หัวข้อ: มรณานุสสติกรรมฐาน เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 10:30:59 am (http://fwmail.teenee.com/etc/img4/247468.jpg) อนุสสติ 10 อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึงนึกถึง มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน 4 และฌาน 5 กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ อนุสสติทั้ง 10 อย่างนี้ ็เหมาะแก่อารมณ์ของนักปฎิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริต อนุสสตินี้มีชื่อและอาการรวม 10 อย่างด้วยกัน จะนำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบ ดังต่อไปนี้ ๑.พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ๒.ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์ ๓.สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์ ๔.สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์ ๕.จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์ ๖.เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ (อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต) ๗.มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ๘.อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์ (อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต) ๙.กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต ๑๐.อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต อนุสสติทั้ง 10 นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฎิบัติแต่ละอย่างดังนี้ กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง 7 นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ ลีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึงปฐมฌานได้ ทั้งนี้ถ้าท่านนักปฎิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้้ แต่ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียงปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฎิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอา สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฎในอารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 4 ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น อานาปานุสสติ สำหรับอานาปานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มาวาสนาบารมีสาวกภูมิิ สำหรับท่านที่มีบารมี คือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 5 ฌาน 4 ที่มา http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anussati.html (http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anussati.html) (http://fwmail.teenee.com/etc/img4/247469.jpg) 7.มรณานุสสติกรรมฐาน มรณานุสสติ แปลว่านึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เรื่องของความตายเป็นของธรรมดาของสัตว์และมนุษย์ที่เกิดมา เมื่อเกิดมาได้แล้ว ก็ต้องตายในที่สุดเหมือนกันหมด พระพุทธเจ้าสอนให้นึกถึงความตายเพื่อประโยชน์อะไร ? เพราะธรรมดาของคนที่มีกิเลสทั่วไป รู้ความตายว่าเป็นธรรมดาจริง แต่ทว่าเห็นว่าเป็นธรรมดาสำหรับผู้อื่นตายเท่านั้น ถ้าความตายจะเข้ามาถึงตนหรือคนที่หรือญาติคนที่รักของตนเข้า ก็ดิ้นรน้เอะอะโวยวาย