรานิ่งไม่ได้
การฝึกแบบหลวงพ่อเทียน ก็เป็นการฝึกแบบไหวนิ่ง ครับ

นิ่ง เพราะมีสติ
นิ่ง เพราะมีสมาธิ
นิ่ง เพราะมีคุณธรรม ( ความอดกลั้น อดทน )

นิ่ง เพราะมีอวิชชา ( ไม่รู้ก็เลยนิ่ง แบบสงวนท่าที )

ดังนั้น นิ่ง ๆ นี่ก็ดูยาก ครับ

  คำโบราณไทย มักจะพูด ว่า   น้ำนิ่งไหลลึก

   :93: :014: :hee20hee20hee:


หัวข้อ: Re: เห็นเพื่อน นั่งกรรมฐาน คนหนึ่ง รู้สึก นิ่งมาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 29, 2011, 08:01:45 pm

นิ่ง เพราะมีอวิชชา ( ไม่รู้ก็เลยนิ่ง แบบสงวนท่าที )

ดังนั้น นิ่ง ๆ นี่ก็ดูยาก ครับ

  คำโบราณไทย มักจะพูด ว่า   น้ำนิ่งไหลลึก


  น้ำนิ่งไหลลึก
    (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.

อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


  เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ขอนำสำนวนไทย มาร่วมกับคุณ sakol

      "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง"   /พูด-ไป-สอง-ไพ-เบี้ย นิ่ง-เสีย-ตำ-ลึง-ทอง/
     [กริยา](การใช้: สำนวน) พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
     :49: :57: :72: ;)

อีกความหมายหนึ่ง
          หมายถึง คำบางคำ เมื่อพูดออกไปแล้ว อาจก่อผลร้ายให้กับตนเองและผู้อื่น สู้ไม่พูดจะดีกว่า เพราะหากพูดไปแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งต่อผู้ฟังและต่อผู้พูด ภาษิตไทยโบราณจึงเตือนสติเราว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง

และพระพุทธองค์ตรัสว่า หากจะพูดขอให้พูดในสิ่งที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์เท่านั้น ถ้าไม่จริงไม่เป็นประโยชน์ หรือจริงแต่ไม่เป็นประโยชน์ หรือไม่จริงแม้เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรพูดสิ่งนั้น

อ้างอิง 
http://www.thai-language.com/id/210579 (http://www.thai-language.com/id/210579)
http://www.gotoknow.org/blog/nmintra/14862 (http://www.gotoknow.org/blog/nmintra/14862)