สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 15, 2011, 07:19:29 am



หัวข้อ: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 15, 2011, 07:19:29 am

(http://www.madchima.net/images/249_SAM_0473r.jpg)

สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

สมุคคสูตร

ทรงแสดงว่าภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ  พึงใส่ใจนิมิต ( เครื่องหมายในจิตใจ ) ๓ อย่าง โดยกาลอันสมควร ได้แก่

สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิหรือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).

ถ้าใส่ใจแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว จิตก็จะน้อมไปเพื่อความเกียจคร้านได้, 
ถ้าใส่ใจแต่ปัคคาหนิมิตอย่างเดียว จิตก็น้อมไปเพื่อความฟุ้งสร้านได้.
ถ้าใส่ใจแต่อุเบกขานิมิตอย่างเดียว จิตก็ไม่พึงตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อสิ้นอาสวะได้ .


ต่อเมื่อใส่ใจนิมิตทั้งสามโดยกาลอันสมควร จิตจึงอ่อน ควรแก่การงาน ผ่องใสตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองที่หลอมทองเงิน ย่อมสูบ ( เป่าลม ) โดยกาลอันสมควร,   พรมน้ำโดยกาลอันสมควร,   วางเฉยโดยกาลอันสมควร.


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/968/46968/images/Y875.JPG)

อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html)
อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๖๗๓๓ - ๖๗๘๓.  หน้าที่  ๒๘๗ - ๒๘๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6733&Z=6783&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6733&Z=6783&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=542 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=542)
ขอบคุณภาพจาก www.madchima.net (http://www.madchima.net),www.oknation.net


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: ส้ม ที่ สิงหาคม 15, 2011, 10:54:00 am
เรื่องนี้ น่าสนใจมากคะ เพราะเป็นเรื่องที่เหมือนพึ้นฐาน ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับเลยคะ
มีพระสูตรมาช่วยแสดง ทำให้เห็นว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น ถ่ายทอด สืบทอด และสอน
ไม่ได้ต่างจากพระไตรปิฏก เลยคะ

 อนุโททนา กุศล ครั้งนี้ด้วยคะ

  :25: :25: :25: :88:


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: VongoleX ที่ สิงหาคม 15, 2011, 01:16:35 pm
อ้างถึง
สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิหรือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).

ตรงส่วนนี้ ยังเข้าใจยาก อยู่นะครับ โดยเฉพาะ อุเบกขานิมิต
เป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ สำหรับผมอยู่

 :25:


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ สิงหาคม 16, 2011, 01:33:01 pm
               ๑๑. นิมิตตสูตร
                  ว่าด้วยนิมิต
            [๑๐๓]    ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิต๑พึงมนสิการนิมิต    ๓    ประการ
ตามสมควรแก่เวลา    คือ
  ๑.    พึงมนสิการสมาธินิมิต๒ตามสมควรแก่เวลา
  ๒.    พึงมนสิการปัคคหนิมิต๓ตามสมควรแก่เวลา
  ๓.    พึงมนสิการอุเบกขานิมิต๔ตามสมควรแก่เวลา
            ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว    เป็นไปได้ที่จิต
นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน    ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ
ปัคคหนิมิตอย่างเดียว    เป็นได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน    ถ้าภิกษุผู้
บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว    เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึง
ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ    แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิ
มิตตามสมควรแก่เวลา    มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา    และมนสิการ
อุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา    เมื่อนั้น    จิตนั้นย่อมอ่อน    เหมาะแก่การใช้งาน
ผุดผ่อง    และไม่เสียหาย    ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ

            เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองตระเตรียมเบ้า    เอาคีมคีบทองใส่
ลงที่ปากเบ้า    แล้วสูบลมตามสมควรแก่เวลา    เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา    เพ่ง
ดูตามสมควรแก่เวลา    ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงสูบลมทองนั้นอย่างเดียว
เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงไหม้    ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเอาน้ำประพรมทอง
นั้นอย่างเดียว    เป็นไปได้ที่ทองนั้นพึงเย็น    ถ้าช่างทองหรือลูกมือของช่างทองพึงเพ่งดู
ทองนั้นอย่างเดียว    เป็นไปได้ที่ทองนั้นไม่สุกทั่วถึง    แต่เมื่อใด    ช่างทองหรือลูกมือ

