สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: tasawang ที่ กรกฎาคม 27, 2011, 10:10:26 am



หัวข้อ: การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..
เริ่มหัวข้อโดย: tasawang ที่ กรกฎาคม 27, 2011, 10:10:26 am
การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..

ผู้ที่ฝึกสมาธิ ใช่หรือไม่ ครับ หรือ ผู้ที่ฝึกสมาธิ มีโอกาส ได้คุณธรรมก่อนครับ

มีตัวอย่างประกอบหรือไม่ ครับ

   :25:


หัวข้อ: Re: การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กรกฎาคม 27, 2011, 05:28:27 pm
เป็นไปได้ นะจ๊ะ แต่ต้องเป็น อุคติตัญญู คือ เป็นบัวที่บานแล้ว บารมีสั่งสมเต็มแล้ว เพียงฟังพระสัทธรรม หรือได้ฟัง พระพุทธภาษิต แม้นิดเดียวก็สามารถบรรลุธรรมได้ แ่ต่อุคติตัญญูในยุคนี้ น่าจะมีน้อยมาก ๆ นะ

ก็เป็นกำลังใจให้ สำหรับนักฟัง เพื่อที่จะบรรลุธรรม
ผู้ที่ชอบเจริญสติกรรมฐาน โดยไม่มีสมาธิ

อันนี้ตอบให้อย่างทั่วไป
 

ตอบในแนวกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

 เป็นไปได้ยาก นะจ๊ะ เพราะอย่างไรเสีย อริยมรรค ต้องสมบูรณ์ ด้วยองค์ 8 ภาวนาต้องครบองค์ 8 ประการนะจ๊ะ ไม่ได้มาภาวนาแต่อย่างใด อย่างหนึ่ง นะจ๊ะ

 เจริญธรรม

  ;)


หัวข้อ: Re: การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 28, 2011, 10:52:19 am

การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..ผู้ที่ฝึกสมาธิ ใช่หรือไม่ ครับ

หรือ ผู้ที่ฝึกสมาธิ มีโอกาส ได้คุณธรรมก่อนครับ

มีตัวอย่างประกอบหรือไม่ ครับ


 สมาธิมีมาก่อนพุทธกาล รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ กสิณต่างๆ มีมาก่อนที่เจ้าชายสิทธัตถะจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หวังว่า คนจำ อาฬารดาบส อุททกดาบส หรือ ชฎิลสามพี่น้อง ได้นะครับ

การตอบคำถามของคุณ tasawang ต้องขอยกตัวอย่าง ดังนี้ครับ

พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางตรัสรู้เร็วพลัน
พาหิยะ ได้พยายามกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงพระธรรม
เทศให้ฟัง โดยตรัสสอนให้สำรวมอินทรีย์ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า
ได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสก็สักแต่ว่าลิ้มรส และสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้น อย่า
ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น และหมั่นสำเหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็น นิตย์
พาหิยะ ส่งกระแสจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลในทันที

พระสารีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
พระอัสสชิเถระ ได้ฟังคำของอุปติสสปริพาชก(ชื่อเดิมของพระสารีบุตร)แล้ว
จึงกล่าวหัวข้อธรรมมีใจความว่า:-

“ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด (เกิดแต่เหตุ)พระตถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
และความดับแห่งธรรมเหล่านั้นพระมหาสมณะ ตรัสอย่างนี้”

อุปติสสะ เพียงได้ฟังหัวข้อธรรมนี้จากพระเถระเท่านั้นก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เกิด
ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมว่า:-
“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา” ดังนี้

 เมื่อเปรียบเทียบ พระพาหิยะ กับพระสารีบุตร ตามพระสูตร ไม่ได้กล่าวพระพาหิยะเรียกสมาธิมาจากไหน

และอาจเป็นไปได้ที่ไม่ได้เรียนมาเลย แต่พระสารีบุตร ก่อนที่จะพบพระอัสสชิ ได้เข้าศึกษาในสำนัก

สญชัยปริพาชก ถึงแม้เราจะไม่รู้ว่า ท่านศึกษาอะไร แต่ก็เป็นไปได้ที่ท่านจะเรียนสมาธิจาก สญชัยปริพาชก

เมื่อเทียบการบรรลุธรรมแล้ว พระพาหิยะ กลับบรรลุเร็วกว่า พระสารีบุตร ซึ่งได้เพียงโสดาบัน



ขอยกตัวอย่างอีกคน คือ

พระสีวลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
 สีวลีกุมาร บรรลุอรหันต์ ตอนอายุ ๗ ขวบ
 พระสารีบุตรเถระ ผู้รับภาระเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น คือ
ตจปัญจกกรรมฐานทั้ง ๕ ได้แก่ เกสา(ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ (หนัง) ให้
พิจารณาของทั้ง ๕ เหล่านี้ว่าเป็นของไม่งานเป็นของสกปรก ไม่ควรเข้าไปยึดติดหลงใหลในสิ่ง
เหล่านี้

