สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 12, 2011, 12:45:55 pm



หัวข้อ: บุคคลผู้ไม่ควรแก่ "การบรรลุมรรคผล"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 12, 2011, 12:45:55 pm
(http://2.bp.blogspot.com/-mMmyAuh1nOs/TVqC9RkyjOI/AAAAAAAAAJY/cPhfeGPTCLA/s1600/3798dsc21162008.jpg)

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นในประเด็น เรื่อง ภัพพสัตว์ และ อภัพพสัตว์

     ภัพพสัตว์ หมายถึง เหล่าสัตว์ที่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น
     ส่วน อภัพพสัตว์ คือ เหล่าสัตว์ที่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในชาตินั้น   
     ดังนั้นจากข้อความที่คุณหมอยกมาที่ว่า

     [๒๘] อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล เป็นไฉน?
     บุคคลที่ประกอบด้วย กัมมาวรณ์ ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม โง่เขลา เป็นผู้ไม่ควรหยั่งลงสู่นิยามอันถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย
     บุคคลเหล่านี้เรียกว่า อภัพพาคมนบุคคล บุคคลผู้ไม่ควรแก่การบรรลุมรรคผล.

     บุคคลที่ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ ในชาตินั้นเพราะไม่มีธรรมเป็นเครื่องกั้น ธรรมที่เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผล มี ดังนี้
     1. กรรม
     2. กิเลส
     3. วิบาก
     4. ไม่มีศรัทธา
     5. ไม่มีฉันทะ
     6. มีปัญญาทราม คือ ไม่มีปัญญา

(http://images.palungjit.com/attachments/44530-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%BA%E0%B8%98%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%BA%E0%B8%98%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3-jpg)

     กรรมเป็นเครื่องกั้น ต่อการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น เป็น อภัพพสัตว์ คือ การกระทำกรรม ทำอนันตริยกรรม 5 ประการ  มีการฆ่าบิดา มารดา เป็นต้น เพราะการทำอันนตริยกรรม อันเป็นกรรมที่กั้นการบรรลุมรรคผลในชาตินั้น  แม้จะฟังมาก  อบรมปัญญาเท่าไหร่ก็ไม่สามารถบรรลุ มรรคผลได้

     กิเสส คือ ความเป็นผุ้มีความเห็นผิดที่ดิ่ง เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรม เป็นต้น มีความเห็นผิดที่มีกำลังเปลี่ยนแปลงไม่ได้  ความเห็นผิดที่เป็นกิเลสนี้เองที่เป็นเครื่องกั้นการบรรลุ มรรคผล ไม่สามารถบรรลุได้ จึงเป็นอภัพพสัตว์ เพราะด้วยอำนาจกิเลส คือ ความเห็นผิดครับ

     วิบาก หมายถึง วิบาก คือ ปฏิสนธิจิต คือ การเกิด บุคคลทีเกิดมาด้วยปฏิสนธิจิตที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ในชาตินั้นครับ

     ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา คือ ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์  ไม่มีศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะไมได้อบรม สะสมมาในอดีตชาติ จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ จึงเป็นพวก อภัพพสัตว์ครับ

     ความเป็นผุ้ไม่มีฉันทะ หมายถึงไม่มีฉันทะ ความพอใจ ใคร่ที่จะฟังพระธรรม อบรมปัญญา ไม่มีฉันทะในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลายในอดีต จึงไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้

     ความเป็นผู้มีปัญญาทราม คือ ไม่มีปัญญา เพราะไมได้สะสมปัญญามาในอดีต จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ เมื่อไม่ได้สะสมปัญญามา ก็ย่อมทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ จึงจัดเป็นพวกอภัพพสัตว์ครับ

     ส่วนสัตว์พวก ภัพพสัตว์ก็ตรงกันข้าม คือ สามารถบรรลุ มรรคผลได้ เพราะไม่มีธรรม 6 ประการตามที่กล่าวมาเป็นเครื่องกั้น เพราะไม่มีการทำอนันตริยกรรม ไม่มีความเห็นผิดที่ดิ่ง และเกิดด้วยวิบากที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยและกุศลธรรมทั้งหลาย  เป็นผู้มีฉันทะในการอบรมปัญญา และมีปัญญาที่สะสม ก็สามารถบรรลุธรรมได้เป็นภัพพสัตว์ครับ

     ดังนั้นหน้าที่ของเรา คือ อบรมเหตุคือการฟังพระธรรมต่อไป เมื่อสะสมเหตุไปเรื่อยๆก็สามารถถึงการบรรลุธรรม เป็นภัพพสัตว์ในอนาคตได้ครับ ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนาครับ


(http://www.madchima.net/images/731_image002.jpg)

ที่มา ความเห็นของอาจารย์เผดิม จากเว็บไซต์บ้านธัมมะ
http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=19996 (http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=19996)
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://images.palungjit.com/ (http://2.bp.blogspot.com/,http://images.palungjit.com/)


อ่านรายละเอียดเรื่องอภัพพสัตว์ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๓๑๒๑ - ๓๑๒๙. หน้าที่ ๑๒๗ - ๑๒๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=3121&Z=3129&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=3121&Z=3129&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=277 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=277)