สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: TC9 ที่ สิงหาคม 03, 2011, 11:05:52 am



หัวข้อ: ปฏิปทามรรคมี ๔ อย่าง
เริ่มหัวข้อโดย: TC9 ที่ สิงหาคม 03, 2011, 11:05:52 am
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

ปฏิปทามรรคมี  ๔ อย่างนี้ คือ

มรรคมีธรรมุทธัจจะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรคต้น  ของพระอรหันต์รูปใดรูปหนึ่ง ๑ 
มรรคมีสมถะเป็นหัวหน้าแห่งอริยมรรค ๑ 
มรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นแห่งอริยมรรค ๑     
มรรคมียุคนัทธธรรม    (ธรรมที่เทียมคู่)   เป็นเบื้องต้นแห่งอริยมรรค ๑


มึคำที่น่าสนใจดังนี้

 ธรรมุทธัจจะ คือ .......
 สมถะ  คือ.............
 วิปัสสนา คือ...........
 มรรค คือ .............
 ยุคนัทธธรรม คือ......

 ก็ยัวไม่ทราบความหมายอยู่ดี ครับ เป็นเมล ฉบับหนึ่ง ที่พระอาจารย์ส่งมาให้อ่าน ผมเองก็ไม่ค่อยถนัดในคำเหล่านี้ แต่ก็ขอนำพระสูตร บทนี้มาให้เพื่อน สมาชิก ได้พิจารณา ทุกท่านครับ

  :25: :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: ปฏิปทามรรคมี ๔ อย่าง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 03, 2011, 11:33:43 am

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

             [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ


ศึกษารายละเอียดได้ที่นี่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑.  หน้าที่  ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534)



บทย่อ "ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา" จากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)

 ๑๑. ยุคนัทธะ ( ธรรมที่เทียมคู่ ) บทตั้งเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่าภิกษุ ภิกษุณีจะพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระอานนท์ ก็มี ๔ ทาง คือ

   ๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน ) 
   ๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน )
   ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
   ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม
 
( โปรดดูที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ด้วย ) 

อ้างอิง http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k21.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k21.html)


   อ้างถึง( โปรดดูที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ด้วย ) 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓)

พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ

   ๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่เจริญมรรคก็ละสัญโญชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด
   ๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส
   ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส
   ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิดมีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.

อ้างอิง http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/13.4.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/13.4.html)


     เพื่อความกระจ่าง...ขอรับ พระสูตรนี้ผมนำมาอ้างอิงหลายครั้งแล้ว หลายคนอาจยังไม่ทราบ
      :25:


หัวข้อ: Re: ปฏิปทามรรคมี ๔ อย่าง
เริ่มหัวข้อโดย: kira-d-note ที่ สิงหาคม 03, 2011, 07:44:34 pm
น่าสนใจ คะ คำว่า  ธรรมุทธัจจะ คือ อะไร คะ พึ่งเคยได้ยินนี่คะ

  ใช่คำว่า ธรรม + อุทธัจจะ หรือไม่คะ ถ้าหมายถึงคำสองคำนี้ ละก็ คงจะแปลว่า ความฟุ้งซ่านในธรรม

 ก็แปลกนะคะ ธรรมเป็นเรื่อง ฟุ้งซ่านได้ด้วยหรือ คะ ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ เหมือนกัน กับความหมาย

ต้องรอผู้รู้หลาย ๆ ท่านร่วมวิจารณ์ แล้วคะ

  :13: :13: :13:


หัวข้อ: Re: ปฏิปทามรรคมี ๔ อย่าง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 03, 2011, 09:03:39 pm
น่าสนใจ คะ คำว่า  ธรรมุทธัจจะ คือ อะไร คะ พึ่งเคยได้ยินนี่คะ

  ใช่คำว่า ธรรม + อุทธัจจะ หรือไม่คะ ถ้าหมายถึงคำสองคำนี้ ละก็ คงจะแปลว่า ความฟุ้งซ่านในธรรม

 ก็แปลกนะคะ ธรรมเป็นเรื่อง ฟุ้งซ่านได้ด้วยหรือ คะ ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ เหมือนกัน กับความหมาย

ต้องรอผู้รู้หลาย ๆ ท่านร่วมวิจารณ์ แล้วคะ

  :13: :13: :13:

     จะคุยเป็นเพื่อนนะ...ขอรับ
     
     ความฟุ้งซ่านถือเป็น วิปัสสนูกิเลส

     อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน ) เป็นสังโยชน์ข้อที่ ๙ อรหันตผลเท่านั้นที่ตัดได้

     และอุทธัจจะ ก็อยู่ในนิวรณ์ ๕ ด้วย

     ขอให้ไปดูเรื่อง สติปัฏฐานข้อที่สุกท้าย  "ธัมมานุปัสสนา ในนีวรณบรรพ" คลิกลิงค์นี้เลย
     
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764)

     อุทธัจจะ(นิวรณ์) อยู่ในธัมมานุปัสสนา แสดงว่า ธรรมะก็มีความฟุ้งซ่าน ใช่ไหมครับ

     อีกอย่าง เมื่อเกิดนิวรณ์ ก็สักแต่ว่ารู้ว่าเกิดนิวรณ์ รู้แค่นี้ก็นำมาเจริญ "จิตตานุปัสสนา" ได้เช่นกัน

     ขอคุยเท่านี้ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน


      :49: