หัวข้อ: ขอทราบความหมายของคำว่า อัตตวาทุปาทาน คะ หมายถึงอย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: นัยนา ที่ สิงหาคม 01, 2011, 08:52:35 am ขอทราบความหมายของคำว่า อัตตวาทุปาทาน คะ หมายถึงอย่างไร
จะละได้อย่างไร คะ ควรปฏิบัติภาวนาได้อย่างไร :c017: หัวข้อ: Re: ขอทราบความหมายของคำว่า อัตตวาทุปาทาน คะ หมายถึงอย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 01, 2011, 01:57:41 pm อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน
คือ ความยึดถือสำคัญมั่นหมายว่า นั่นนี่เป็นตัวตน เช่น มองเห็นเบญจขันธ์เป็นอัตตา, อย่างหยาบขึ้นมา เช่น ยึดถือมั่นหมายว่า นี่เรา นั่นของเรา จนเป็นเหตุแบ่งแยกเป็นพวกเรา พวกเขา และเกิดความถือพวก (ข้อ ๔ ในอุปาทาน ๔)[/color] อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ ๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลและพรต ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (http://www.dhammada.net/wp-content/uploads/2011/04/rajesh_ram_heavy_load-400x505.jpg) ขันธ์ ๕ เป็นของหนัก อย่าแบกไปเน้อ คาถาในบทสวด...ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง บทที่ว่า ...อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจังฯ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละ ภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาฯ... “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้ข้อนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ คัดมาจากhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=8&t=23241&view=print ภาพจากwww.dhammada.net/ การละ "อัตตวาทุปาทาน" (ความถือมั่นวาทะว่าตน) ได้อย่างถาวรนั้น ผมว่าต้องเป็นอรหันตผล เพราะคำว่า"ตน" หมายถึง "ขันธ์ทั้ง ๕" การละอุปาทานขันธ์ ๕ ไ้ด้นั้น ต้องรู้แจ้งทุกขสัจ กล่าวโดยภาพรวมก็คือ "รู้แจ้งอริยสัจนั่นเอง" สำหรับปุถุชน ยังละโดยเด็ดขาดไม่ได้ จำเป็นต้องมีศีลป้องกันต้องสมาทานศีลบ่อยๆ โดยเฉพาะในข้อ "สัมมาวาจา" ที่สำคัญต้องลดการพูดคุย การคลุกคลีในหมู่ชน หากจำเป็นต้องพูด ขอให้พูดแต่น้อย ดังสำนวนที่ว่า "พูดไปสองไพ่เบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" พูดไปแล้วไม่มีประโยชน์ ก็อย่าได้พูด :49: ;) |