สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: ลูกเณร-รัตน์ ที่ พฤศจิกายน 11, 2011, 08:32:47 am



หัวข้อ: พระสารีบุตร เข้าสู่ นิพพาน วันลอยกระทง
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกเณร-รัตน์ ที่ พฤศจิกายน 11, 2011, 08:32:47 am
โดยทั่วไป ผู้คนจะถือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันลอยกระทงตามประเพณีไทย
เป็นโอกาสในการสังสรรค์ด้วยความคึกคะนอง เสพความสนุกสนานในงานเทศกาล
อันเป็นที่มาแห่งราคะ และในปีนี้ ผู้คนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยคง
หม่นหมองกับสภาพแวดล้อมและความสูญเสียที่ได้รับ อันเป็นช่องให้โทสะครอบงำจิต

อันที่จริงแล้ว เหล่าพุทธศาสนิกชนควรยังใจให้แช่มชื่นด้วยกุศลในวันลอยกระทง
เพราะวันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นกัน
ในวันเดียวกันนี้เมื่อ ๒๕๕๕ ปีที่แล้ว ท่านพระสารีบุตรเดินทางจากวัดเชตวัน
เมืองสาวัตถี กลับมาถึงบ้านเกิดของตนในเมืองนาลันทาพอดี ได้แสดงธรรมโปรด
นางสารีพราหมณีผู้เป็นแม่ และนิพพานในห้องที่ตนเกิดในช่วงกลางคืนนั่นเอง
อีก ๖ เดือนให้หลังพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน

ในสมัยนั้น เหล่าพุทธสาวกต่างเรียกพระสารีบุตรว่า ท่านพระธรรมเสนาบดี คู่กับ
พระผู้มีพระภาคฯ ผู้เป็นพระธรรมราชา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาท่านไว้ใน
ตำแหน่งอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเลิศทางปัญญา ด้วยความที่ท่านได้สะสมบารมีมา
๑ อสงไขยกำไรแสนกัป

แม้ในแง่ของความประพฤติ ท่านก็เป็นภิกษุต้นแบบ เสมือนตาชั่งอันเป็นมาตรฐานของ
ความเป็นภิกษุ แม้ในวันนี้ก่อนที่ท่านจะปรินิพพานไม่กี่นาที ท่านก็ขอขมาภิกษุ ๕๐๐ รูป
ที่เดินทางมาด้วยกันว่า หากเคยทำอะไรที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็ขอให้งดโทษนั้นแก่ท่านด้วย
ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปต่างตอบเป็นความเดียวว่า ไม่เคยเห็นโทษแม้เล็กน้อยในท่านพระสารีบุตรเลย

ท่านสมบูรณ์ไปด้วยคุณนานัปการสมดังที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวไว้ว่า:-

            [๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถาม
ดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย รู้จักท่านว่าอย่างไร?
            ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์
รู้จักผมว่าสารีบุตร.

            ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวก
ทรงคุณคล้ายกับพระศาสดา มิได้ทราบเลยว่าท่านชื่อสารีบุตร ถ้าผมทราบว่าท่านชื่อ
สารีบุตรแล้ว คำที่พูดไปเพียงเท่านี้คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้
             เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้งอันท่านพระสารีบุตรเลือก
เฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของ
พระศาสดาโดยถ่องแท้จะพึงถาม ฉะนั้น

----------------------------------------------------------------------------

            ก็พระเถระใด เป็นที่รักที่ชอบใจของเหล่าเพื่อนพรหมจารี เป็นผู้เคารพและกตัญญูใน
            พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอัสสชิ และพุทธบริษัท จนที่สุด แม้ในคุณของข้าว ๑ ทัพพี
            ของราธพราหมณ์ และในการตักเตือนของสามเณรอายุ ๗ ขวบ เป็นผู้ไม่กำเริบด้วยมานะ
            อุปมาตนเองด้วยโคเขาขาดและผ้าเช็ดธุลี ผู้ทดแทนค่าเลี้ยงดูของนางสารีพราหมณี
            ผู้เป็นมารดา ด้วยอริยทรัพย์คือโสดาปัตติผล

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระเถระพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

            ก็พระเถระใด เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก มั่นคงแน่วแน่เหมือนแผ่นหิน ไม่สะเทือน
            แม้ด้วยกำลังประหัตประหารของนันทยักษ์ผู้มีใจบาป ผู้แสดงธรรมโปรดเทวดาใน
            หมื่นจักรวาล ผู้แสดงฤทธิ์หลายสิบหลายร้อยอย่างท่ามกลางภิกษุบริษัท ผู้เมื่อทูลลา
            ปรินิพพานแล้ว มหาปฐพีไม่อาจทรงไว้ได้ หวั่นไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดิน ผู้ใดซึ่งท้าว
            จาตุมหาราชิกา ท้าวสักกเทวราช ท้าวมหาพรหมปรนนิบัติแล้วในเวลาใกล้ปรินิพพาน

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระเถระพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

            ก็พระเถระใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้ในฐานะของเอตทัคคะฝ่ายผู้มีปัญญามาก
            ทรงอุปมาด้วยความเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ผู้หมุนพระธรรมจักรตามที่พระตถาคต
            ได้ประกาศไว้ดีแล้ว ผู้ยังมนุษย์และเทวดาพันโกฏิให้ถึงอริยผลด้วยธรรมเทศนาอันมีนัย
            ลึกซึ้ง ผู้มีปัญญามาก ประหนึ่งว่าสามารถนับจำนวนหยดเม็ดฝนที่ตกสู่พื้นดินได้

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระเถระพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

.

จากคุณ    : ธรรมนิติ


หัวข้อ: พระสูตรเกี่ยวกับประวัติของ พระสารีบุตร พระธรรมเสนาบดี
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกเณร-รัตน์ ที่ พฤศจิกายน 11, 2011, 08:34:51 am
แนะนำ:-

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
           มหาวรรค ภาค ๑
           พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะบรรพชา
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=1358&Z=1513 (http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=1358&Z=1513)

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
           ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
           สังคีติสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015)
           ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221)

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
           มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
           จาตุมสูตร
           เรื่องพระอาคันตุกะพูดเสียงดัง
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3508&Z=3666 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3508&Z=3666)
           ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=186 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=186)

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
           มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
           ทีฆนขสูตร
           เรื่องทีฆนขปริพาชก
                        ท่านพระสารีบุตรบรรลุอรหัต
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768)
           ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269)

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
           มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
           อนุปทสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2324&Z=2444 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=2324&Z=2444)
           ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=153)

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
           มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
           อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9311&Z=9524 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=9311&Z=9524)
            ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=720)

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
           สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
           ฆฏสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7246&Z=7292 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7246&Z=7292)

           พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
           อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
           เอตทัคคบาลี
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=628&Z=643 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=628&Z=643)

          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
          อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
          ข้อที่ ๒๘๑
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=1667&Z=1728 (http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=20&A=1667&Z=1728)
          ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=277&p=2# (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=277&p=2#)อรรถกถาสูตรที่_๕_ข้อ_๒๘๑

            อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑
            เรื่องสญชัย
            บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง 
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=8# (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=8#)บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง

            พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
            ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
            สารีปุตตเถรคาถา
            คาถาสุภาษิตของพระสารีบุตรเถระ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=8049&Z=8133 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=8049&Z=8133)

            พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
            ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
            สารีปุตตเถราปทาน
            ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=290&Z=675 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=290&Z=675)

           พระสารีบุตรปรินิพพาน
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=2# (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=2#)อคฺคสาวกนิพฺพานวณฺณนา

           อ่าน และค้นพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
           อรรถกถาชาดกทั้งหมด ๕๔๗ เรื่อง           
           พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
           พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/ (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/)
            สารบัญ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
            อรรถาธิบาย เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
            ทั้งหมด ๓๐๒ เรื่อง
http://84000.org/tipitaka/attha/index25b.php (http://84000.org/tipitaka/attha/index25b.php)
http://84000.org/tipitaka/attha/index25b2.php (http://84000.org/tipitaka/attha/index25b2.php)

            พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
            สารบัญประเภทธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php? (http://84000.org/tipitaka/dic/d_type_index.php?)         

            หมวดหนังสือธรรมะ
http://84000.org/tipitaka/book/ (http://84000.org/tipitaka/book/)

จากคุณ    : ธรรมนิติ


หัวข้อ: Re: พระสารีบุตร เข้าสู่ นิพพาน วันลอยกระทง
เริ่มหัวข้อโดย: Mahajaroon ที่ พฤศจิกายน 12, 2011, 02:15:49 pm
            ท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวก

          ......... แม้ในแง่ของความประพฤติ ท่านก็เป็นภิกษุต้นแบบ เสมือนตาชั่งอันเป็นมาตรฐานของ
ความเป็นภิกษุ แม้ในวันนี้ก่อนที่ท่านจะปรินิพพานไม่กี่นาที ท่านก็ขอขมาภิกษุ ๕๐๐ รูป
ที่เดินทางมาด้วยกันว่า หากเคยทำอะไรที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็ขอให้งดโทษนั้นแก่ท่านด้วย
ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปต่างตอบเป็นความเดียวว่า ไม่เคยเห็นโทษแม้เล็กน้อยในท่านพระสารีบุตรเลย

ฯลฯ......................ฯลฯ

   


 :25:

   เดียวนี้กลายเป็นประเพณีไปแล้วครับ ขอขมากันในวันเข้าพรรษา พระผู้น้อยขอขมาต่อผู้ใหญ่
ประเพณีนี้หากเราสามารถถ่ายทอดปลูกฝังให้มีในสังคมชาวไทย น่าจะทำให้สังคมดีกว่าทุกวันนี้เป็นแน่

       อ่านแล้วเพลินใจไพเราะจับใจมากครับเขียนใด้ดีมาก ได้ทั้งอรรถและพยัญชนะเลยที่เดียว
ท้ายสุดนี้ขอให้ธรรมะคุ้มครองอายุจงยืนนานหนอ





 :49:


หัวข้อ: Re: พระสารีบุตร เข้าสู่ นิพพาน วันลอยกระทง
เริ่มหัวข้อโดย: ลูกเณร-รัตน์ ที่ พฤศจิกายน 20, 2011, 07:10:19 pm
นมัสการ พระอาจารย์มหาจรูญ ครับ

  ความรู้ผมยังน้อย ต้องเรียน กับ ครูอาจารย์ อีกมาก ครับ

 แต่ก็ดีใจ ที่ พระอาจารย์มหาให้ความคิดเห็น ในกระทู้นี้ ครับ

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25: