หัวข้อ: โจรห้าร้อย VS มหาโจร ๕ จำพวก..ดูซิใครจะแน่กว่ากัน เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 12, 2011, 01:02:32 pm (http://www.thairath.co.th/media/content/2011/03/27/159078/hr1667/630.jpg) โจรห้าร้อย คำว่า โจรห้าร้อย เดิมเป็นคำกล่าวเปรียบว่าโจรมีจำนวนมาก. สำนวน โจรห้าร้อย น่าจะมาจากอรรถกถาของคัมภีร์ธรรมบท กล่าวถึง เดียรถีร์ ๕๐๐ คนกับโจร ๕๐๐ คนร่วมกันวางแผนสังหารพระโมคคัลลาน์ เนื่องจากพระโมคคัลลาน์ทำให้สาวกจำนวนมากของเหล่าเดียรถีร์หันมานับถือพระพุทธศาสนา. คำว่า ห้าร้อย นอกจากจะปรากฏในสำนวนว่า โจรห้าร้อยแล้ว ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนายังปรากฏคู่กับคำอื่นอีกด้วย เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ ๕๐๐ รูป. ต่อมาเมื่อใช้คำว่า โจรห้าร้อย มีความหมายว่า โจร, โจรชั่ว เช่น จันทโครบพานางโมราเดินป่าไปพบโจรห้าร้อยผู้หนึ่งระหว่างทาง. ปัจจุบันเมื่อตัดใช้แต่เพียง ห้าร้อย ก็หมายถึง คนเกเร คนไม่ดี เช่น ไอ้เด็กห้าร้อย วัน ๆ ไม่เรียนหนังสือ เอาแต่ซิ่งมอเตอร์ไซค์ไปทั่ว. คำว่า โจรห้าร้อย เขียนเป็นตัวหนังสือไม่ใช่ตัวเลข เพราะเป็นสำนวน ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9766456/K9766456.html (http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9766456/K9766456.html) (http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2010/07/p0110160753p1.jpg&width=360&height=360) ตัวอย่างโจร ๕๐๐ อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1) พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131&p=1 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131&p=1) อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค วัมมิกสูตร ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289&p=1 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289&p=1) (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/892/24892/images/toot17.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ มหาโจร ๕ จำพวก ๑. มหาโจรพวกหนึ่งคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะเข้าไปฆ่า, ปล้น, เอาไฟเผาในคามนิคมราชธานี. ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันเข้าไปฆ่าปล้น เอาไฟเผาในคามนิคม ราชธานี เทียบด้วยภิกษุบางรูปคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะจาริกไปในคามนิคม ราชธานี ให้คฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันจากริกไปในคามนิคม ราชธานี มีคฤหัสถ์บรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๑ (ซึ่งมีความปรารถนาลาภสักการะ แล้วก็ทำอุบายต่าง ๆ จนได้สมประสงค์). ๒. ภิกษุชั่วบางรูปเรียนพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็โกงเป็นของตนเอง (แสดงว่าตนคิดได้เอง ไม่ได้เรียนหรือศึกษาจากใคร). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๒. ๓. ภิกษุชั่วบางรูปใส่ความเพื่อนพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยข้อหาว่า ประพฤติผิดพรหมจรรย์ อันไม่มีมล. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๓. ๔. ภิกษุชั่วบางรูปเอาของสงฆ์ที่เป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (ที่ห้ามแจกห้ามแบ่ง) เช่น อาราม ที่ตั้งอาราม วิหาร ที่ตั้งวิหาร เตียง ตั่ง เป็นต้น ไปสงเคราะห์คฤหัสถ์ ประจบคฤหัสถ์ (พราะเห็นแก่ลาภ). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๔. ๕. ภิกษุผู้อวดคุณพิเศษที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง ชื่อว่าเป็นยอดมหาโจรในโลก เพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฎรด้วยอาการแห่งขโมย. ครั้นแล้วทรงติเตียนภิกษุชาวริมฝั่งน้ำวัดคุมุทาด้วยประการต่าง ๆ พร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน เมื่ออวดไปแล้ว แม้จะออกตัวสารภาพผิดทีหลัง ก็ต้องอาบัติปาราชิก. อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/1.5.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/1.5.html) อ่านรายละเอียดได้ที่ เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๘๖๐๕ - ๘๖๓๕. หน้าที่ ๓๓๒ - ๓๓๓. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=8605&Z=8635&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=8605&Z=8635&pagebreak=0) ขอบคุณภาพจากwww.thairath.co.th/,www.khaosod.co.th/,www.oknation.net/ |