สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 20, 2011, 02:38:48 pm



หัวข้อ: ผู้ถูกนินทา หรือ ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียวไม่มี
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 20, 2011, 02:38:48 pm

(http://www.budnet.org/happiness/happiness_news/photo/news17-2.jpg)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

 
คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

             [๒๗] บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วงสังโยชน์เสียทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้นผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล บุคคลใดแล พึงห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลัง  แล่นไปได้ ฉะนั้น เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้เป็นคนถือเชือก       
         พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
         พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี
         พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้ 
         พึงชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์
         พึงกล่าวคำสัตย์ไม่พึงโกรธ

         แม้เมื่อมีของน้อย ถูกขอแล้วก็พึงให้ บุคคลพึงไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย เพราะเหตุ ๓ ประการนี้
                          มุนีเหล่าใดผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์
                          มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่จุติ ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก
                          อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ศึกษาเนืองๆทั้งกลางวันและกลางคืน
                          ผู้น้อมไปแล้วสู่นิพพาน ย่อมถึงความไม่มี


(http://www.athingbook.com/images/upload/content/img1163.jpg)

            ดูกรอตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้ คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง แม้ผู้พูดมาก แม้พูดพอประมาณ
                 ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
                 บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้
 
           ถ้าว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้วทุกวัน ย่อมสรรเสริญบุคคลใด ผู้มีความประพฤติไม่ขาด เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ใครย่อมควร   เพื่อจะนินทาบุคคลนั้น ผู้เหมือนดังแท่งแห่งทองชมพูนุช แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น  แม้พรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น

           ภิกษุพึงรักษาความกำเริบทางกายพึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย ละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยกาย พึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงเป็นผู้สำรวมด้วยวาจาละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยวาจา พึงรักษาความกำเริบทางใจ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยใจ ละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยใจ นักปราชญ์ทั้งหลาย สำรวมแล้วด้วยกาย สำรวมแล้วด้วยวาจา สำรวมแล้วด้วยใจ ท่านเหล่านั้น   แล สำรวมเรียบร้อยแล้ว                       
                                 
         จบโกธวรรคที่ ๑๗


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๘๖๒ - ๘๙๔.  หน้าที่  ๓๗ - ๓๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=862&Z=894&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=862&Z=894&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27)
ขอบคุณภาพจาก www.budnet.org (http://www.budnet.org),www.athingbook.com,www.thaipr.net


(http://www.thaipr.net/dsppic/dsppic.aspx?filesid=9209513801F048E96B240A8E73EE9A59)

                                     อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ    ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
                                 แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน  คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา


                                                                กลอนสุนทรภู่