สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 22, 2011, 11:33:35 am



หัวข้อ: สูรยคราส สุริยุปราคา สมัยพุทธกาล
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 22, 2011, 11:33:35 am

(http://hilight.kapook.com/img_cms/other/n4_4.jpg)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

สุริยสูตรที่ ๑๐

              [๒๔๖] ก็โดยสมัยนั้น สุริยเทวบุตร ถูกอสุรินทราหูเข้าจับแล้ว ครั้งนั้น สุริยเทวบุตร ระลึกถึงพระผู้มีพระภาค ได้กล่าวคาถานี้ในเวลานั้นว่า
             ข้าแต่พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้า ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระองค์ พระองค์เป็นผู้หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ข้าพระองค์ถึงเฉพาะแล้วซึ่งฐานะอันคับขัน ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งแห่งข้าพระองค์นั้น ฯ

             [๒๔๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงปรารภสุริยเทวบุตรได้ตรัสกะอสุรินทราหูด้วยพระคาถาว่า
             สุริยเทวบุตร ถึงตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ ว่าเป็นที่พึง
             ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้อนุเคราะห์แก่โลก สุริยะใดเป็นผู้ส่องแสง กระทำความสว่างในที่มืดมิด มีสัณฐานเป็นวงกลม มีเดชสูง
             ดูกรราหู ท่านอย่ากลืนกินสุริยะนั้น ผู้เที่ยวไปในอากาศ
             ดูกรราหู ท่านจงปล่อยสุริยะ ผู้เป็นบุตรของเรา ฯ

             [๒๔๘] ลำดับนั้น อสุรินทราหู ปล่อยสุริยเทวบุตรแล้ว มีรูปอันกระหืดกระหอบ เข้าไปหาอสุรินทเวปจิตติถึงที่อยู่ ครั้นแล้วก็เป็นผู้เศร้าสลด เกิดขนพอง ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ

             [๒๔๙] อสุรินทเวปจิตติ ได้กล่าวกะอสุรินทราหู ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ด้วยคาถาว่า
             ดูกรราหู ทำไมหนอ ท่านจึงกระหืดกระหอบ ปล่อยพระสุริยะเสีย ทำไมหนอ ท่านจึงมีรูปเศร้าสลด มายืนกลัวอยู่ ฯ

             [๒๕๐] อสุรินทราหู กล่าวว่า
             ข้าพเจ้าถูกขับด้วยคาถาของพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพเจ้าไม่พึงปล่อยพระสุริยะ ศีรษะของข้าพเจ้าพึงแตกเจ็ดเสี่ยง มีชีวิตอยู่ ก็ไม่พึงได้รับความสุข ฯ


(http://hilight.kapook.com/img_cms/other/nn3_1.jpg)

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๑๕๗๗ - ๑๖๐๙. หน้าที่ ๗๒ - ๗๓. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1577&Z=1609&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=1577&Z=1609&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=246 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=246)
ขอบคุณภาพจาก http://hilight.kapook.com (http://hilight.kapook.com),