สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: ยุวธิดา ที่ กันยายน 23, 2011, 01:56:08 pm



หัวข้อ: พอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: ยุวธิดา ที่ กันยายน 23, 2011, 01:56:08 pm
มองสายน้ำหลั่งไหลจากภูผา      เจือด้วยยาสารเคมีที่ใช่ฆ่า
ทั้งแมลงที่โบยบินทั้งหญ้าคา      เกษตรกรหามาใช้ให้ได้ทัน
มองสายลมโบยโบกใบไม้ไหว     ล้วนเจือไว้อากาศเสียเชื้ิอร่วมขัน
ไอเสียรถปล่องควันร่วมด้วยกัน    ทุกวี่ว้นทุกเวลามาหายใจ
มองสายทางแหล่งดินถิ่นอาศัย    ทุกแห่งได้ล้อมรั้วกลัวของหาย
จะเดินผ่านดินใครไม่ได้เลย         เหมือนดั่งเคยโบราณมาพาเดินทาง
ทุกถิ่นที่คับแคบแนบประชิด         จากดวงจิตที่คับใจไม่เกื้อหมาง
เห็นแก่ได้ประโยชน์ไว้ใส่ตนพลาง  ทุกตารางแผ่นดินไม่สิ้นภัย
หันกลับมาตั้งหน้าหาทางรอด        หนทางปลอดความโลภมิสงสัย
เข้าสู่แนวพอเพียงพ่อสอนไว้         ทั่วถิ่นไทยสุขยั่งยืนคืนกลับมา


fwd จากคุณ
        นัน ภักดี


หัวข้อ: Re: พอเพียง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 23, 2011, 07:43:18 pm
(http://3.bp.blogspot.com/_qq-qCu6iNtE/TGp8iGEi2fI/AAAAAAAAAA8/Q0T_MDXfBFY/s1600/untitled20_________________%5B1%5D%5B1%5D.jpg)

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

     หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า”เศรษฐกิจพอเพียง”จากสื่อต่างๆมาพอสมควร โดยเฉพาะรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้น้อมนำเอาปรัชญานี้เข้าไปเป็นนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ หลายท่านอาจเข้าใจความหมาย แต่ก็มีหลายท่านเช่นกันที่ไม่เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อให้ทุกท่านมีความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

    จึงขอนำความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาให้ทุกท่านได้อ่าน ในครั้งที่ปรัชญานี้ได้ออกเผยแพร่ใหม่ๆ ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้พสกนิกรทุกท่านได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงทรงโปรดให้ข้าราชบริพารจัดทำความหมายโดยย่อ ไม่ให้เกินหน้ากระดาษขนาดA4เผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
 
       ต่อไปนี้เป็นความหมายโดยย่อของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์

       ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน

      ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ

     โดยมีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

     
___________________________________   
คัดลอกความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงมาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ขอบคุณภาพจาก http://3.bp.blogspot.com (http://3.bp.blogspot.com)