หัวข้อ: ถวายของมีคม ได้อะไรคมๆ กลับมารึเปล่า เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 09, 2011, 07:03:17 am (http://statics.atcloud.com/files/comments/19/195121/images/1_display.jpg) ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน เราก็ศิษย์อาจารย์ หนึ่งบ้าง เราผิดท่านประหาร เราชอบ เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง ฯ โคลงของศรีปราชญ์บทนี้ ผมนำมาประกอบการนำเสนอเรื่องอานิสงส์การถวายมีด ไม่รู้จะเข้ากันได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร เพื่อนๆท่านใดมีร้อยแก้ว ร้อยกรอง หรือคำคมใดๆ ก็ขอให้แสดงให้ดูบ้าง ผมนึกได้เท่านี้จริงๆ อานิสงส์การถวายมีด พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ปิลินทวรรคที่ ๔๐ ปิลินทวัจฉเถราปทานที่ ๑ (๓๙๑) ว่าด้วยผลแห่งการถวายไทยธรรมอันสมควร เรามีจิตเลื่อมใสได้ถวายพร้าอันราบเรียบ ไม่หยาบ ไม่ต้องขัดถู เป็นอันมากในพระพุทธเจ้าและในสงฆ์แล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือเราย่อมได้ ความเพียรอันเป็นกัลยาณมิตร ๑ ขันติ ๑ ศาตราคือความไมตรี ๑ ศาตราคือปัญญาอันยิ่งเพราะตัดลูกศรคือตัณหา ๑ ญาณอันเสมอด้วยแก้ววิเชียร ๑ เพราะผลอันหลั่งออกแห่งกรรมเหล่านั้น เราได้ถวายเข็มในพระสุคตเจ้า และในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการอันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยใหญ่ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนนอบน้อม ๑ ตัดความสงสัยได้ ๑ มีรูปงาม ๑ มีโภคสมบัติ ๑ มีปัญญากล้า ๑ ทุกเมื่อ เราพิจารณาเห็นอรรถอันเป็นฐานะละเอียดลึกซึ้งด้วยญาณ ญาณของเราเสมอด้วยแก้ววิเชียรอันเลิศ เป็นเครื่องกำจัดความมืด (http://www.formumandme.com/pic_upload/pic_no_1449_knife-kitchen.jpg) เราได้ถวายมีดตัดเล็บในพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐแล้ว ย่อมได้เสวยอานิสงส์ ๕ ประการ อันสมควรแก่กรรมของเรา คือ เราย่อมได้ ทาสชายหญิง วัวและม้า ลูกจ้าง คนฟ้อนรำ ช่างตัดผม พ่อครัวผู้ทำอาหารเป็นอันมาก เราได้ถวายมีดบางอันลับคมดีและกรรไกรในสงฆ์แล้ว ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องตัดกิเลส อันหาน้ำหนักมิได้ สะอาด เราได้ถวายคีมพระสุคตเจ้าและในคณะสงฆ์ผู้ประเสริฐสุดแล้ว ย่อมได้ญาณเป็นเครื่องถอนกิเลสอันหาน้ำหนักมิได้ สะอาด (http://prachuabculture.files.wordpress.com/2008/05/su.jpg) อ้างอิง เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๗๙๒๕ - ๘๒๘๗. หน้าที่ ๓๖๕ - ๓๗๘. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=7925&Z=8287&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=7925&Z=8287&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=393 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=393) ขอบคุณภาพจาก http://statics.atcloud.com (http://statics.atcloud.com),www.formumandme.com,http://prachuabculture.files.wordpress.com |