 
๑ อธิจิต  ในที่นี้หมายถึงสมถวิปัสสนาจิต  (จิตในสมถะและวิปัสสนา)  (องฺ.ติก.อ.  ๒/๑๐๓/๒๕๕)
๒ สมาธินิมิต  หมายถึงสภาวะที่จิตแน่วแน่มีอารมณ์เดียว  (เอกัคคตา)  เป็นเหตุ  (องฺ.ติก.อ.  ๒/๑๐๓/๒๕๕)
๓ ปัคคหนิมิต  หมายถึงความเพียรที่เป็นเหตุ  (องฺ.ติก.อ.  ๒/๑๐๓/๒๕๕)
๔ อุเบกขานิมิต  หมายถึงสภาวะเป็นกลาง ๆ  (มัชฌัตตภาวะ)  ที่เป็นเหตุ  (องฺ.ติก.อ.  ๒/๑๐๓/๒๕๕)


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ สิงหาคม 16, 2011, 01:36:33 pm
ของช่างทองสูบลมทองนั้นตามสมควรแก่เวลา    เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา
เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา    ทองนั้นย่อมอ่อน    ใช้การได้    ผุดผ่องและไม่แตกง่าย    ใช้งาน
ได้ดี    และช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด  ๆ    คือ
แผ่นทอง    ต่างหู    สร้อยคอ    หรือมาลัยทอง    ทองนั้น    ย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้
แม้ฉันใด
            ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน    พึงมนสิการนิมิต    ๓    ประการ    ตาม
สมควรแก่เวลา    คือ
                                  ๑.    พึงมนสิการสมาธินิมิตตามสมควรแก่เวลา
                                  ๒.    พึงมนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา
                                  ๓.    พึงมนสิการอุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา
            ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว    เป็นได้ที่จิตนั้น
จะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน    ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะ    ปัคค
หนิมิตอย่างเดียว    เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน    ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญ
อธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว    เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึงตั้งมั่น
ด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ    แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิตตาม
สมควรแก่เวลา    มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา    และมนสิการอุเบกขา-
นิมิตตามสมควรแก่เวลา    เมื่อนั้น    จิตนั้นย่อมอ่อน    เหมาะแก่การใช้งาน    ผุดผ่อง
และไม่เสียหาย    ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ    และภิกษุนั้นย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญายิ่งใด  ๆ    เมื่อมีเหตุแห่งสติ    เธอย่อมบรรลุ
ความเป็นผู้เหมาะสมที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้น  ๆ
            ถ้าภิกษุนั้นหวังว่า    “เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง    ฯลฯ๑พึงทำให้แจ้ง    ฯลฯ
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน”    เมื่อมีเหตุแห่งสติ    เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้เหมาะสมที่จะ
ประจักษ์ชัดในธรรมนั้น  ๆ
               นิมิตตสูตรที่ ๑๑ จบ
               โลณผลวรรคที่ ๕ จบ


จากพระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ เล่มที่ 20 หน้า 345 - 346 คะ


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ สิงหาคม 16, 2011, 01:42:41 pm
[๑๖๕]    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “อานนท์    ภิกษุสงฆ์ยังจะหวังได้อะไรในเรา
อีกเล่า    ธรรมที่เราแสดงแล้วไม่มีในไม่มีนอก๒    ในเรื่องธรรมทั้งหลาย    ตถาคตไม่มี
อาจริยมุฏฐิ๓    ผู้ที่คิดว่า    เราเท่านั้น    จักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป    หรือว่า    ภิกษุสงฆ์
จะต้องยึดเราเท่านั้นเป็นหลัก    ผู้นั้นจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นแน่    แต่ตถาคตไม่คิดว่า    เราเท่านั้น    จักเป็นผู้บริหารภิกษุสงฆ์ต่อไป    หรือว่า
ภิกษุสงฆ์จะต้องยึดเราเท่านั้นเป็นหลัก    แล้วทำไมตถาคตจะต้องปรารภภิกษุสงฆ์
กล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งอีกเล่า    บัดนี้    เราเป็นผู้ชรา    แก่    เฒ่า    ล่วงกาลมานาน
ผ่านวัยมามาก    เรามีวัย    ๘๐    ปี    ร่างกายของตถาคตประหนึ่งแซมด้วยไม้ไผ่    ยังเป็น
ไปได้    ก็เหมือนกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ฉะนั้น    ร่างกายของตถาคตสบาย
ขึ้นก็เพราะในเวลาที่ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต    เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทุกอย่าง    และ
เพราะดับเวทนาบางอย่างได้เท่านั้น
[/b][/size][/color]

ข้อความจากพระไตรปิฏก ฉบับ มหาจุฬาลงกรณ์ เล่มที่ 10 หน้าที่ 110 คะ




เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต อยากทราบว่า ในเมื่อพระพุทธเจ้าให้เราใส่ใจใน นิมิต แต่พระพุทธเจ้ากับไม่ใส่ใจในนิมิตทุกอย่าง อันนี้ไม่เ้ข้าใจ คะ

 :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 16, 2011, 07:26:10 pm
เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
       ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;
       คู่กับ เสขะ

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต(เช่น วัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมาธิ)
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


   หนูหมิว ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ :08:  :57: :72: :) ;) เก่งมากครับ

   อธิจิต ในที่นี้หมายถึงสมถวิปัสสนาจิต (จิตในสมถะและวิปัสสนา) และนิมิตต่างๆ เป็นเรื่องของปุถุชน และเสขะบุคคล(โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี) กล่าวคือ ยังต้องศึกษาหรือปฏิบัติอยู่ เพราะกิเลสยังไม่สิ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังโยชน์ข้อ ๖ วัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมาธิ)
 
   แต่พระพุทธเจ้าเป็น อเสขะบุคคล ไม่มีอะไรให้ศึกษา จบแล้วซึ่งพรหมจรรย์ สิ้นกิเลสแล้ว จึงไม่ยึดนิมิต (ละสังโยชน์ข้อ ๖ ได้แล้ว)

   เรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้ฟันธง :welcome: :49: :25: ;)



หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: sutthitum ที่ สิงหาคม 17, 2011, 12:17:18 pm
อ้างถึง
เจ โตสมาธิอันไม่มีนิมิต อยากทราบว่า ในเมื่อพระพุทธเจ้าให้เราใส่ใจใน นิมิต แต่พระพุทธเจ้ากับไม่ใส่ใจในนิมิตทุกอย่าง อันนี้ไม่เ้ข้าใจ คะ

ญาณทัศนะวิสัย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเรื่องอันเราเข้าใจยาก นะครับ

แต่ให้เราย้อนกลับมาเริ่มต้น ในจุดที่เราควรจะเข้าใจก่อน นะครับ

คือ การตั้งหลัก ตามที่ควรจะเป็น ดังนั้น นิมิต ทั้ง 3 จึงเป็นสิ่งที่เรา ควรตระหนักให้ความสำคัญในการภาวนาครับ

 :67:


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 05, 2011, 08:22:03 am
อ้างถึง
สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิหรือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).

ตรงส่วนนี้ ยังเข้าใจยาก อยู่นะครับ โดยเฉพาะ อุเบกขานิมิต
เป็นเรื่องที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ สำหรับผมอยู่

 :25:

พระอาจารย์ได้อธิบายไว้ว่า     
     ในระหว่างภาวนา ถ้าจิตซัดส่ายออกไปในอดีต หรือไปในอนาคต หรือฟุ้งซ่านอยู่ในปัจจุบัน ก็ให้ทำการเพิกจิตวางเฉย เมื่อมีสติ ก็ดึงคืนกลับมา ด้วยการส่งลมหายใจเข้้าไปให้เต็มปอดพร้อมภาวนาว่า "พุทโธ" และก็ส่งจิตไปยังฐานจิตทันที การวางจิตแบบนี้เรียกว่า "อุเบกขานิมิต"

   :25:


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: modtanoy ที่ ตุลาคม 05, 2011, 11:37:03 am
การวางจิตเฉย ๆ ไม่ใช่วิธีการที่ถูกในการภาวนา นะคะ