สีวลีกุมาร ได้สดับพระกรรมฐานนั้นแล้วนำไปพิจารณาในขณะที่กำลังจรดมีดโกนเพื่อ
โกนผม ครั้งแรกนั้นท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๒ ท่านได้บรรลุเป็น
พระสกทาคามี จรดมีดโกนลงครั้งที่ ๓ ท่านได้บรรลุเป็นพระอนาคามี และเมื่อโกนผมเสร็จ
ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

 ในกรณีของพระสีวลี เรียนกรรมฐานกับพระสารีบุตรขณะโกนผม พอโกนเสร็จก็บรรลุอรหันต์

ขอยกตัวอย่างอีกคน

 พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้ทรงพระวินัย

 นางปฏาจารา เกิดในตระกูลเศรษฐี ถูกกักบริเวณอยู่แต่ในปราสาท ไม่น่าที่จะได้เรียนสมาธิ

 หลังจากหนีตามผู้ชายออกมา ในที่สุดสามีลูกชายตายหมด เธอรับไม่ได้ เสียใจมาก จนเสียสติ

 แต่พระพุทธเจ้า ก็เทศน์จนเธอบรรลุโสดาบัน


 

   จากตัวอย่างบุคคลที่ยกมา น่าจะพอให้แนวคิดได้ว่า ไม่ว่าจะเรียนสมาธิมาหรือไม่ ก็บรรลุธรรมได้เช่นกัน

 บรรลุช้าหรือเร็วกว่ากัน คงสรุปไม่ได้ แต่ขอนำข้อธรรม จักร ๔ มาแสดงดังนี้ครับ

จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมายมี ๔ อย่างคือ
       ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ
       ๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี
       ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
       ๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

 ผมขอสรุปเอาเองว่า การบรรลุธรรมจะช้าหรือเร็ว น่าจะขึ้นอยู่กับบารมีที่สั่งสมมาแต่ชาติก่อนๆ
ผมให้น้ำหนักกับคำว่า "ปุพเพกตปุญญตา" มากกว่าคำอื่น
 :49:


หัวข้อ: Re: การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..
เริ่มหัวข้อโดย: นิรมิต ที่ กรกฎาคม 28, 2011, 10:59:23 am
เข้าใจตามความหมาย ของ พระอาจารย์ ก็หมายความว่า ยังมีโอกาสอยู่ แต่ผู้ที่มีโอกาสอย่างนี้ ก็ต้องมีอะไรเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะไม่มีเลยในปัจจุบัน หรือมีอยู่น้อยมาก ๆ

ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท ให้ดำเนินปฏิปทา ทางสายกลางอันประกอบด้วยองค์ 8 เรียกว่า มรรค ใช่หรือไม่คะ

ดังนั้นการฟังธรรม อย่างพระสารีบุตร หรือ พระพาหิยะ อ่านไปหลายรอบแล้ว ไม่เห็นจะรู้สึกว่าจะเข้าใจ หรือบรรลุตัดกิเลสใด ๆ ได้เลยอาจจะเป็นเพราะว่าเรามีคุณธรรมต่ำกว่า วิปจิตัญญู ด้วยใช่หรือไม่คะ

 :41: :c017: :25:


หัวข้อ: Re: การปฏิบัติ ภาวนาโดยไม่ฝึก สมาธิ มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จคุณธรรม ก่อน..
เริ่มหัวข้อโดย: ปักษาวายุ ที่ กรกฎาคม 29, 2011, 08:32:03 am
เอาปัจจุบัน เป็นเกณฑ์ นะครับ

ผมว่า ผู้ฝึกภาวนาสมาธิ มีสิทธิ์ บรรลุธรรมก่อน ครับ

ส่วนผู้ฝึก เจริญสติ ในปัจจุบัน ผมว่าเป็นการฝึกแบบเฝือ และ ขี้เกียจ ครับ พวกนี้ หนักไปทาง ขี้จ้อ ขี้คุย
เท่่าที่ผมเจอมานะครับ แต่ผู้ที่ฝึกพลังจิต หรือ สมาธิ ไม่ค่อยคุยหรือพูด แต่ภาวนา แค่นั่งใกล้ ๆ ก็สัมผัส
ความสงบได้ทันที เวลาสนทนาด้วย ก็สบายใจหลักธรรม ก็วิจารณ์สั้น ๆ แต่ได้ใจความทันที ครับ

 :13: :13: :13: