สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 17, 2011, 02:03:44 pm



หัวข้อ: นิพพานัง ปรมัง สุขัง, นิพพานัง ปรมัง สุญญัง, นิพพานะ ปัจจโย โหตุ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 17, 2011, 02:03:44 pm
(http://board.yimwhan.com/data_user/sangthipnipparn/photo/cate_1/r236_4.jpg)

"นิพพาน" โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

นิพพาน - คำว่า นิพพาน นี้ เขาแปลว่า ดับ ท่านจัดให้เป็นหลายประเภทด้วยกัน คือ

1.ดับกิเลส-มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังไม่ตาย แต่จิตเป็นนิพพาน

2.ดับกิเลส-โดยไม่มีเบญจขันธ์เหลือบ้าง เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ตายแล้วจิตเป็นสุข อยู่แดนทิพย์อมตะนิพพาน

แต่ว่าในวันนี้จะขอพูดถึง นิพพานมาตรฐาน ที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้

องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า......

"นิพพานัง ปรมัง สุขัง" - แปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง แต่ทว่าเรื่องพระนิพพานนี้ มีความเข้าใจเฝือของบรรดาท่านพุทธบริษัทอยู่มาก ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้จุดหนึ่งว่า

"นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" - ซึ่งแปลเป็นใจความว่า นิพพานเป็นธรรมว่างจากความทุกข์ ว่างจากกิเลส โลภ โกรธ หลง ว่างจากขันธ์ 5 ว่างจากดิน น้ำ ลม ไฟ ว่างอย่างยิ่ง

คำว่า "สุญ" ในที่นี้ ส่วนที่แปลศัพท์โดยมากมักจะทับศัพท์ ใช้คำว่า"สูญ"

แต่คำว่า"สุญ" นั้น เขาแปลว่า "ว่าง" ก็หมายความว่า "บุคคลใดที่จะเข้าถึงนิพพานได้ ต้องว่างด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1.ว่างจากโลภะ-คือ ไม่มีความโลภในจิตใจ

2.ว่างจากโทสะ-คือ ไม่มีความหงุดหงิด โกรธง่ายในใจ

3.ว่างจากโมหะ-คือ ไม่มีความหลงในโลกทั้งสามในจิตใจ

เพราะว่าโลภะก็ดี โทสะก็ดี โมหะก็ดี ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นรากเหง้าของความชั่ว ที่เรียกว่า รากเหง้าของกิเลส กิเลส ก็คือความชั่ว ความมัวหมองของจิต ที่เรียกว่า จิตคิดชั่ว กิเลสทั้งหมดที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตตรัสแล้ว โดยชื่อแล้วนับปริมาณไม่ได้

แต่องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ตรัสว่า กิเลสทั้งหมดถ้ากล่าวโดยย่อแล้ว ก็เหลือ 3 ประการ คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

ฉะนั้น สมเด็จพระพุทธองค์จึงตรัสว่า ถ้าจิตของบุคคลใดว่างจากกิเลสทั้ง 3 ประการ คือ

โลภะ-ความโลภไม่มีในจิต

โทสะ-ความโกรธไม่มีในจิต

โมหะ-ความหลงไม่มีในจิต

อย่างนี้ สมเด็จพระธรรมสามิสรตรัสว่า เป็นผู้มีความว่างจากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง"......




(http://www.buddhapoem.com/images/wbques_1266202091/__NiravanPaintSc88k.jpg)

นิพพานอยู่ที่ไหน?
โดย พุทโธ-ธัมโม-สังโฆ


นิพพานอยู่ที่ความบริสุทธิ์ของจิต เมื่อไรที่จิตเข้าถึงความบริสุทธิ์ คือ จิตดับจากความชั่ว ความสกปรกของจิตที่มีกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทาน หลงในตัวเรา ตัวเขา ขังอยู่ สลัดตัดความชั่วที่ขังอยู่ในจิตในใจทิ้งไปเสีย ความชั่วทุกอย่างหมดไปจากจิตจากใจเมื่อไร เมื่อนั้นจิตก็เข้าถึงพระนิพพานทันที !!!

กิเลสตัวใหญ่ 3 ประการนี้  เป็นสาเหตุให้จิตไม่สะอาด ไม่สามารถเข้าใจพระนิพพานได้ จึงเป็นเหตุให้มีแต่ความทุกข์ยากลำบากกายใจ "พระนิพพาน ปรมัง สุญญัง" จึงแปลว่า พระนิพพาน คือ จิตที่ว่างจากกิเลส โลภ โกรธ หลง สุญญัง-ในที่นี้ คือ หมดสิ้นจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน โลภ โกรธ หลง สูญจากการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง

เมื่อเหตุทั้ง 3 ประการ นี้ว่างไปจากใจ ความสบายใจก็ปรากฏ ความผ่องใสของใจก็ปรากฏ เมื่อความสบายใจ ความผ่องใสปรากฏ องค์สมเด็จพระบรมสุคต จึงตรัสว่า

"นิพพานัง ปรมัง สุขัง" - การเข้าถึงพระนิพพาน ชื่อว่าเป็นความสุขอย่างยิ่ง !!!

ทีนี้ ถ้าจะถามกันว่า นิพพานมีสภาวะ หรือไม่มีสภาวะ? ตอนนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยตรัสกับบรรดาพระที่เข้าไปถามองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างพระโมฆราช เป็นต้น พระโมฆราช เคยถามพระพุทธเจ้าว่า

"ภันเต ภควา - ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญพระพุทธเจ้าข้า คนที่ถึงพระนิพพานนี้แล้ว ชื่อว่ามีสภาพสูญใช่ไหม? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ คำว่าพระนิพพานนี้ ไม่มีนิมิต ไม่มีเครื่องหมาย ไม่มีที่อยู่อย่างนั้นใช่ไหม พระเจ้าข้า?"

สมเด็จพระบรมศาสดาจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า

"ดูก่อน โมฆราช คำว่า นิพพานนี้ เป็นสถานที่พิเศษ คือ ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีแก่อีก ไม่มีเจ็บอีก ไม่มีตายอีก ไม่ใช่สภาพสูญ" มีความสุขอย่างยิ่ง เป็นอิสระจากกฎของกรรม อิสระจากการเวียนว่ายตายเกิด

เดิมทีเดียว พระโมฆราชมีความคิดเห็นแล้ว เปรียบเทียบว่า นิพพานเหมือนกับควันไฟที่ลอยขึ้นไปในอากาศแล้วใช่ไหม?

พระจอมไตร ก็ตอบว่า ไม่ใช่.......


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=buddhapoemcom&thispage=6&No=464354 (http://www.buddhapoem.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=buddhapoemcom&thispage=6&No=464354)
http://board.yimwhan.com (http://board.yimwhan.com)
http://www.buddhapoem.com (http://www.buddhapoem.com)


หัวข้อ: Re: นิพพานัง ปรมัง สุขัง, นิพพานัง ปรมัง สุญญัง, นิพพานะ ปัจจโย โหตุ
เริ่มหัวข้อโดย: waterman ที่ ตุลาคม 18, 2011, 10:02:42 am
เรียน คุณ Natthaponson รบกวน

 ช่วยแสดงที่อ้างอิง พระสูตร ช่วงนี้ด้วยครับ

 สมเด็จพระบรมศาสดาจึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า

อ้างถึง
"ดูก่อน โมฆราช คำว่า นิพพาน นี้ เป็นสถานที่พิเศษ คือ ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีแก่อีก ไม่มีเจ็บอีก ไม่มีตายอีก ไม่ใช่สภาพสูญ" มีความสุขอย่างยิ่ง เป็นอิสระจากกฎของกรรม อิสระจากการเวียนว่ายตายเกิด

เดิมทีเดียว พระโมฆราชมีความคิดเห็นแล้ว เปรียบเทียบว่า นิพพานเหมือนกับควันไฟที่ลอยขึ้นไปในอากาศแล้วใช่ไหม?

พระจอมไตร ก็ตอบว่า ไม่ใช่.....

 เพื่อให้ชัดเจน โดยอรรถ บาลี นิยมด้วยครับ คือ ต้องการปรับทิฏฐิให้เกิดความเข้าใจถูกต้องครับ

  :c017:


หัวข้อ: Re: นิพพานัง ปรมัง สุขัง, นิพพานัง ปรมัง สุญญัง, นิพพานะ ปัจจโย โหตุ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 18, 2011, 02:32:00 pm
 ผมได้พยายามค้นหาแล้ว(หาล่วงหน้าไว้ก่อน) เท่าที่หาได้ยังไม่พอใจ
 ถ้าผมแปลภาษาบาลี ผมคงทำไปแล้ว ถ้าใครแปลได้ ลองแปลดูนะครับ
เอาเป็นว่า ถ้าเนื่องด้วยพระโมฆราช ผมแนะนำลิงค์นี้ครับ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๑๑๓๘๘ - ๑๑๔๐๔.  หน้าที่  ๔๙๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=11388&Z=11404&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=11388&Z=11404&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=439 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=439)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  บรรทัดที่ ๙๙๗๓ - ๑๐๑๓๖.  หน้าที่  ๔๑๙ - ๔๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=9973&Z=10136&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=9973&Z=10136&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=788 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=788)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐  บรรทัดที่ ๔๕๒๐ - ๔๙๓๕.  หน้าที่  ๑๘๔ - ๒๐๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=4520&Z=4935&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=30&A=4520&Z=4935&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=490 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=30&i=490)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุปกรณ์
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗  บรรทัดที่ ๒๐๒๗ - ๒๒๐๕.  หน้าที่  ๘๗ - ๙๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=2027&Z=2205&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=2027&Z=2205&pagebreak=0)

มีอีกลิงค์ที่กล่าวถึงความหมายนิพพานเอาไว้ โดยอ้างข้อธรรมพระไตรปิฎกเล่มต่างๆเอาไว้อย่างน่าสนใจ
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/85801 (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/85801)

 ขอให้สนุกกับการอ่าน นะครับ :25:



  คุณwaterman ชอบเรื่องนิพพาน ผมจะแนบไฟล์ข้อมูลเกี่ยวกับนิพพาน มาให้อ่าน
  รับรองครับ อ่านไม่จบแน่ มีหลากหลายข้อมูลที่น่าสนใจ(เยอะมาก)