  เหมือนคนโดนด่า แล้วไม่ด่าตอบ ก็ใช่ว่า คนที่นิ่งเงียบ จะไม่กรุ่นด้วย พยาบาท นะคะ

  ดังนั้น ความเห็นควร จะัตั้ง สติ คะเมื่อ ฟุ้งซ่าน ใจว้าวุ่น และ ใคร่ครวญ วิจยธรรมะ คะ

  โดยเฉพาะ พิจารณา ความตาย ความแก่ ความเจ็บ ความพลัดพราก ถ้าใคร่ครวญวิจยธรรมะ อยู่

ตรงนี้ ก็จะทำให้ สติเข้มแข็ง สมาธิ เข้มแข็ง เพราะเป็นการเจริญ สติ ปัญญา ซึ่งไม่ใช่เป็นแต่เพียงไปกด

ไปข่มอารมณ์ ไว้ แต่เป็นการใช้ สติ ปัญญา ในการดำเนินจิต คะ

   สมาธิ ที่ข่ม เพียงนิวรณ์ นั้นเป็นเพียง สมถะ ไม่มีอำนาจกำจัดกิเลส

   ถ้าเราจะทำสมาธิ ขอให้ทำสมาธิ พิจารณา ธรรมสภาวะ เกิด และ ดับ คะ ถึงจะสละกิเลสได้คะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 05, 2011, 09:46:23 pm
การวางจิตเฉย ๆ ไม่ใช่วิธีการที่ถูกในการภาวนา นะคะ

  เหมือนคนโดนด่า แล้วไม่ด่าตอบ ก็ใช่ว่า คนที่นิ่งเงียบ จะไม่กรุ่นด้วย พยาบาท นะคะ

  ดังนั้น ความเห็นควร จะัตั้ง สติ คะเมื่อ ฟุ้งซ่าน ใจว้าวุ่น และ ใคร่ครวญ วิจยธรรมะ คะ

  โดยเฉพาะ พิจารณา ความตาย ความแก่ ความเจ็บ ความพลัดพราก ถ้าใคร่ครวญวิจยธรรมะ อยู่

ตรงนี้ ก็จะทำให้ สติเข้มแข็ง สมาธิ เข้มแข็ง เพราะเป็นการเจริญ สติ ปัญญา ซึ่งไม่ใช่เป็นแต่เพียงไปกด

ไปข่มอารมณ์ ไว้ แต่เป็นการใช้ สติ ปัญญา ในการดำเนินจิต คะ

   สมาธิ ที่ข่ม เพียงนิวรณ์ นั้นเป็นเพียง สมถะ ไม่มีอำนาจกำจัดกิเลส

   ถ้าเราจะทำสมาธิ ขอให้ทำสมาธิ พิจารณา ธรรมสภาวะ เกิด และ ดับ คะ ถึงจะสละกิเลสได้คะ

  :25: :25: :25:

     คุณมดตะนอยเก่งครับ การวางอุเบกขานิมิตที่ผมบอกเป็นการทำสมถะ

    แต่..ผมเข้าใจว่า คุณมดตะนอยไม่ใช่ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯ

    จึงไม่รู้ว่า ในตอนท้ายของการทำกรรมฐาน จะทำวิปัสสนา..ขอรับ

    กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่สระบุรี จะทำสมถะกับวิปัสสนาคู่กันไป โดยทำสมาธิก่อน

    คุณมดตะนอย ควรไปอ่านมรรค ๔ ของพระอานนท์ ให้เข้าใจก่อน

    ผมจะยกมาแสดงโดยย่อ

    ยุคนัทธะ ( ธรรมที่เทียมคู่ ) บทตั้งเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่าภิกษุ ภิกษุณีจะพยากรณ์อรหัตตผล ได้ ในสำนักของพระอานนท์ ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ

 ๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน )
 ๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน )
 ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
 ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่านในธรรม ( โปรดดูพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ ) ต่อจากนั้นเป็น คำอธิบายโดยละเอียด.


    คุณมดตะนอย น่าจะมีพุทธจริต ชอบคุยเรื่องอะไร คุยมาเลยครับ ผมยินดีจะเป็นเพื่อนคุยทุกเมื่อ

     :s_good::49: :welcome: