หัวข้อ: "กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์ (เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก) บรรเทาใจกันหน่อยคะ เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ ตุลาคม 28, 2011, 09:50:15 am "กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์ (เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก)
ที่เรียกกู่เจิงว่า "พิณสวรรค์" นั้น เพราะตามตำนานของจีนกล่าวไว้ว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้เทพยดาเป็นผู้สร้าง เดิมเป็นพิณขนาดใหญ่มีสาย 50 สาย เรียกว่า เส็ก มีเสียงไพเราะน่าฟังดุจเสียงจากสวรรค์ (เรื่องพิณ 50 สาย นี้มีข้อน่าสังเกตคือทางอินเดียก็มีเรื่องตำนานที่กล่าวถึง พิณ 50 สายของเทพเจ้าอยู่เหมือนกัน เข้าใจว่าคตินี้จีนอาจได้รับมาจากอินเดียก็ได้) ตำนานเรื่องพิณสวรรค์ของเทพยดานั้น เป็นความเชื่อของกลุ่มบุคคลที่เน้นทางคตินิยม เพราะเห็นว่า กู่เจิงนี้ มีรูปร่างแปลกประหลาดพิสดารซับซ้อนและมีเสียงไพเราะน่าฟัง ไม่น่าจะเป็นการประดิษฐ์คิดค้น โดยมนุษย์ธรรมดาอีกทั้งยังมีมานานแสนนานแล้วด้วย กู่เจิงมีหลายขนาด ตั้งแต่ 12 สาย ไปจนถึง 26 สาย และมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันออกไป ตามรสนิยมของแต่ละท้องถิ่น ยาวบ้าง สั้นบ้าง กว้างบ้าง แคบบ้าง แล้วแต่จุดประสงค์และจินตนาการ ของช่างผู้ผลิตเครื่องดนตรี แต่สภาพโดยรวมแล้ว จะมีส่วนที่คล้ายกันคือตัวกู่เจิงมีลักษณะเป็นกล่องไม้ กลวงยาว ผิวด้านบนมีลักษณะโค้งมีหย่องไม้หนุนรองรับสายกู่เจิงไว้ทุกสาย ตรงส่วนปลายด้านขวามือ ของตัวกู่เจิงจะมีหมุดสำหรับปรับเทียบเสียงที่สามารถ หมุนไปมาได้ หมุดเหล่านี้บางแบบก็เป็นไม้ ใช้เสียบลงมาในแนวตั้งแต่ส่วนใหญ่จะซ่อนไว้ใน ส่วนหัวของกู่เจิงโดยมีฝาครอบปิดไว้เพื่อความสวยงาม สายของกู่เจิงนั้นในสมัยโบราณใช้สายไหมหรือสายเอ็นเป็นส่วนใหญ่ แต่มาในยุคหลังๆนิยมใช้สายโลหะ เช่นทองเหลือง ทองแดง หรือสายเหล็ก ปัจจุบันจะนิยมใช้สายโลหะที่ไม่ขึ้นสนิม หรือสายโลหะ ที่ขวั้นเกลียวด้วยไนลอนโดยรอบ เพราะมีน้ำหนักดีและไม่ระคายนิ้วมือเวลาที่ดีดบรรเลง ชาวจีนนั้นเป็นทั้งนักปรัชญาและนักประดิษฐ์ ดังนั้นช่างจีนจึงนิยมแฝงปรัชญาไว้ในสิ่งประดิษฐ์ ที่สร้างด้วยเสมอ การประดิษฐ์ตัวกู่เจิงนี้ก็เช่นกัน ช่างจีนโบราณเชื่อว่าเทพยดาเป็นต้นกำเนิด ในการประดิษฐ์กู่เจิง และเสียงของกู่เจิงเปรียบเหมือนเสียงดนตรีจากสรวงสวรรค์ จึงออกแบบกู่เจิง โดยแบ่งแผนภูมิของตัวกู่เจิงออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ส่วนที่เป็นสวรรค์ 2) ส่วนที่เป็นภูมิมนุษย์ 3) ส่วนที่เป็นวังบาดาล ส่วนที่เป็นแดนสวรรค์นั้นก็คือแนวสายกู่เจิงที่เรียงรายอยู่ด้านบน เพราะเป็นต้นกำเนิดเสียงดนตรีอันไพเราะดุจเสียงจากสวรรค์ ช่วงระหว่างสายกู่เจิง และผิวหน้าโค้งด้านบนเป็นความเวิ้งว้างของท้องฟ้า ส่วนหย่อง (Fret) ที่เรียงราย หนุนรองรับสายกู่เจิงนั้นมีความหมาย 2 นัยคือ หมายถึงขุนเขาบนพื้นโลกที่สูงตระหง่าน หนุนค้ำสวรรค์ไว้ หรือ หมายถึง ฝูงวิหค เช่น ห่านป่า นกเป็ดน้ำ หรือ นกกระเรียน ที่บินเรียงแถวเป็นแนวทะแยงอยู่บนท้องฟ้า ส่วนบริเวณผิวด้านบนที่มีลักษณะโค้งแผ่กว้างนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทร ตัวกู่เจิงโดยรอบเปรียบเหมือนแผ่นดิน จึงนิยมวาดรูปป่าเขาลำเนาไพร หรือฝูงสัตว์เอาไว้โดยรอบ ส่วนที่เป็นวังบาดาลนั้นคือผิวพื้นด้านล่างซึ่งกรุเป็นช่องไว้ 2 ช่องใหญ่ๆ หมายถึง สระหงส์ และ วังมังกร สระ หงส์-มังกร นี้อาจมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างกันออกไปบ้าง เพราะจุดประสงค์ที่แท้จริงก็คือ ทำเป็นช่องไว้ให้เสียงกู่เจิงก้องกังวานออก มาดีขึ้นนั่นเอง รวมความแล้วส่วนต่างๆของกู่เจิงนั้น ล้วนมีความหมายในเชิงปรัชญาและมีคุณ ประโยชน์ในการบรรเลงทั้งสิ้น ด้วยเหตุผลตามที่กล่าวมาเป็นการยืนยันและแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานแนวคิด ในด้านปรัชญาเข้ากับสิ่งประดิษฐ์ของช่างจีนดังที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในตอนต้น ชาวจีนถือว่าโลกนั้นประกอบไปด้วยธาตุที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน 5 ชนิด คือ 1) ธาตุดิน เป็นธาตุที่หนักแน่นมั่นคง เป็นแม่ธาตุของสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นผู้ให้กำเนิดสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกรวมทั้งสัตว์และมนุษย์ ธาตุดินยังหมายรวมไปถึงหินทุกชนิดด้วยดังนั้นธาตุดินจึงเป็นแหล่งกำเนิดของ สิ่งที่มีรูปธรรม ในขณะที่ฟ้ากลับว่างเปล่าไร้รูปธรรม 2) ธาตุทอง เป็นธาตุที่มีประกายสดใสแวววาว และ มีคุณค่า เมื่อโลกก่อกำเนิดใหม่ๆนั้นนอกจากดินและหินแล้วยังมีแร่ธาตุโลหะอีกมากมาย หลายร้อยหลายพันชนิดปะปนอยู่ในดินด้วย แร่โลหะเหล่านี้มีคุณสมบัติแตกต่างจากดินและหิน จึงถือว่าเป็นธาตุอีกชนิด หนึ่งและเนื่องจากทองคำเป็นโลหะที่ได้รับการยกย่องทั่วไปว่าเป็นธาตุที่มีคุณค่า เหนือกว่าธาตุโลหะอื่นจึงเรียกธาตุที่สองนี้ว่าธาตุทอง 3) ธาตุน้ำ เป็นธาตุที่เยือกเย็น และมีความเลื่อนไหลพริ้วพรายไร้รูปทรงที่แน่นอน เมื่อโลกมีพื้นดินและมีแร่ธาตุโลหะอุดมสมบูรณ์แล้วจึงบังเกิดธาตุน้ำขึ้น หล่อเลี้ยงพื้นดินให้ชุ่มฉ่ำ ถือกำเนิดแม่น้ำลำคลองรวมทั้งทะเลและมหาสมุทร อันจะเป็นแหล่งที่ให้กำเนิดชีวิตต่อไป 4) ธาตุไฟ (พลังงาน) เป็นธาตุที่ร้อนแรง เจิดจ้า และไหวระริกอยู่เป็นนิจ เมื่อมีดิน มีแร่ธาตุ มี น้ำแล้ว ได้บังเกิดธาตุไฟคือพลังงานขึ้น ธาตุไฟเป็นธาตุร้อนซึ่งเปล่งประกายเจิดจ้า เปลวไฟ มักสั่นไหวและบันดาลให้เกิดแสงสว่าง นอกจากนั้นยังเป็นธาตุสำคัญที่กระตุ้นให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตด้วย 5) ธาตุไม้ ธาตุไม้นั้นเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งมีชีวิตทั้งมวล เมื่อมีดิน แร่ธาตุ น้ำ และไฟ ครบแล้ว สิ่งมีชีวิตจึงก่อกำเนิดขึ้นมาได้ ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนั้นย่อมสามารถเคลื่อนไหวได้ ธาตุไม้จึงเป็น ธาตุแห่งการเคลื่อนไหวมีชีวิตชีวา และ ร่าเริง ลองเอา พิณบรรเลง (กู่เจิง) ไปฟังดูนะค่ะ http://www.youtube.com/watch?v=AV2bFIHQYq4#ws (http://www.youtube.com/watch?v=AV2bFIHQYq4#ws) หัวข้อ: Re: "กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์ (เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก) บรรเทาใจกันหน่อยคะ เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ ตุลาคม 28, 2011, 09:51:50 am รบกวน น้าธรรมธวัช แต่ง โคลง หรือ กลอน ให้ด้วยคะ
:25: :c017: หัวข้อ: Re: "กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์ (เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก) บรรเทาใจกันหน่อยคะ เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ ตุลาคม 28, 2011, 09:57:10 am http://www.youtube.com/watch?v=8b6x9v05JjQ# (http://www.youtube.com/watch?v=8b6x9v05JjQ#)
หัวข้อ: Re: "กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์ (เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก) บรรเทาใจกันหน่อยคะ เริ่มหัวข้อโดย: หมิว ที่ ตุลาคม 28, 2011, 10:24:44 am http://www.youtube.com/watch?v=jDj1dvXkUGk#ws (http://www.youtube.com/watch?v=jDj1dvXkUGk#ws)
อยากให้ท่านได้ฟังกันสบาย ใจ กันบ้างคะ หัวข้อ: Re: "กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์ (เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก) บรรเทาใจกันหน่อยคะ เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ ตุลาคม 28, 2011, 10:39:41 pm http://www.youtube.com/watch?v=8vmxqTg825I#ws (http://www.youtube.com/watch?v=8vmxqTg825I#ws)
เพลงพิณพ่ายพร่ำ เพลงพิณสวรรค์กู่เจิ้ง ลำนำ ซ่อนพร่ำนัยเกินคำ สู่ซึ้ง ใสเสียงเสียดคนทำ ไฉนเชื่อ คนเทพเสพสดับอึ้ง พ่ายเศร้ายลพิณ. ธรรมธวัช.! (http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=299515&stc=1&d=1206671722) หัวข้อ: Re: "กู่เจิง" พิณจากแดนสวรรค์ (เรียบเรียงโดย ชนก สาคริก) บรรเทาใจกันหน่อยคะ เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ ตุลาคม 29, 2011, 12:02:44 am http://www.youtube.com/watch?v=mG0Xoe-kg5k# (http://www.youtube.com/watch?v=mG0Xoe-kg5k#)
เพลงพิณพยุงพ่าย ใสเสียงซึ้งพิณ ยลยินนั้นคลาย พ่ายเศร้ากลับกลาย ละอายลืมตน หมื่นหม่นคนเหงา นั่งเศร้าเกลื่อนกล่น ทุกข์ท่วมเอ่อล้น สิ้นหนฤาไร. ธรรมธวัช.! |