หัวข้อ: ชีวิต นี้สายเกินไปหรือไม่ ? เริ่มหัวข้อโดย: GodSider ที่ กันยายน 18, 2011, 11:10:35 am ผมเองทำงานเกี่ยวกับ คนที่หลงผิด แล้ว ก็มารับโทษ
ทุกครั้งที่ต้องคอยตอบ ว่า เขาหมดโอกาสแล้ว เขาไม่มีหนทางแล้ว ถึงแม้เดินจากตรงนี้ไป ชีวิตก็เคว้งคว้าง จึงไม่อยากจากตรงนี้ไป แท้ที่จริง ชีวิตของคนเราสายไปแล้ว จริง หรือ ไม่ ? ที่หลังจากทุกคนได้กระทำผิด ยังทันเวลาหรือไม่ หรืออายุจะหมดก่อน หรือ โรคภัยไข้เจ็บที่เบียดเบียน ความหวังของผู้ป่วย ที่รู้ว่าตนเองจะตาย .... ควรจะเยียวยาอย่างไร ? ควรจะให้ ความหมายกับชีวิต อย่างไร ? และทำอย่างไร ที่จะให้คนรู้คุณค่าของการมีชีวิต อยู่ :58: หัวข้อ: Re: ชีวิต นี้สายเกินไปหรือไม่ ? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 18, 2011, 09:50:46 pm (http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/Picture1-40/03.jpg) คุณGodSider ไม่ทราบมีหน้าที่อะไร อ่านดูเหมือนจะให้เข้าใจว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของกรมราชฑัณท์ คนที่เข้าใจข้อธรรมทางศาสนาได้ ต้องมีพื้นฐานมาบ้าง พูดง่ายๆก็คือ ต้องสั่งสมบารมีมาทางนี้ หากไม่มีบารมีมาทางนี้ ก็เป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าใจ คงต้องอาศัย "จิตวิทยาทางโลกเข้าช่วย" แนะนำให้ไปดูเว็บของ "กรมสุขภาพจิต" กระทรวงสาธารณสุข ลิงค์นี้เลยครับ http://www.dmh.go.th/main.asp (http://www.dmh.go.th/main.asp) หากยืนยันที่หาข้อธรรม เพื่อนำไปปลอบประโลมใจเพื่อนร่วมทุกข์ ก็ต้องอ้างพุทธพจน์ที่ว่า "ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก, การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก." เกิดเป็นมนุษย์แสนยาก ได้เกิดมาฟังสัทธรรมก็ยากอีก ดังนั้น ในเมื่อเราได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว สัทธรรมของพระพุทธเจ้าก็มีอยู่ ทำไมเราจึงไม่ศึกษาธรรมะกันล่ะ ข้อยก "พระสูตรมาแสดงสัก ๓ สูตร" ดังนี้ครับ (http://www.amulet.in.th/forums/images/858.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ฉิคคฬสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นมนุษย์ยาก [๑๗๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอก ซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆจะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไปบางครั้งบางคราว เต่าจะสอดคอให้เข้าไปในแอกนั้นได้บ้าง. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ สอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เราย่อมกล่าวความเป็นมนุษย์ เพราะคนพาลผู้ไปสู่วินิบาตแล้วคราวเดียวก็หามิได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการประพฤติธรรม การประพฤติชอบ การกระทำกุศล การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกันและกันการเคี้ยวกิน ผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไปในวินิบาตนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. จบ สูตรที่ ๗ อ้างอิง เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๖๙๙ - ๑๐๗๑๔. หน้าที่ ๔๔๗. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10699&Z=10714&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10699&Z=10714&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1743 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1743) (http://img.kapook.com/image/education/17161291.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ฉิคคฬสูตรที่ ๒ ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ยาก [๑๗๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้มีน้ำเป็นอันเดียวกัน บุรุษโยนแอกซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาปฐพีนั้น ลมทิศบูรพาพัดเอาแอกนั้นไปทางทิศประจิม ลมทิศประจิมพัดเอาไปทางทิศบูรพา ลมทิศอุดรพัดเอาไปทางทิศทักษิณ ลมทิศทักษิณพัดเอาไปทางทิศอุดร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาปฐพีนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอเข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นเป็นของยาก. พ. ฉันนั้นภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกเป็นของยาก ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองในโลกก็เป็นของยาก ความเป็นมนุษย์นี้เขาได้แล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก และธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละเธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. จบ สูตรที่ ๘ อ้างอิง เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๗๑๕ - ๑๐๗๓๐. หน้าที่ ๔๔๘. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10715&Z=10730&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10715&Z=10730&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1744 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1744) (http://entertainment.goosiam.com/hotnews/admin/my_documents/my_pictures/42Z_%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อัญญตรสูตร ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในมนุษย์น้อย [๑๗๕๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว. พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่กลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อยโดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. จบ สูตรที่ ๑ (http://www.thaimuslim.com/Worldmuslim/pics/20110525340_02.jpg) อ้างอิง เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๙๐๓ - ๑๐๙๘๐. หน้าที่ ๔๕๗ - ๔๖๐. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10903&Z=10980&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10903&Z=10980&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1757 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1757) ขอบคุณภาพจาก http://download.buddha-thushaveiheard.com (http://download.buddha-thushaveiheard.com),www.amulet.in.th,http://img.kapook.com,http://entertainment.goosiam.com,www.thaimuslim.com หัวข้อ: Re: ชีวิต นี้สายเกินไปหรือไม่ ? เริ่มหัวข้อโดย: GodSider ที่ กันยายน 19, 2011, 08:50:36 am อนุโมทนา กับการชี้แนะนำจากทุกท่าน ด้วยนะครับ
การทำความดี สิ่งสำคัญที่สุด ต้องอาศัย ความอดทน อดกลั้น และ ความ พยายาม กับปัญญา ที่สำคัญ ความดี เริ่มจากศีล สมาธิ และ ปัญญา ขอบคุณครับ สำหรับคำวิจารณ์ บทความแนะนำ :25: :c017: :25: :c017: |