หัวข้อ: โปรแกรมพระไตรปิฎก ฉบับเรียนพระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: พรทิพย์ ที่ สิงหาคม 04, 2011, 10:22:57 am โปรแกรมพระไตรปิฎก ฉบับเรียนพระไตรปิฎก
http://learntripitaka.com/Download.html (http://learntripitaka.com/Download.html) ฉบับเรียนพระไตรปิฎก [รายละเอียด] 2.1 พระไตรปิฎกภาษาบาลี พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทยฉบับสยามรัฏฐ จำนวน ๔๕ เล่ม 2.2 พระไตรปิฎกภาษาไทย พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับสยามรัฏฐ จำนวน ๔๕ เล่ม 2.3 พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม 2.4 อรรถกถาบาลี อรรถกถาบาลีอักษรไทยฉบับสยามรัฏฐ จำนวน ๔๘ เล่ม 2.5 หนังสือหมวดเปรียญประโยค ๑ ถึง ๙ หนังสือหมวดเปรียญประโยค ๑ ถึง ๙ จำนวน ๘๐ เล่ม 2.6 หนังสือหมวดนักธรรมตรี โท เอก หนังสือหมวดนักธรรมตรี โท เอก จำนวน ๕๒ เล่ม 2.7 หนังสือหมวดสำหรับบุคคลทั่วไป หนังสือหมวดสำหรับบุคคลทั่วไป จำนวน ๘ เล่ม (http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m5/pic/Main.gif) หัวข้อ: Re: โปรแกรมพระไตรปิฎก ฉบับเรียนพระไตรปิฎก เริ่มหัวข้อโดย: พรทิพย์ ที่ สิงหาคม 04, 2011, 10:23:56 am พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนใช้ศึกษา เล่าเรียนเพื่อให้รู้ทั่วถึงพระธรรมวินัยและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้พระไตรปิฎกจึงเรียกว่า พระปริยัติสัทธรรมเพราะเป็นบรรทัดฐานให้เกิดมีพระปฏิบัติสัทธรรมคือ ศีล สมาธิ ปัญญา และมีปฏิเวธสัทธรรม คือ มรรค ผล นิพพานเป็นที่สุด ดังนั้น การเผยแผ่พระไตรปิฏกจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ซึ่งจะขอกล่าวถึงวิธีการเผยแผ่พระไตรปิฎกดังนี้
ี้ 1. การเผยแผ่โดยวิธี “มุขปาฐะ” หรือแบบปากต่อปาก โดยหลังจากพุทธปรินิพพานพระมหาสาวกทั้งหลายได้ทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้ง แรกด้วยการรวบรวมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจัดเป็นพระไตรปิฎก คือพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก พระสงฆ์สาวกต่อ ๆ มาก็ทรงจำแบบจากปากต่อปากที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” สั่งสอนสืบต่อ ๆ กันมา 2. การเผยแผ่เป็นลายลักษณ์อักษร ในการทำสังคายนาครั้งที่ 5 ในประเทศศรีลังกา (ประมาณ พ.ศ. 433) ได้มีการทำสังคายนาด้วยเกรงว่าการท่องจำพระพุทธจวนะอาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้ ควรจะมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร จึงมีการจารึกเป็นภาษาบาลี(มคธ) ขึ้น และมีการสังคายนาและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาให้เป็นภาษาของตน 3. การเผยแผ่เป็นฉบับภาษาไทย ในประเทศไทยได้มีการแปลเป็นภาษาไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 สำนวน คือ แปลโดยอรรถตามความในพระบาลีพิมพ์เป็นเล่มเรียกว่า “พระไตรปิฎกภาษาไทย และอีกสำนวนหนึ่งแปลเป็นสำนวนเทศนา พิมพ์ลงในใบลานเรียกว่า พระไตรปิฏกเทศนาฉบับหลวง ต่อมาใน พ.ศ. 2514 ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยเป็นครั้งที่ 2 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ได้เสวยราชสมบัติครบ 25 ปี เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง และครั้งสุดท้ายมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีการแปลและจัดพิมพ์ดังได้กล่าวมาแล้ว ในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่เป็นคนไทยทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ได้ ซึ่งเป็นการเผยแผ่พระไตรปิฎกอีกลักษณะหนึ่ง |