สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: kittisak ที่ มีนาคม 24, 2010, 04:37:09 am



หัวข้อ: เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป รู้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: kittisak ที่ มีนาคม 24, 2010, 04:37:09 am
อยากให้เพื่อนสมาชิก ช่วยกันวิเคราะห์หลักการพิจารณาธรรม

ถึง 1.อุปัตติ ความเกิดขึ้น
    2.ฐิติ ความตั้งอยู่
    3.ภังคะ ความดับไป

ธรรมเป็นสภาวะ ที่นับเนื่องด้วยองค์วิปัสสนา แห่งธาตุรู้ เพื่อส่งเสริม รู้เห็นตามความเป็นจริง

 :08:


หัวข้อ: Re: เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป รู้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 29, 2010, 09:38:52 pm

การจะกล่าวถึง อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน หรือ วิปัสสนาญาณนั้น เป็นเรื่องยาก

สำหรับผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ถึง ถึงจะเอาคำพูดคนอื่่นมาเสนอได้ แต่จะขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง

ความรู้สึกของผมที่พอสัมผัสได้บ้างในบางเวลา ก็คือ

   นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น

   นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรตั้งอยู่

   นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรดับไป

   ถึงผมจะรู้ทุกข์ แต่รู้ด้วยความไม่เป็นกลาง รู้ทุกข์แล้วก็ทุกข์ อันนี้ไม่เป็นวิปัสสนา

   พระอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า ต้องรู้ด้วยความเป็นกลางเท่านั้น จึงจะเป็นการรู้ที่ถูกต้อง

   สิ่งที่ผมปรารถนาจะเห็นมากทีสุด คือ ไตรลักษณ์ แต่ก็ยังไม่เห็นซะที

   มีใครเห็นไตรลักษณ์บ้าง ถ้ามีใครบังเอิญเห็น ช่วยบอกให้ที "ผมอยากพบ"

   ขอให้ธรรมคุ้มครอง   
:s_hi: :sign0144:


หัวข้อ: Re: เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป รู้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มิถุนายน 09, 2010, 12:39:07 am
 
:043:    :25:    :043:
:015:จากความรู้ความเข้าใจในการพิจารณาธรรมที่ว่า
            1. อุปัตติ ความเกิดขึ้น
            2. ฐิติ ความตั้งอยู่
            3. ภังคะ ความดับไป
:015:อาศัยเพียรศึกษาทำความเข้าใจในตำรา หรือฟังพระเทศนาธรรมจากพระอาจารย์ปริยัติ (แต่ไม่ปฏิบัติ) ก็ยากจะถูกต้องตามที่เข้าใจกัน
:015:ผมเองก็ยอมรับว่าเข้าใจผิดมาก่อนเหตุเพราะเชื่อตำราเข้าใจเอาเองตามวิถีปัญญาอันคับแคบ ตำรา (พระไตรปิฏก) มีไว้ให้แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงแล้ว (อริยะบุคคล) ที่สามารถรู้และเข้าใจได้ถูกต้อง หรือจะกล่าวว่าพระไตรปิฏกเป็นบันทึกภูมิปัญญาขั้นสูงเกินเลยกว่าปุถุชนจะเรียนอ่านแล้วตีความเอาตามแต่ใจชอบได้ นักคิดนักเขียนที่อ้างพระไตรปิฏกก็เพียงเสริมแต่งอรรถความเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับงานเขียนมีที่มาที่ไปเท่านั้น แต่แก่นแท้ปุถุชนจะเข้าใจอะไรอย่างไรได้ล้วนผิดทั้งนั้น พระไตรปิฏกผู้ที่สามารถเข้าใจในถ้อยอรรถกระทู้ความได้ถ่องแท้มีเพียงพระอริยะเจ้านับแต่โสดาบันขึ้นไป ดังนั้นปุถุชนควรฟังมากกว่าอ่านจะดีกว่า ฟังก็ควรที่จะเลือกฟัง กล่าวคือฟังผู้ปฏิบัติเข้าถึง ซึ่งคงต้องแสวงหาบ้างว่ามีครูบาอาจารย์รูปใดที่ปฏิบัติรู้เห็นจริง มิใช่ท่องพระไตรปิฏกมากล่าวเทศน์ทั้งเล่ม เราท่านทั้งหลายถือได้ว่าเป็น “เวไนยบุคคล” ย่อมมีปกติฟัง เมื่อฟังต้องละมานะทิฏฐิ นอบน้อมฟังด้วยดี ผู้มีปกติฟังย่อมไม่วิพากษ์วิจารณ์ และควรฟังด้วยความเคารพ คือฟังบ่อยๆ ปัญญาเกิดมีเพราะเหตุดังนี้
:015:ผมได้มีโอกาสสนทนาธรรมใกล้ชิดพระอาจารย์ เมื่อพระอาจารย์ถามผมว่ามีความเข้าใจในการพิจารณาธรรมที่ว่า เกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป นั้นอย่างไร  ผมให้คำตอบไปตามที่เข้าใจ ซึ่งก็ผิด
 :015:พระอาจารย์ให้ความกระจ่างอย่างนี้ว่า
 :040:อุปัตติ ความเกิดขึ้น ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ณ ที่หนึ่งที่ใด กล่าวคือ รูปวัตถุ
 :040:ฐิติ ความตั้งอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่ดำรงอยู่แล้วชั่วขณะหนึ่ง กล่าวคือ การคงอยู่ของสถานะ
 :040:ภังคะ ความดับไป ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนเคลื่อนไปหรือแตกหักแล้วจากสถานะหนึ่ง กล่าวคือ รูปแปรเปลี่ยน
:015:พระอาจารย์ให้อรรถาธิบายไว้ว่า
 :040:ความเกิดขึ้น, ตั้งอยู่, ดับไป นั้น คือ จิตเป็นตัวกำหนดรู้ว่า รูปเกิดขึ้น รูปตั้งอยู่ รูปดับไป โดยสภาวะเนื้อแท้มันไม่ได้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในสภาวะที่เป็นจริงภายนอก ซึ่งรูปวัตถุภายนอกก็ยังคงดำรงอยู่ของมันอย่างนั้น กล่าวคือ จิต เป็นตัวทำงานพิจารณากำหนดรู้ ไม่ใช่การไปกำหนดรู้เอาความเป็นไปของรูปวัตถุภายนอกครับ
                                             :coffee2:


