สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: Sitti ที่ สิงหาคม 17, 2011, 10:21:59 am



หัวข้อ: คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Sitti ที่ สิงหาคม 17, 2011, 10:21:59 am
คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ

คือ โดนเพื่อนแซว และ ต่อว่า ครับว่าเดี๋ยวนี้ไม่เอาอะไรกับใครเลยนะ ไม่สังสรรค์ แบบเมื่อก่อน

ไม่ช่วย ไม่ยุ่ง ไม่เอางาน เอาการเพื่อนเลยนะ ประมาณนี้นะครับ อันที่จริงผมก็ไปช่วยงานเขาทุกงานะครับ

เพียงแต่ว่าตอนนี้งดเด็ดขาด เรื่องการเสวนาในวงเหล้า ไม่เอาครับ ไม่เห็นประโยชน์.....

  แต่ชีวิตเรา ก็ยังต้องอยู่ในสังคมที่ต้องทำงาน กับคนเหล่านี้อยู่ ต้องพึ่งเขาอยุ่ เพราะการที่ผมลดการเสวนา

ในวงเหล้าลง ทำให้ผมมีความลำบากในงานมากขึ้น เพราะเพื่อน ๆ จะไม่ค่อยให้ หรือ ไม่ให้ความร่วมมือกัน

ในระบบทำงานแบบเมื่อก่อน

  ไม่ทราบว่าเพื่อนสมาชิก มีวิธีการแก้ไข กันอย่างไรครับ หรือว่าเราต้องไปคลุกคลีในวงเหล้าด้วยเหมือนเดิม

ดีครับ

  ขอคำแนะนำด้วยครับ

  :41: :25: :c017:


หัวข้อ: Re: คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: poepun ที่ สิงหาคม 17, 2011, 04:59:28 pm
ดูเหมือน ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น นะครับ ว่าผู้ภาวนาก็ไม่ควรเข้าไปข้องเกี่ยวกับ การบ้าน ( ครอบครัว ) การเมือง ( ประเทศ ) มิฉะนั้น จะเป็นอุปสรรค อย่างยิ่งใหญ่ ในการภาวนานะครับ

เพราะผู้ภาวนา ควรจะต้อง ถือ วิเวก นะครับ

โดยเฉพาะถ้ามุ่งหมาย ขั้นพระอรหันต์ คือ พระนิพพาน ด้วยแล้ว ยิ่งไม่ควรเข้าไปยุ่ง เลยนะครับ

 :s_laugh:


หัวข้อ: Re: คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ สิงหาคม 17, 2011, 06:17:27 pm
คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ
(http://www.luangta.com/image_Thamma/20110123232018.jpg)

พิจารณาดูจากกรณีหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ทำไมท่านขวนขวายช่วยสังคม ผู้คน ประเทศชาติ ทั้งที่ไม่ใช่กิจ

ของสงฆ์ มีข้อวิพากย์วิจารย์กันในหมู่สังคมคนมากคิด ว่า สมควรหรือไม่ ทั้งนี้เพราะสังคมคนหมู่มากอยู่อย่างชิง

ดีแย่งยื้อแข่งขันขาดเอกภาพทางความคิดเพราะริษยามานะอวดดี คนหมู่มากจึงสิ้นหวัง เอกภาพเพียงหนึ่งเดียว

คือ ศรัทธา สามารถฉุดช่วยสังคมผู้คนได้มากกว่า


ผู้ภาวนา เป็นผู้ใช้ชีวิตเป็น รู้หลีกเร้นข้อคับข้องในปัญหาของตนเองอย่างฉลาด ใช่หลงเพลินหมกจมกับสิ่งเดิมๆ

โดยไม่เปิดตามองความจริง ชีวิตยังต้องดำเนินอยู่กับสังคม วันนี้คุณต้องคิดแล้วหละว่าจะลดทอนปัญหาใดบ้างให้

สังคมอยู่ได้อย่างไม่อยุติธรรมต่อกัน




http://www.go6tv.com/2011/02/54.html


หัวข้อ: Re: คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: SRIYA ที่ สิงหาคม 18, 2011, 09:29:25 am
(http://www.luangta.com/image_Thamma/20110123232018.jpg)

ในกรณี หลวงตา น่าจะยก เพราะถ้าเรามองท่านเป็นพระผู้ภาวนา มีความพร้อมที่ยุ่งกับชาวโลก ในฐานะที่สมควร

 แต่หากในกรณี คนที่ ยังภาวนาอยู่ ที่สำคัญต้องมาพิจารณา เรื่องการปลีกวิเวก บ้าง คะ

 ดังนั้น ผู้ภาวนาเริ่มต้น อาจจะต้อง มั่นคงในศีล ในทาน ในการอาสา

แต่ผู้ภาวนาระดับกลางต้องให้ความสำคัญในการ วิเวก คือ กายวิเวก และ จิตวิเวก จนถึง อุปธิวิเวก คะ

  :25: :88:


หัวข้อ: Re: คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 18, 2011, 05:51:20 pm
 
ความเจริญก้าวหน้าที่ได้มาจากวงหล้า เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจหรือไม่ เป็นไปตามทำนองคลองธรรมหรือไม่

 การคบแต่กัลยาณมิตรหรือบัณฑิตเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง การคบคนพาลไม่เป็นมงคล(มงคล๓๘)

 ควรแยกแยะหน้าที่การงานด้วยศีลธรรม ต้องใช้ พรหหมวิหาร๔ และสังฆหวัตถุ๔ ในการอยู่กับสังคมที่ทำงาน

 ขอให้เชื่อมั่นว่า ธรรมย่อมคุ้มครอง ผู้ประพฤติธรรม

  :49:
 


หัวข้อ: Re: คนภาวนา หรือ ปฏิบัติธรรม คือคนที่ไม่ยุ่ง ไม่เอา อะไรกับสังคมใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกคิด ที่ สิงหาคม 19, 2011, 10:10:19 am
นันทกสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7619&Z=7710 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7619&Z=7710) 


ในเรื่องของการเสวนากับคนอื่น ทรงสอนว่า 


           [๓๔๕] พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิงร่วมหมู่ ย่อมไม่งามเลย ดูกรอานนท์ ข้อที่ภิกษุผู้ชอบคลุกคลีกัน ยินดีในการคลุกคลีกัน ประกอบเนืองๆ ซึ่งความชอบคลุกคลีกัน ชอบเป็นหมู่ ยินดีในหมู่บันเทิงร่วมหมู่นั้นหนอ จักเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนาโดยไม่ยากไม่ลำบาก นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้

             ส่วนข้อที่ภิกษุเป็นผู้ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่อยู่พึงหวังเป็นผู้ได้สุขเกิดแต่เนกขัมมะ สุขเกิดแต่ความสงัด สุขเกิดแต่ความเข้าไปสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ ตามความปรารถนา โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก นั่นเป็นฐานะที่มีได้