หัวข้อ: การบรรลุธรรมแบบ ฉับพลันนั้น มีข้อความในพระไตรปิฏก อธิบายไว้บ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: bangsan ที่ มีนาคม 31, 2010, 07:11:42 pm ปีนี้ผมก็รู้ตัวว่าแก่ มากเพราะหลัก 7 ขึ้นแล้ว
แต่ปัญหาในเรื่องหลักธรรม เกี่ยวกับการบรรลุธรรม ของพระอรหันต์ แบบฉับพลันนั้น ก็เป็นที่ติดสงสัยผมอยู่มาก เพราะเท่าที่ผมศึกษา หรือ ค้นคว้าดูเกี่ยวการบรรลุฉับพลันนั้น ปรากฏว่าบางรูป ไม่ได้ทำอะไรเลยในชาตินี้ แต่พอบรรลุธรรม ก็ได้ ปฏิสัมภิทา อีกต่างหาก เช่น พระจูฬปันถก เป็นต้น มีข้อความในพระไตรปิฏก เกี่ยวกับการภาวนา แบบบรรลุฉับพลัน ไว้อย่างไรครับ ( ที่ถามในนี้ไม่ใช่ ว่าจะขี้เกียจภาวนา นะครับ แต่พอจะมีหลักปฎิบัติ ที่เข้าใจง่าย ๆ ที่จะเอื้อเฟื้อการบรรลุแบบฉับพลันหรือป่าวครับ ) หัวข้อ: พระพาหิยเถระ เอตทัคคะทางด้าน "ตรัสรู้เร็วพลัน" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 31, 2010, 09:14:48 pm พระพาหิยเถระ เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา(ตรัสรู้เร็วพลัน) (http://images.palungjit.com/attachments/5410-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C-00029_3-jpg) พระพาหิยะ เกิดในวรรณแพศย์ ตระกูลกุฎุมพี แคว้นพาหิยะ คงจะเรียกชื่อท่านตามชื่อ แคว้น เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ประกอบอาชีพค้าขายตามบรรพบุรุษ เนื่องจากมีถิ่นฐานอยู่แถบชายฝั่ง ทะเล จึงอาศัยเรือเดินทะเลบรรทุกสุวรรณภูมิ อันตั้งอยู่ในแคว้นกัมโพชะ อินเดียตอนเหนือ ท่า จอดเรือรับส่งขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือสุปปารกะ ในอปรันตชนบท • เรือแตกแต่รอดตาย การเดินเรือค้าขายเป็นไปตามปกติตลอดมา แต่วันหนึ่งขณะที่เรือกำลังเล่นอยู่ในทะเล ใกล้จะถึงท่าสุปปารกะ ได้มีลมพายุเกิดคลื่นใหญ่ซัดเรืออับปางลงลูกเรือตายทั้งหมด พาหิยะ คนเดียวเท่านั้นที่อาศัยเกาะแผ่นกระดานสามารถพยุงกายมิให้จมน้ำตายเป็น เหยื่อปลาในทะเล พยายามกระเสือกกระสนประคองกายเข้ามาถึงฝั่งที่ท่าสุปปารกะได้ แต่พาหิยะก็มาถึงท่าเพียงตัว เท่านั้น เสื้อผ้าที่สวมใส่หลุดหายไปในทะเล เหลือแต่ร่างกายที่เปลือยเปล่า ณ บริเวณท่าเรือสุปปาระกะนั้น มีพ่อค้าประชาชนหนาแน่น เพราะเป็นศูนย์กลางการ ขนถ่ายสินค้าและการค้าขาย พาหิยะ นอนหมดแรงอยู่ที่ชายฝั่งทั้งหิวทั้งเพลีย นอนคิดหาหนทาง เพื่อเอาชีวิตรอดต่อไป แต่รู้สึกเขินอายที่ร่างกายเปลือยเปล่า ไม่มีสิ่งใดปิดบังร่างกายเลย จึงใช้ เปลือกไม้บ้างใบไม้บ้าง เท่าที่จะหาได้มาทำเป็นเครื่องปิดบังแทนเครื่องนุ่งห่ม และได้เข้าไป อาศัยร่มเงาที่ศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่งใกล้ ๆ บริเวณท่าเรือสุปปารกะนั้น พอความเหนื่อยเพลี บรรเทาลงแล้ว จึงถือแผ่นกระเบื้องเที่ยวขออาหารจากชาวบ้าน • อรหันต์เปลือย ในยุคสมัยนั้นคำว่า “พระอรหันต์” เป็นคำที่ประชาชนกล่าวขานกันทั่วไปว่า มีอยู่ที่ โน่นบ้าง มีอยู่ที่นี่บ้าง แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดได้เคยพบพระอรหันต์จริง ๆ เลย พอได้เห็นพาหิยะผู้นุ่ง เปลือกไม้ มีร่างกายผ่ายผอม