หัวข้อ: ปรารภความเพียร คือ อะไร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 01, 2011, 02:18:17 pm พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [๑. มูลปริยายวรรค] ๔. ภยเภรวสูตร {๔๑} [๔๕] พราหมณ์ เรานั้นได้มีความดำริว่า ‘สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น ย่อมประสบความกลัว และความขลาดอันเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งโทษของตนคือความเป็นผู้เกียจคร้าน ปราศจากความเพียร ส่วนเรามิใช่เป็นผู้เกียจคร้าน มิใช่ปราศจากความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ ป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้ปรารภความเพียร(๑) พระอริยะเหล่าใดเป็นผู้ปรารภความเพียร เข้าอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัดคือป่าโปร่งและป่าทึบ เราเป็นผู้หนึ่งในบรรดาพระอริยะเหล่านั้น’ เชิงอรรถ (๑) ปรารภความพียร ในที่นี้หมายถึง มีความเพียรที่บริบูรณ์ และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก คำว่า ความเพียร ในที่นี้หมายเอาทั้ง ความเพียรทางกาย เช่น เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน ดุจในประโยคว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน” (อภิ.วิ.(แปล)๓๕/๕๑๙/๓๙๑) และ ความเพียรทางจิต เช่น เพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่ เป็นต้น ดุจในประโยคว่า “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”(องฺ.เอกก.อ. ๑/๑๘/๔๓) ที่มา โปรแกรมตรวจค้นพระไตรปิฎก (E-tipitaka 2.1) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ สุตตันตภาชนีย์ มาติกานิเทศ [๖๐๙] ก็ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยามเป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ ชำระจิตให้หมดจด จากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวัน ชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยาสน์ โดยนอนตะแคงขวา วางเท้าซ้อนกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำสัญญาในการลุกขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้นชำระจิตให้หมดจดจากธรรมที่กั้นกางจิตไม่ให้บรรลุความดี ด้วยการเดินจงกรมด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรตลอดปฐมยามและปัจฉิมยาม ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7871&Z=8548 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7871&Z=8548) หัวข้อ: Re: ปรารภความเพียร คือ อะไร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 02, 2011, 06:05:12 am (http://www.dmc.tv/images/dhamma_for_people/mahajanaka/13/mahajanaka13-05.jpg) ๒๓. วิริยวรรค คือ หมวดเพียร ๔๑๑. กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ คนขยัน ย่อมไม่พร่าประโยชน์ซึ่งถึงตามกาล. ขุ. ชา. ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕. ๔๑๒. วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ. คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑. ๔๑๓. ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ. คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้. สํ. ส. ๑๕/๓๑๖. ขุ. สุ. ๒๕/๓๖๑. ๔๑๔. อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ. คนไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๑. ๔๑๕. น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ. ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย. ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓. ๔๑๖. อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ. ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย. ขุ. ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓. (http://www.chaoprayanews.com/wp-content/uploads/2009/03/e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b8abe0b8b2e0b88ae0b899e0b881.jpg) ๔๑๗. อถ ปจฺฉา กุรุเต โยคํ กิจฺเจ อาวาสุ สีทติ. ถ้าทำความเพียรในกิจการล้าหลัง จะจมอยู่ในวิบัติ. ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๓๔. ๔๑๘. หิยฺโยติ หิยฺยติ โปโส ปเรติ ปริหายติ. คนที่ผัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม. ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๖๖. ๔๑๙. อชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ. ควรรีบทำความเพียรในวันนี้. ม. อุป. ๑๔/๓๔๘. ขุ. ชา. มหา. ๒๘/๑๖๕. ๔๒๐. วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา. บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์. สํ. ส. ๑๕/๓๓๐. ๔๒๑. กเรยฺย โยคฺคํ ธุวมปฺปมตฺโต. ผู้ไม่ประมาท ควรทำความเพียรให้แน่วแน่. นัย-ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๗๘. ๔๒๒. ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺย. พึงได้ประโยชน์ในที่ใด ด้วยประการใดๆ ควรบากบั่นในที่นั้น ด้วยประการนั้น ๆ. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๐. ขุ. ชา. ปญฺจก. ๒๗/๑๘๐. ที่มา http://dhammasound.multiply.com/journal/item/15 (http://dhammasound.multiply.com/journal/item/15) ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/,http://www.chaoprayanews.com/ (http://www.dmc.tv/,http://www.chaoprayanews.com/) หัวข้อ: ภัทเทกรัตตคาถา ว่าด้วยเรื่องความเพียร เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 02, 2011, 08:51:36 am ภัทเทกรัตตคาถา
อะตีตัง นานวาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตังฯ บุคคลไม่ควรตามคิดถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ด้วยอาลัย และไม่พึงพะวงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สิ่งที่เป็นอดีตก็ละไป สิ่งที่เป็นอนาคตก็ยังไม่มาฯ ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพรูหะเย ฯ ผู้ใดเห็นธรรมอันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าในที่นั้น ๆ อย่างแจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน เขาควรพอกพูนอาการเช่นนั้นไว้ ฯ อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา ฯ ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำวันนี้ ใครจะรู้ความตาย แม้พรุ่งนี้ เพระการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ้งมีเสนามาก ย่อมไม่มีสำหรับเรา ฯ เอวังวิหาริมาตาปิง อะโหรัตตังมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนิฯ มุนีผู้สงบ ย่อมกล่าวเรียก ผู้มีความเพียรอยู่เช่นนั้น ไม่เกียจคร้าน ทั้งกลางวัน กลางคืนว่า ผู้เป็นอยู่แม้เพียงราตรีเดียว ก็น่าชม ฯ เนื้อหาของความเพียร มิได้มีอยู่ในบุคคลที่ ไม่เคยเข้าใจหลักธรรม หรือ ปุถุุชนทั่วไป การทำความเพียร เป็นลำดับของ โคตรภูบุคคล โคตรภูบุคคล คือบุคคลที่เห็นความเบื่อหน่าย ในสังสารวัฏ มีวิปัสสนาญาณ ถึง ขั้น นิพพิทาญาณ ถึงจักมีความเพียรอย่างไม่เกียจคร้าน บุคคลเช่นนี้ เรียกว่า มุนี (ผู้สงบ ) โดยสภาวะ การทำความเพียรจึงเป็นเรื่องลำบาก ของปุถุชน ไม่มีกำลังใจ ทำไม่ได้แน่ ๆ เพราะผู้ที่ทำความเพียรเช่นนี้ ต้องภาระทางโลก เว้นความอาลัย และ ไม่พะวง สิ่งที่จะเกิดขึ้น มุ่งมั่นภาวนา เพียงเป้าหมายเดียว คือ การพ้นจากสังสารวัฏ Aeva Debug: 0.0005 seconds. |