หัวข้อ: ที่มาของคำว่า "กิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 20, 2010, 08:55:41 pm ขอทราบการนับกิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ ถาม ขอให้นับกิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ ให้ทราบด้วย ตอบ ก่อนอื่นขอพูดถึงกิเลส ๑๐ ก่อนว่ามีอะไรบ้าง กิเลส ๑๐ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะและถีนะ ในปรมัตถธรรมทั้ง ๔ เว้นนิพพาน คงนับจิตทั้งหมดเป็น ๑ เจตสิก ๕๒ นับทั้ง ๕๒ รูป ๒๘ นับเพียง ๒๒ รูป คือ นิปผันนรูป ๑๘ กับลักษณะรูป ๔ รวมนับจิต ๑ รวมกับเจตสิก ๕๒ รูป ๒๒ เป็น ๗๕ ส่วนกิเลส ๑๐ นั้นมีทั้งที่เกิดขึ้นในสันดานของตนเองและในสันดานของคนอื่น กิเลส ๑๐ คูณด้วย สภาวะธรรม ๗๕ เป็น ๗๕๐ เกิดขึ้นในสันดานของตนเอง ๗๕๐ เกิดขึ้นในสันดาน ของคนอื่นอีก ๗๕๐ จึงรวมเป็นกิเลส ๑๕๐๐ ขออธิบายเพิ่มเติมว่า กิเลส ๑๐ ยึดถือสภาวะธรรม ๗๕ นี้เป็นอารมณ์ กิเลส ๑๐ คูณด้วย อารมณ์ ๗๕ เป็น ๗๕๐ คูณด้วยภายในภายนอก ๒ จึงเป็น ๑๕๐๐ คราวนี้เป็นการนับตัณหา ๑๐๘ ตัณหานั้นท่านจัดไว้ตามธรรมดาเป็น ๓ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหา ๓ นี้ เกิดขึ้นเพราะ อาศัยอารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ๓ คูณด้วย ๖ จึงเป็น ๑๘ ตัณหา ๑๘ นี้เกิดขึ้นได้ในกาล ๓ คือ อดีต ๑๘ ปัจจุบัน ๑๘ รวมเป็น ๕๔ ตัณหา ๕๔ นี้เกิดขึ้นภายในตน ๑ ภายนอกตน ๑ จึงเป็นตัณหาภายใน ๕๔ ภายนอก ๕๔ ๕๔ รวมกับ ๕๔ เป็นตัณหา ๑๐๘ สรุปว่าตัณหา ๓ คูณด้วยอารมณ์ ๖ คูณด้วยกาล ๓ เป็น ๕๔ คูณด้วยภายใน ภายนอก ๒ จึงเป็น ๑๐๘ ________________________________________ ที่มา หนังสือ นานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม อ้างอิง และแนะนำ :- พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คำว่า กิเลส 1500 http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text= (http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=)กิเลส_1500 คำว่า ตัณหา 108 http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text= (http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=)ตัณหา_108 หัวข้อ: Re: ที่มาของคำว่า "กิเลส ๑๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘" เริ่มหัวข้อโดย: kittisak ที่ เมษายน 23, 2010, 05:23:55 am คุณปุ้ม วันนี้มาแนว พระอภิธรรมนะครับ วันนี้
:25: |