ไม่ต้องการให้ความตายมาถึงตนหรือคนที่ตนรัก พยายามทุกทางที่จะไม่ยอมตาย ปกติของคนเป็นอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า เกิดมาแล้วต้องตาย ไม่ว่าใครจะหนีความตายไม่ได้ การดิ้นรน เอะอะโวยวาย ต้องการให้ความตายไปให้พ้นนี้ เป็นการดิ้นรนเหนือธรรมดา ไม่มีทางทำได้สำเร็จ จะทำอย่างไรความตายก็ต้องจัดการกับชีวิตแน่นอน เมื่อกฎธรรมดาเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอน คือย่ำตามความเป็นจริงว่าภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตายนั้นเป็นสิ่งปกติธรรมดา ไม่มีใครจะหลีกหนีพ้นความตายนี้แบ่งออกเป็นสามอย่างด้วยกัน คือ ๑.สมุจเฉทมรณะ ความตายขาดตอน หมายถึงความตายของพระอรหันต์ท่านเสร็จกิจแห่งพรหมจรรย์ คือสิ้นกิเลสแล้ว เหตุที่จะต้องทำให้เกิด คือกิเลสและตัณหาที่จะควบคุมบังคับท่านให้เกิดอีกไม่ได้ ท่านมรณะแล้วท่านไม่ต้องกลับมาเกิดอีก เรียกว่าสมุจเฉทมรณะ แปลว่าตายขาดตอน ไม่กลับมาเกิดอีก ๒. ขณิกมรณะ แปลว่า ตายเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านหมายเอาความตาย คือ ความดับหรือการเคลื่อนไปของชีวิต ที่มีการเคลื่อนไปวันหนึ่ง ๆ วันวันเวลาล่วงไป ชีวิตก็เคลื่อนไปใกล้จุดจบสุดยอด คือตายดับทุกขณะ การผ่านไปของชีวิตท่านถือเป็นความตาย คือตายทุกลมหายใจออก และเกิดต่อทุก ๆ ลมหายใจเข้า อาหารเก่าที่บริโภคเข้าไปเป็นการหล่อเลี้ยงชีวิตชั่วคราว เมื่อสิ้นอำนาจของอาหารเก่าร่างกายต้องการอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงแทน แต่ถ้าอาหารใหม่เข้าไปหล่อเลี้ยงไว้ เมื่อสิ้นสภาพของอาหารเก่าท่านถือว่าร่างกายต้องตายแล้วไปยุคหนึ่ง พอได้อาหารใหม่มาทดแทน ขีวิตก็เกิดใหม่อีกวาระหนึ่ง การเกิดการตายต่อเนื่องกันทุกวันเวลาอย่างนี้ ถ้าอาหารเก่าหมดสภาพไม่บริโภคใหม่ หรือลมหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้า สภาพของร่างกายก็จะสิ้นลมปราณ คือตายทันที ที่ทรงอยู่ได้อย่างนี้ก็เพราะได้ปัจจัยบางอย่างค้ำจุนทดแทนกันเข้าไป ท่านสอนให้มองเห็นสภาพของสังขารร่างกายว่ามีความตายเป็นปกติทุกวันเวลาอย่างนี้ ท่านเรียกว่าขณิกมรณะ แปลว่าตายทีละเล็กละน้อยหรือตายเล็ก ๆ น้อย ๆ ๓.กาลมรณะ และ อกาลมรณะ กาลมรณะ แปลว่า ตายตามกาลสมัย ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ถึงที่ตาย คือสิ้นอายุ อย่างขนิดที่ไม่มีการแก้ไขได้ อกาลมรณะแปลว่า ตายในโอกาสที่ยังไม่ถึงกาลควรตาย แต่ต้องตายเพราะกรรมบางอย่างที่เป็นอกุศลเข้ามาบีบคั้นให้ตาย การตายประเภทหลังนี้ พอมีทางต่อให้อายุยืนยาวต่อไปได้ตามสมควรแก่กรรมในอดีต จะต่อให้เลยพอดีนั้นไม่ได้ พวกตายแบบกาลมรณะตายไปแล้ว เสวยผลกรรมทันที แต่พวกที่ตายแบบอกาลมรณะนี้ตายแล้วยังไม่ไปเสวยผลกรรมทันที ต้องไปเป็นสัมภเวสี แสวงหาที่เกิดก่อน คือรอกาลที่จะถึงกาลมรณะก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจึงจะได้รับผลกรรมดีและกรรมชั่วที่ทำไว้ ขณะที่ยังไม่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้นั้น ต้องลำบากในเรื่องอาหารและที่อยู่ ท่องเที่ยวไปตามความต้องการ พวกตายแบบอกาลมรณะนี้ ที่ชาวโลกนิยมเรียกว่า ตายโหงนั้นเอง เช่น ถูกฆ่าตาย คลอดลูกตาย รถทับตาย ฟ้าผ่าตาย ฆ่าตัวตาย งูกัดตาย รวมความว่า ตายแบบผิดปกติไม่ใช่ป่วยตายตามธรรมดาเรียกว่า