หัวข้อ: การไปเผาศพได้อานิสงส์อะไร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 20, 2010, 08:59:25 pm การไปเผาศพได้อานิสงส์อะไร ถาม ช่วยเล่าอานิสงส์ของการไปเผาศพให้ทราบด้วยว่า ได้บุญอย่างไร ตอบ สำหรับเรื่องไปเผาศพนี้ ถ้าจะพิจารณาดูแล้วก็คิดว่าคงจะได้อานิสงส์ ๔ ประการคือ ๑. ได้บำเพ็ญญาติธรรมหรือมิตรธรรม คือแสดงน้ำใจของญาติของมิตรต่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือต่อบุตรภรรยาสามีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ๒. ได้เจริญสังเวคธรรม คือธรรมที่ให้เกิดความสลดสังเวชว่า แม้เราเองก็ต้องเป็นอย่างนี้ คือต้องตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ ไม่มีใครหลีกหนีความตายไปได้พ้น เพราะฉะนั้น เมื่อมีชีวิตอยู่จึงควรทำแต่ความดี ตายแล้วก็ยังมีคนชื่นชมยกย่อง ไม่ใช่ตายแล้วมีแต่คนสาบแช่ง สมน้ำหน้าว่า คนอย่างนี้ตายเสียได้ก็ดี แผ่นดินเบาไปแยะเป็นต้น ๓. เป็นการเจริญอนิจจสัญญา คือเห็นความจริงของสังขารรูปนาม อันประกอบไปด้วยกายและใจนี้ว่าไม่เที่ยง เกิดแล้วก็ต้องดับ มีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา ไม่ยั่งยืนคงทน ๔. สำหรับในสถานที่ที่เผาศพกันกลางแจ้ง ก็อาจเจริญอสุภสัญญา คือความเห็นว่าร่างกายนี้ไม่งามได้ด้วย อย่างในประเทศอินเดียเขาเผาศพกันกลางแจ้ง ริมฝั่งแม่น้ำที่เขาเชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ มีแม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น ซึ่งผู้ที่เข้าใจสามารถเจริญอสุภสัญญาได้เสมอ ________________________________________ ที่มา หนังสือนานาปัญหา โดย คณะสหายธรรม อ้างอิง และแนะนำ :- พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต ติโรกุฑฑกัณฑ์ในขุททกปาฐะ http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=25&A=155&Z=194 (http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=25&A=155&Z=194) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต สัญญาสูตรที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=1076&Z=1220 (http://84000.org/tipitaka/book/v.php?B=23&A=1076&Z=1220) พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คำว่า สังเวค http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text= (http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=)สังเวค พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) คำว่า กถาวัตถุ 10 http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text= (http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=)กถาวัตถุ_10&detail=on คำว่า สัญญา 10 http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text= (http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=)สัญญา_10&detail=on หัวข้อ: ที่อินเดีย เขาเผาศพกันอย่างนี้ คะ เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ กรกฎาคม 04, 2010, 03:08:22 am (http://img155.imageshack.us/img155/8219/26zdd634.jpg)
(http://img156.imageshack.us/img156/3577/26nmp530.jpg) ศพไหม้ ไม่หมด ก็เขี่ยลงแม่น้ำเลยคะ ดังนั้นการที่เห็นศพลอย น้ำในประเทศอินเดีย นั้นชาวบ้านเขามองเห็นแล้วเป็นเรื่องปกติคะ ไม่มีการเก็บศพอย่างบ้านเราคะ (http://www.yutt.com/blog/media/blogs/2007/20070407-maeklong-06.jpg) เมรุวัดบางหญ้าแพรก คะ (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/671/3671/images/Tumda2.jpg) ที่บ้านเรา ลูกหลานเอาใจใส่ ดีคะ หัวข้อ: Re: การไปเผาศพได้อานิสงส์อะไร เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ กรกฎาคม 04, 2010, 03:11:00 am เปลวเทียน ละลายแท่ง
เพื่อเปล่งแสง อันอำไพ ชีวิต มลายไป เหลือ สิ่งใด ทิ้งไว้แทน หัวข้อ: ไปงานศพก็ ได้คติธรรมคะ เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ กรกฎาคม 05, 2010, 04:46:43 am ว่าถึงประโยชน์ของการมางานศพและประโยชน์ของความตาย อันความตายหากค้นให้พบหาให้เจอ จะพบว่าในความตายนั้นมีสาระแก่นสารที่น่าศึกษามากมายหลายสถาน แต่เพื่อให้เหมาะสมแก่เวลาจักนำมากล่าวโดยย่อๆ สัก 3 ประการ คือ…
1. ทำให้เห็นความดีของผู้ตายเด่นชัดขึ้น ข้อนี้อุปมาเหมือนต้นไม้ใหญ่ ที่เคยให้ร่มเงาและที่อยู่อาศัยแก่หมู่ วิหก นกกา ตลอดถึงมนุษย์ เมื่อธรรมชาตินั้นยังอยู่ก็มิสู้ได้คำนึงถึงคุณค่า ต่อเมื่อใดถูกพายุพัดโค่นหรือถูกตัดไปเสียแล้ว ยามนั้นคุณค่าของโพธิ์ไทรจะผุดงอกในความรู้สึกมากกว่าปกติ อีกอย่างหนึ่ง คล้ายเวลาหิวกระหายใคร่จะดื่มน้ำ มีภาชนะเช่นแก้วหรือขันใส่ให้ดื่ม จะทานอาหารมีช้อนมีจานใส่ให้บริโภค ยามที่แก้ว, ขัน, ช้อน, จานยังอยู่ ก็มิสู้จะเห็นความสำคัญนัก ปล่อยเกะกะทิ้งขว้าง ต่อเมื่อใดจะทานอาหาร ช้อนจานไม่มี จะดื่มน้ำแก้วก็แตก ขันก็หาย นั่นแหละคุณค่าของสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะผุดงอกในจิตสำนึกมากกว่าเดิม แม้ชีวิตคนก็เช่นเดียวกัน รวมความว่า อะไรก็ตามที่พลัดพรากจากไปแล้ว มิสามารถนำกลับคืนมาได้ สิ่งนั้นล้วนมีคุณค่าเป็นทวีคูณ 2. ทำให้ญาติมิตรพี่น้องปรองดองสามัคคีกันกว่าแต่ก่อน ก็ด้วยอำนาจความรัก ความอาลัย ความเห็นใจ ในโอกาสที่แต่ละฝ่ายต่างประสบพบกับความสูญเสีย 3. ก่อให้เกิดอัปมาทธรรม ความไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต ก็เพราะความตายจะช่วยกระตุ้นความรู้ให้เกิดมุมมองสอดส่องชีวิต จนเกิดปัญญาหรือแววจิตคิดเห็นความไม่เที่ยงแท้แปรเปลี่ยนของชีวิต เกิดการยอมรับในกฎแห่งธรรมชาติ และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะต้องประสบคือมัจจุราช หรือความตายฯ ระลึกถึงความตายสบายนัก มักหักรักหักหลงในสงสาร บรรเทามืดโมหันอันธกาล ทำให้หาญหายสะดุ้งไม่ยุ่งใจ |