ถือแผ่นกระเบื้องเดินมาในลักษณะอย่างนั้น ต่างก็พากันเข้าใจว่า “นี่แหละ คือ พระอรหันต์” ดังนั้นจึงพากันให้อาหารบริโภคอย่างอุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ทำให้พาหิยะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น แต่พาหิยะปฏิเสธไม่ยอมรับเสื้อผ้ามา สวมใส่ เพราะเกิดความคิดว่า “ถ้าสวมใส่เสื่อผ้าแล้ว จะทำให้เสื่อมจากลาภสักการะ” อีกทั้งก็ เริ่มเข้าใจผิดคิดว่าตนเป็นพระอรหันต์จริง ๆ จึงดำรงชีวิตและปฏิบัติตนไปตามนั้น ใบไม้และ เปลือกไม้ที่แห้งไปก็เปลี่ยนใหม่ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้นามต่อท้ายชื่อของท่านว่า “ทารุจิริยะ” และเรียกชื่อท่านเต็ม ๆ ว่า “พาหิยทารุจิริยะ” ซึ่งแปลว่า พาหิยะผู้มีเปลือกไม้เป็นเครื่องนุ่งห่ม และท่านได้ดำเนินชีวิตโดยทำนองนี้เรื่องมาเป็นเวลานาน • พระพรหมมาเตือนให้กลับใจ วันหนึ่ง ได้มีพระพรหม ผู้เคยเป็นสหายเก่าที่เคยปฏิบัติธรรมร่วมกันในอดีตชาติกับ พาหิยะ และได้บรรลุธรรมถึงชั้นอนาคามิผล เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ได้ ติดตามดูพฤติกรรมของพาหิยะมาตลอด เห็นว่าสหายกำลังปฏิบัติผิดทาง ดำเนินชีวิตด้วยการลวง โลก ซึ่งจะทำให้เขาไปเกิดในทุคติอบายภูมิ จึงลงมาเตือนให้สติว่า “พาหิยะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ บัดนี้ พระอรหันต์ที่แท้จริงเกิดขึ้นแล้วในโลก ขณะนี้ พระองค์ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถีแคว้นโกศล” • เดินทางทั้งวันทั้งคืน พระหิยะ ได้ฟังคำเตือนของพระพรหมผู้เป็นสหายเก่าแล้วเกิดความสลดใจในการกระทำ ของตนเอง รู้สึกสำนึกผิดเลิกละการกระทำนั้น และเกิดความปิติยินดีที่ทราบว่า พระพุทธเจ้าเกิด ขึ้นแล้วในโลก จึงรีบออกเดินทางจากท่าเรือสุปปารกะ มุ่งสู่เมืองสาวัตถี ซึ่งมีระยะทางถึง ๑๒๐ โยชน์ (๑๙๒ กม.) ท่านเดินทางทั้งวันทั้งคืนอย่างรีบร้อน เพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาให้เร็วที่สุด เพราะไม่รู้แน่ว่าความตายจะมาถึงเมื่อใด ท่านเดินทางมาถึงเมืองสาวัตถี ในเวลารุ่งเช้าแล้วรีบ ตรงไปยังพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อได้ทราบว่า ขณะนี้พระบรมศาสดา เสด็จเข้าไปบิณฑบาตใน เมือง จึงรีบติดตามไปในเมืองและได้พบพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จบิณฑบาตอยู่ ด้วยความปีติ ยินดีอย่างที่สุดได้เข้าไปกราบแทบพระบาทแล้ว กราบทูลขอให้ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธ องค์ตรัสห้าวว่า “พาหิยะ เวลานี้ มิใช่เวลาแสดงธรรม” • ตรัสรู้เร็วพลัน พาหิยะ ได้พยายามกราบทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้ง พระบรมศาสดา จึงทรงแสดงพระธรรม เทศให้ฟัง โดยตรัสสอนให้สำรวมอินทรีย์ คือ เมื่อเห็นรูปก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่า ได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น ลิ้มรสก็สักแต่ว่าลิ้มรส และสัมผัสสักแต่ว่าสัมผัสเท่านั้น อย่า ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น และหมั่นสำเหนียกศึกษาในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่เป็น นิตย์ พาหิยะ ส่งกระแสจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลในทันที ท่านได้กราบทูลขออุปสมบท แต่พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ในอดีตชาติท่าน พาหิยะ ไม่เคยทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรด้วยบาตรและจีวรเลย เมื่อบวชแล้วบาตรและ จีวรที่จะเกิดด้วยบุญฤทธิ์ ก็จะไม่มีจึงรับสั่งให้ท่านไปหาบาตรและจีวรมาให้ครบก่อน และใน ขณะที่ท่านกำลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้นได้ถูกอมนุษย์ผู้เคยเป็นศัตรูกัน มากแต่อดีตชาติ เข้า สิงร่างแม่โคลูกอ่อนวิ่งเข้าขวิดท่านตาย จึงถือว่าท่านนิพพานตั้งแต่ยังไม่ได้บวช พระพุทธองค์ เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นศพของท่านนอนอยู่ริมทาง จึงรับสั่งให้ภิกษุที่ติดตามเสด็จมา จัดการฌาปนกิจให้ท่าน และทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน ที่มา http://www.84000.org/one/1/28.html (http://www.84000.org/one/1/28.html) --------------------------------------------------------- คุณจำลองครับ เอาประวัติพระพาหิยะไปก่อนนะครับ ข้อธรรมอื่นๆ จะค่อยๆหาอีกที ขอให้ธรรมคุ้มครอง :25: หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมแบบ ฉับพลันนั้น มีข้อความในพระไตรปิฏก อธิบายไว้บ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 31, 2010, 10:41:26 pm ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชัน เหมือนเหวไม่ ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผล โดยตรง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการ กระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=4164&Z=425 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=23&A=4164&Z=425)7 ---------------------------------------------------- พุทธศาสนสุภาษิต มาวะมัญเญถะ ปุญญัสสะ นะมัตตัง อาคะมิสสะติ อุทะพินทุนิปาเตนะ อุทะกุมโภปิ ปูระติ ปูระติ ธีโร ปุญญัสสะ โถกัง โถกัมปิ อาจินัง ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า มีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด ผู้ฉลาดสั่งสมบุญ แม้ทีละน้อยๆย่อมเต็มได้ด้วยบุญ ฉันนั้น ---------------------------------------------------- ดูเหมือนพระพุทธเจ้า จะสอนให้ภาวนาแบบค่อยเป็นค่อยไป นะครับ คุณจำลอง มีพุทธภาษิตในหมวดความเพียร บทว่า "ที่ควรช้า จงช้า ที่ควรเร่ง จงเร่ง" คุณจำลองคงเข้าใจนะครับ ขอให้ธรรมคุ้มครอง :25: หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมแบบ ฉับพลันนั้น มีข้อความในพระไตรปิฏก อธิบายไว้บ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ ธันวาคม 26, 2014, 09:11:48 pm เรื่อง พระสาวกที่บรรลุธรรมแบบ ฉับพลัน
หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมแบบ ฉับพลันนั้น มีข้อความในพระไตรปิฏก อธิบายไว้บ้างไหมครับ เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มกราคม 19, 2015, 07:59:25 am เรื่องที่ยังเป็นความปรารถนา ของนักปฏิบัติหลายๆท่าน
|