อกาลมรณะ คือตายก่อนกำหนดตายทั้งนั้น การตายแบบนี้ ถ้ามีท่านผู้รู้ช่วยเหลือ สามารถช่วยให้พ้นตายได้ เช่น ที่นิยมเรียกกันว่าสะเดาะเคราะห์ หรือต่ออายุ การสเดาะเคราะห์หรือต่ออายุนั้นต้องทำโดยธรรมจริง ๆ และรู้จริงจึงจะใช้ได้ (http://fwmail.teenee.com/etc/img4/247470.jpg) นึกถึงความตายมีประโยชน์ ประโยชน์ของการนึกถึงความตาย ทำให้คนไม่ประมาท เพราะรู้ตัวว่าจะตายจะได้แสวงหาความดีใส่ตัว โดยรู้ตัวว่าชาตินี้จนเพราะชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ถ้าชาติหน้าไม่อยากจนอีก ก็พยายามให้ทานเสมอ ๆ ตามกำลังทรัพย์ที่พอจะให้ได้ และอย่าให้จนหมดตัว จะเกินพอดี ต้องให้พอเหมอะพอดี ไม่เดือดร้อนภายหลังนั้นแหละจึงจะควร รู้ตัวว่ามีโรคมาก ป่วยไข้ไม่สบายเสมอๆ ของหายบ่อย ๆ รูปร่างสวยน้อยไป คนในบังคับบัญชาดื้อด้าน วาจาไม่ศักดิ์สิทธิ์ อารมณ์ความจำเสื่อม ถ้าต้องการให้สิ่งบกพร่องเหล่านี้สมบูรณ์ในชาติหน้า จะได้รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนแล้วจะได้รับอนิสงส์ มีอายุยืน รูปสวย ไม่มีโรคภัยรบกวน ไม่มีภัยจากโจรรบกวนทรัพย์สมบัติ คนในบังคับบัญชาอยู่ในโอวาทเป็นอันดี ไม่มีใครดื้อด้าน มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ พูดอะไรเป็นนั้น มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ก็ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ถ้าเห็นว่า มีปัญญาน้อย ไม่ใคร่ทันเพื่อน ก็พยายามเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พอมีฌานมีญาณเล็กน้อย ในชาติต่อไปก็จะเป็นคนมีปัญญาเลิศ ถ้าเห็นว่า ความเกิดเป็นทุกข์ เพราะการเกิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร มีตระกูลสูงส่งประการใดก็ตาม ต้องประสบกับความทุกข์อย่างมหันต์ และหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ต้องการความเกิดอีกก็เร่งรัดเจริญสมถะให้ได้ฌานต้น แล้ววิปัสสนาญาณให้จบกิจพระศาสนา ท่านที่นึกถึงความตายเป็นปกติ หรือที่เรียกว่าเจริญมรณานุสสติกรรมฐาน กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานหลักสำหรับเจริญวิปัสสนาญาณ จะเป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นพระอรหันต์ ก็ต้องอาศัยการปรารภความตายเป็นปกติ แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง พระองค์แม้จะเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ไม่ทิ้งมรณานุสสติกรรมฐาน คือนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ วันหนึ่งพระองค์ตรัสถามอานนท์ว่า อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เธอนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์กราบทูลตอบว่า นึกถึงความตายวันละเจ็ดครั้งพระเจ้าข้า พระองค์ตรัสว่า ยังห่างมากอานนท์ ตถาคตนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก การนึกถึงความตายเป็นปกติเป็นของดี แม้พระพุทธเจ้ายังเฝ้าคิดถึงความตาย เพราะผู้ที่คิดถึงความตายรู้ตัวว่าจะต้องตายแล้วย่อมไม่สั่งสมความชั่ว คอยปลีกตัวออกจากชั่วและมีอารมณ์ไม่หวั่นไหว ในเมื่อความตายมาถึงแล้ว เพราะคิดอยู่รู้อยู่เสมอแล้วว่าเราต้องตายแน่ ความตายนี้หานิมิตเครื่องหมายไม่ได้ กำหนดการเกิดหมอบอกได้ แต่กำหนดเวลาตายไม่มีใครกำหนดได้แน่นอน สำหรับปุถุชนคนธรรมดา