หัวข้อ: ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ธรรมเหล่าอื่นจะไม่เกิด เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 05, 2011, 06:08:22 am (http://home.swipnet.se/gostaratna/Buddha7.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต สติวรรคที่ ๔ สติสูตร ตรัสว่า ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็ทำให้ไม่มีธรรมะอื่น ๆ อีก ๗ ข้อโดยลำดับ คือ - ความละอาย ความเกรงกลัวต่อบาป, - การสำรวมอินทรีย์ ศีล, - สัมมาสมาธิ ( ความตั้งใจมั่นชอบ ). - ยถาภูตญาณทัสสนะ ( ความรู้ด้วยญาณ ตามเป็นจริง ), - นิพพิทา ( ความเบื่อหน่าย ), - วิราคะ ( ความคลายกำหนัด ), - วิมุตติญาณทัสสนะ ( ความเห็นด้วยญาณถึงความหลุดพ้น ). อ้างอิง http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/15.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/15.html) http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/15.2.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/15.2.html) ขอบคุณภาพ http://home.swipnet.se (http://home.swipnet.se) (http://www.matichon.co.th/online/2010/11/12891017241289102972l.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต สติวรรคที่ ๔ สติสูตร [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสติสัมปชัญญะไม่มี หิริและโอตตัปปะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีสติและสัมปชัญญะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี อินทรียสังวรชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่ออินทรียสังวรไม่มี ศีลชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีอินทรียสังวรวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อศีลไม่มี สัมมาสมาธิชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีศีลวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทาวิราคะชื่อว่า มีเหตุอันบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เมื่อนิพพิทาวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะ ชื่อว่ามี เหตุอันบุคคลผู้มีนิพพิทาวิราคะวิบัติกำจัดเสียแล้ว เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือกแม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมไม่บริบูรณ์ ฉะนั้น ฯลฯ อ้างอิง เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๗๑๔๓ - ๗๑๖๘. หน้าที่ ๓๐๙ - ๓๑๐. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7143&Z=7168&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=7143&Z=7168&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=187 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=187) ขอบคุณภาพจาก www.matichon.co.th (http://www.matichon.co.th) |