หัวข้อ: Re: เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป รู้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: nongmai ที่ มิถุนายน 09, 2010, 01:07:49 am


   
อ้างถึง
    1.อุปัตติ ความเกิดขึ้น
    2.ฐิติ ความตั้งอยู่
    3.ภังคะ ความดับไป
ก็ตัวเรา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ไม่ใช่หรือ  ???

ทำไมฟังยากจัง

 :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป รู้อย่างไร ?
เริ่มหัวข้อโดย: TCnapa ที่ มิถุนายน 30, 2010, 09:15:03 am
ตามที่คุณ หมวยจ้า กล่าวไว้โดยอ้างเป็นคำพูดของพระอาจารย์ คือ

ถ้าเรา มองเห็นอนิจจสัญญา จำได้หมายรู้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าไม่เที่ยง

ย่อมมองเห็นความทุกข์ คือความทนอยู่ไม่ได้ คงไม่ได้ เป็นสภาพนับเนื่องด้วยทุกข์

เพราะสิ่งนี้มีเหตุ มีปัจจัยเช่นนี้ จึงไม่จีรังยั่งยืน คือไม่เที่ยง และ เป็นทุกข์

นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ

เพราะใจมองเห็นความไม่เที่ยง จึงแจ้งชัด ความเกิดดับ ของ รูป และ นาม

เพราะใจมองเห็นอย่างนี้

จึงทำให้ว่างจากอารมณ์แห่งความยึดมั่นถือมั่น ว่านี้เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา

ดวงตาแห่งธรรม เรียกว่า ธรรมจักษุ จึงปรากฏ เพราะเห็นความเกิดขึ้น และ ดับไปแห่งทุกข์

----------------------------------------------------------------------

มีใจความใน อนัตตลักขณสูตร

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสถาม ปัญจวัคคีย์ ซึ่งขณะนั้น เป็นพระโสดาบัน ทั้งหมดว่า


พ. รูป เที่ยง หรือ ไม่เที่ยง

ป. ไม่เทีี่ยง พระเจ้าคะ

พ. สิ่งใด ไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ หรือ เป็น สุข เล่า

ป. เป็น ทุกข์ พระเจ้าคะ

พ. เมื่อสิ่งใดเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน เป็นธรรมดา ควรหรือที่ตามสิ่งนั้นว่า

    นั่นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา

ป. ไม่ควรเลย พระเจ้าคะ

===============================================

แหมเช้า นี้เริ่มด้วยธรรมะ แบบเบา ๆ สักนิด นะเจ้าคะ เพื่อน ๆ สมาชิก ทุกท่าน

 :25: :88: