หัวข้อ: อยากทราบว่า ต้นไม้นี้ มีชีวิต หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: เท่ากับผลรวม ที่ สิงหาคม 27, 2011, 05:54:55 pm คืออยากได้บทสรุป ของศีล ข้อ 1 ครับ
การไม่ฆ่าสัตว์ที่มีชีิวิต นี้รวมถึงต้นไม้ด้วยหรือไม่ครับ :s_hi: ( ขออภัยด้วยนะครับ ถ้าคำถาม ดูจะ เด็ก ๆ ไปหน่อย ) (http://www.manager.co.th/asp-bin/Image.aspx?ID=1805224) หัวข้อ: Re: อยากทราบว่า ต้นไม้นี้ มีชีวิต หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 28, 2011, 09:20:27 pm ครูวิทยาศาสตร์ อยู่ไหนหนอ มาให้นิยามของคำว่า "สิ่งมีชีวิต" ให้หน่อย
ส่วนผม เดี๋ยวขอเวลา ขอไปค้นอภิธรรมดูก่อน เผื่อจะมีคำตอบ รอสักนิด...นะขอรับ :49: :93: ;) :bedtime2: หัวข้อ: Re: อยากทราบว่า ต้นไม้นี้ มีชีวิต หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ สิงหาคม 29, 2011, 01:23:41 am อยากได้บทสรุป ของศีล ข้อ 1 ครับ การไม่ฆ่าสัตว์ที่มีชีิวิต นี้รวมถึงต้นไม้ด้วยหรือไม่ครับ (http://www.bhumirak.com/ez/uploads/images/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD.jpg) ต้นไม้นั้นมีปราณ จึงกล่าวได้ว่ามีชีวิต ในสิกขาบทของสงฆ์นั้น ห้ามภิกษุตัดต้นไม้หรือพรากของเขียว ปรับอาบัติได้ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีการภาวนาเจริญธาตุที่สามารถดึงเอาปราณจากต้นไม้มาใช้เสริมธาตุตนเองได้ ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตเสมือนหนึ่งเป็นเพื่อนร่วมโลกที่ให้ปราณให้ชีวิตแก่เรา ดังนั้นอย่าทำลายอนุรักษ์กันไว้ นะครับ http://www.bhumirak.com/ez/index.php?page=north หัวข้อ: Re: อยากทราบว่า ต้นไม้นี้ มีชีวิต หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 29, 2011, 10:48:40 am (http://www.rsunews.net/Green/TheStoryOfStuff/Greencut.jpg) ชีวิตคืออะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้น สิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้ว ยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้น ให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิด และตามรักษาดำรงชีวิตและกระทำการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิต และเจตสิกเป็นผู้กำกับ ส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ในทางธรรมเรียกว่า รูปธรรมเป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึก นึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รูป ส่วน จิตและเจตสิก เป็น นามธรรม เรียกสั้น ๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้ ดังนั้น ตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิต และเจตสิก ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคำว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้ หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมด ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สำคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้ว มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลย ที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ “เรา” อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิกที่มีการเกิดดับ อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทำให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (http://www.pantip.com/cafe/isolate/topic/M10957325/M10957325-5.jpg) การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัวเรา และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึง ซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรม ที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลาย ก็จะถูกทำลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด (http://www.madchima.net/images/559_image008.gif) รูปนามกับขันธ์ ๕ สัมพันธ์กันอย่างไร คำว่า ขันธ์ แปลว่า กอง, พวก, หมวด, หมู่ ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงหมายถึงสภาวธรรม ๕ อย่าง ซึ่งประกอบด้วย ๑. รูปขันธ์ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ หรือกลุ่มรูป ที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด ๒. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉย ๆ ๓. สัญญาขันธ์ คือ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจำ หรือเป็นหน่วยความจำของจิตนั่นเอง ๔. สังขารขันธ์ คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่าง ๆ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เปรียบดังสีต่าง ๆ ที่หยดลงไปในแก้วน้ำ เป็นเหตุให้น้ำในแก้ว เปลี่ยนไปตามสีที่หยด ๕. วิญญาณขันธ์หรือจิต คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาต ิที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ สรุปแล้ว ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือ รูปกับนาม นั่นเอง (http://www.holidaythai.com/images/attraction/01460_prasarttaprom-1.jpg) อ้างอิง บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๒ ชีวิตคืออะไร เรียบเรียงโดย อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอบคุณภาพจาก www.rsunews.net (http://www.rsunews.net),www.pantip.com,www.holidaythai.com หัวข้อ: Re: อยากทราบว่า ต้นไม้นี้ มีชีวิต หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: สายฟ้า ที่ สิงหาคม 30, 2011, 09:15:41 am ถ้ากล่าว ว่า ต้นไม้ มีชีิวิต อยู่หรือไม่ ถ้าพิจารณา ความเป็นจริง คนที่บ้าน ( ลำปาง ) ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่ ๆ อยู่มาก ชาวบ้านจะนับถือ มาก ๆ บางต้นก็มีศาลให้ด้วย
(http://touronthai.com/gallery/photo/26000030/huai-yang_falls15.jpg) ชาวบ้าน ( ส่วนใหญ่ ) รวมทั้งผมด้วย เชื่อว่า มีนางไม้ เทวดา ประจำ สถิต อยู่ที่ต้นไม้ ใหญ่ ครับ ในทางวิทยาศาสตร์ สิ่งใดยังชีวิต ให้อยู่ได้ สิ่งนั้นก็มีชีวิต มีการทดสอบ เปิด ดนตรีให้ต้นไม้ฟัง กับ เป็นการเปิดเพลงช้า ๆ กับเปิดเพลงเร็ว สอง ที่ ที่เปิดเพลงเร็ว ต้นไม้ตาย ที่เปิดเพลงช้า ต้นไม้ยังอยู่ ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ดังนั้น ต้นไม้มีชีิวิต แต่ มีจิตใจหรือไม่ การทำลายต้นไม้ จััดว่าผิดศีล หรือ ไม่ คิดว่าไม่ผิดศีล เพราะอะไร เพราะอะไรไม่ทราบ ? เป็นความรู้สึก ครับ ยกเว้นต้นไม้ใหญ่ ๆ ครับ สรุปแล้ว ผมคิดว่า ไม่ผิดศีล ครับ |