สำหรับพระอริยเจ้าหรือท่านที่ชำนาญในอานาปานุสสติกรรมฐาน ท่านสามารถบอกเวลาตายที่แน่นอนของท่านได้ พระอริยเจ้าที่จะบอกเวลาได้ ก็ต้องเป็นท่านที่ได้วิชชาสามเป็นอย่างน้อย ถ้ามีความรู้พิเศษต่ำกว่านั้นท่านก็กำหนดเวลาตายไม่ได้เหมือนกัน ท่านเปรียบชีวิตไว้คล้ายกับคนขีดเส้นบนผิวน้ำ ขีดพอปรากฎว่ามีเส้น แล้วในทันทีเส้นที่ขีดนั้นก็พลันสูญไป ชีวิตของสัตว์ที่เกิดมาก็เช่นเดียวกัน ความตายรออยู่แค่ปลายจมูก ถ้าสิ้นลมปราณเมื่อไร ก็สิ้นภาระเมื่อนั้น เอาความยั่งยืนไม่ได้เลย ท่านที่เจริญมรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อท่านคิดถึงความตายเป็นปกติ จนเห็นความตายเป็นปกติธรรมดา เตรียมพร้อมเพื่อรับสถานการณ์ คือให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาพอสมควร แก่ความต้องการแล้ว ถ้าคิดให้ไกลไปอีกสักนิดว่าความตายเป็นของมีแน่ เราไม่หนักใจแล้ว ความเกิดต่อไปก็ไม่มีแน่ จะเกิดเป็นอะไรก็ตามเต็มไปด้วยความทุกข์ หนีีทุกข์ไม่พ้น เราไม่ต้องการความเกิดอันเป็นเหยื่อของวัฏฏะอีก แม้แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่งจะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ็สมบัติอะไรในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือพระนิพพาน ทำใจให้ว่างจากความเกิด ความเกาะในชาติภพ ปรารภพระนิพพานในชาติปกติ อย่างนี้ ท่านมีหวังสิ้นชาติสิ้นภพ ประสบผลอย่างยอด คือถึงพระนิพพานใจชาติปัจจุบันแน่นอน ที่มา http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anussati6.html (http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anussati6.html) ขอบคุณภาพจาก http://fwmail.teenee.com/ (http://fwmail.teenee.com/) หัวข้อ: Re: มรณานุสสติกรรมฐาน เริ่มหัวข้อโดย: winyuchon ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 10:52:43 am อ้างถึง แม้ แต่ร่างกายอันเป็นที่หวงแหนยิ่งจะต้องพังทลายเรายังไม่มีเยื่อใย ็สมบัติอะไรในโลกีย์ที่เราต้องการ เราไม่ต้องการอะไรอีก เทวโลก พรหมโลก เราไม่ต้องการ สิ่งที่พอใจที่สุดก็คือพระนิพพาน คำนี้ดี ซึ้งกินใจ ผู้ภาวนาอย่างเรา มาก :25: หัวข้อ: Re: มรณานุสสติกรรมฐาน เริ่มหัวข้อโดย: montra ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 12:51:08 pm (http://www.analaya.com/hwdphotos/uploads/62/f5e6d0bffbdb151be95c6b0770c1f99e.jpg) (http://www.analaya.com/hwdphotos/uploads/62/5203ec68782873abff645e877115a6a3.jpg) รูปภาพธรรมะบนต้นไม้ วัดมเหยงคณ์ พระนครศรีอยุธยา ขออนุญาตแก้ไขลิงค์ให้คุณมนตรา ไม่รู้ตรงใจรึเปล่า ติชมได้ครับ ภาพจากเว็บhttp://www.analaya.com/ (http://www.analaya.com/) หัวข้อ: Re: มรณานุสสติกรรมฐาน เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 03:44:11 pm คุณ montra โพสต์ อะไรเอ่ย
:smiley_confused1: หัวข้อ: Re: มรณานุสสติกรรมฐาน เริ่มหัวข้อโดย: saiphone ที่ พฤศจิกายน 17, 2011, 06:52:32 pm อนุโมทนา คะ ธรรมยามเย็น
:25: :25: :25: หัวข้อ: Re: มรณานุสสติกรรมฐาน เริ่มหัวข้อโดย: บุญสม ที่ พฤศจิกายน 19, 2011, 09:41:08 am เป็นธรรมที่ควรใส่ใจ ใน ฐานะ ผู้ที่ภาวนา ( โยคีน้อย ) เพราะ
บรรดาครูอาจารย์ ทั้งหลาย ท่านก็มักจะเตือนไว้ว่า อย่าประมาท ต่อ วัน ต่อ คืน ต่อ เวลา :25: :25: :25: |