สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 21, 2011, 10:11:51 am



หัวข้อ: ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 21, 2011, 10:11:51 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อัจฉริยสูตรที่ ๑

   [๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการย่อมปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ ประการเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย

(http://www.84000.org/tipitaka/picture/p02.jpg)

     เมื่อใดพระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แสงสว่างอัน
โอฬารหาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

     แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มีอะไรปิดบัง มืดมิดมองไม่เห็นอะไร ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์ ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้ใน
โลกันตริกนรกนั้น
ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

     แม้พวกสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่าท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี (ไม่ใช่มีแต่เรา)
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๑ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ


(http://www.84000.org/tipitaka/picture/p03.jpg)

     อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากครรภ์พระมารดา ฯลฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๒ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ


(http://www.84000.org/tipitaka/picture/p27.jpg)

    อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๓ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ


(http://www.84000.org/tipitaka/picture/p36.jpg)

    อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตประกาศอนุตรธรรมจักร เมื่อนั้นแสงสว่างอย่างยิ่งหาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
 
    แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มีอะไรปิดบัง มืดมิดมองไม่เห็นอะไร ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้ในโลกันตริกนรกนั้น ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

    แม้พวกสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ ด้วยแสงสว่างนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี (ไม่ใช่มีแต่เรา)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๔ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้ ย่อมปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ

             จบสูตรที่ ๗

อ้างอิง                        
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๓๖๑๓ - ๓๖๔๕.  หน้าที่  ๑๕๕ - ๑๕๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3613&Z=3645&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3613&Z=3645&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=127 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=127)
ขอบคุณภาพจาก www.84000.org (http://www.84000.org)


หัวข้อ: Re: ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 21, 2011, 10:26:52 am

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ภยวรรคที่ ๓
๗. อัจฉริยสูตรที่ ๑

               
อรรถกถาปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗
             
               พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปาตุภาวา คือ เพราะปรากฏขึ้น.
               ในบทว่า กุจฺฉึ โอกฺกมติ นี้ ความว่า เป็นผู้ลงสู่ครรภ์แล้ว. ความจริง เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นลงแล้ว แสงสว่างก็เป็นอย่างนั้น เมื่อกำลังหยั่งลง แสงสว่างก็เป็นอย่างนั้น.
               บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ มีประมาณเพิ่มขึ้น คือไพบูลย์กว้างขวาง.
               บทว่า อุฬาโร เป็นไวพจน์ของบทว่า อปฺปมาโณ นั่นเอง.


(http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/Picture1-40/02_01.jpg)

               ในบทว่า เทวานํ เทวานุภาวํ นี้ ได้แก่ อานุภาพอันหาประมาณมิได้ของเหล่าเทวดา รัศมีของผ้าที่นุ่งแผ่ไปได้ตลอด ๑๒ โยชน์ของสรีระก็อย่างนั้น ของวิมานก็อย่างนั้น. อธิบายว่า ล่วงเทวานุภาพแห่งเทวดานั้น.
               บทว่า โลกนฺตริกา ความว่า ที่ว่างในระหว่างสามจักรวาล จะมีโลกันตริกนรกอยู่แห่งหนึ่ง เหมือนระหว่างล้อเกวียนทั้งสามล้อที่ถึงกันแล้วหรือตั้งจดติดกันและกัน ก็มีที่ว่างตรงกลาง. ก็โลกันตริกนรกนั้น ว่าโดยประมาณได้แปดพันโยชน์.

               บทว่า อฆา คือ เปิดเป็นนิตย์.
               บทว่า อสํวุตา คือ ไม่มีฐานที่ตั้งแม้ภายใต้.
               บทว่า อนฺธการา คือ มืด.
               บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า ประกอบด้วยความมืด ทำให้เป็นเหมือนตาบอดเพราะห้ามการเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ. ได้ยินว่า จักษุวิญญาณไม่เกิดในโลกันตริกนรกนั้น.

               บทว่า เอวํมหิทฺธิกานํ ความว่า ได้ยินว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏในทวีปทั้งสาม พร้อมคราวเดียวกัน จึงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง กำจัดมืดได้เก้าแสนโยชน์ ในทิศแต่ละทิศจึงมีอานุภาพมากอย่างนี้.


(http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/Picture1-40/03.jpg)

               บทว่า อาภา นานุโภนฺติ คือ แสงสว่างไม่พอ. ได้ยินว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น โคจรไปท่ามกลางจักรวาลบรรพต ล่วงเลยจักรวาลบรรพตไปก็เป็นโลกันตริกนรก เพราะฉะนั้น แสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น จึงส่องไปไม่ถึงในที่นั้น.

               บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า สัตว์แม้เหล่าใดเกิดแล้วในโลกันตรมหานรกนั้น.
               ถามว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไร จึงเกิดในโลกันตริกนรกนั้น.
               ตอบว่า สัตว์ผู้ทำกรรมหนัก ทารุณต่อมารดาบิดาและความผิดร้ายแรงต่อสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม และทำกรรมสาหัสอื่นมีฆ่าสัตว์ทุกๆ วันเป็นต้น จึงไปเกิดดุจอภัยโจรและนาคโจรเป็นต้น ในตามพปัณณิทวี (ลังกา) สัตว์เหล่านั้นมีอัตภาพขนาด ๓ คาวุต มีเล็บยาวเหมือนค้างคาว เอาเล็บเกาะห้อยอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล คล้ายค้างคาวเกาะห้อยอยู่ที่ต้นไม้ฉะนั้น

               เมื่อมือเปะปะไปถูกกันและกันเข้า ต่างก็สำคัญว่าเราได้เหยื่อแล้ว ดังนี้ แล่นไล่หมุนไปรอบๆ ก็พลัดตกไปในน้ำรองโลกคล้ายผลมะซาง เมื่อถูกลมประหารอยู่ก็ขาดตกไปในน้ำ พอตกลงไปถึงก็เปื่องย่อยไปในน้ำกรด ราวกะแป้งตกน้ำละลายไปฉะนั้น.


(http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/Picture1-40/16_03.jpg)

               บทว่า อญฺเญปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา ความว่า สัตว์เหล่านั้นเห็นกันในวันนั้น จึงได้รู้ว่า ได้ยินว่า สัตว์เหล่าอื่นมาเกิดในที่นี้เพื่อเสวยทุกข์นี้ เหมือนเราทั้งหลายเสวยทุกข์ใหญ่อยู่ฉะนั้น. แต่แสงสว่างนี้จะสว่างอยู่แม้เพียงดื่มยาคูอีกหนึ่งก็หามิได้ สว่างอยู่ชั่วเวลาที่สัตว์หลับแล้วตื่นขึ้นอารมณ์แจ่มใสฉะนั้น. ส่วนพระทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่า แสงสว่างนั้นส่องเพียงพอสัตว์พูดว่านี้อะไร ก็หายไป คล้ายแสงสว่างฟ้าแลบชั่วลัดนิ้วมือเท่านั้น.

               จบอรรถกถาปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗


(http://download.buddha-thushaveiheard.com/images/All_page_04/Picture1-40/19_03.jpg)

อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=127 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=127)
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=3613&Z=3645 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=3613&Z=3645)


หัวข้อ: Re: ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: จินตนา ที่ กันยายน 21, 2011, 12:13:09 pm
อนุโมทนา คะ ตามอ่านอยู่ทุกวันนะคะ

  :49: :25: :25: