สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 28, 2011, 08:08:00 am



หัวข้อ: บนเส้นทาง แห่งศรัทธา “บุโรพุทโธ”
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 28, 2011, 08:08:00 am

(http://images.palungjit.com/attachments/45660d1252664338-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%98-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%98-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2-borobudur-jpg)

บนเส้นทาง แห่งศรัทธา “บุโรพุทโธ”

หากประเทศไทยคือหนึ่งในดินแดนที่หลายศาสนาต่างพึ่งพาอาศัยและอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนแล้ว ณ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์อย่างยอร์กยาการ์ตา หรือเรียกสั้น ๆ แบบคนอินโดฯว่า ยอร์กยานั้น ก็คงจะเป็นอีกดินแดนที่ครั้งหนึ่งสองศาสนาสานสัมพันธ์กันได้อย่างกลมกลืน
   
ช่วงศตวรรษที่ 9 ในวันที่เกาะชวาถูกปกครองโดย 2 ราชวงศ์ใหญ่ คือ ราชวงศ์ไศเลนทราที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา และราชวงศ์สัญชัยที่เลื่อมใสในฮินดู แม้จะต่างศาสนาและความเชื่อทว่าสองราชวงศ์นอกจากจะไม่เคยทะเลาะเบาะแว้งหรือห้ำหั่นกันเพื่อแย่งชิงดินแดนกันแล้ว ยังเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองราชวงศ์ด้วยการให้เจ้าหญิงปราโมทะวาร์หานี แห่งราชวงศ์ไศเลนทรา กับเจ้าชายราไก พิคาตัน แห่งราชวงศ์สัญชัย อภิเษกสมรสกัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ศาสนาสถานที่ใหญ่ที่สุดทั้งของชาวพุทธและฮินดูจึงตั้งอยู่ใกล้กัน


(http://www.thairath.co.th/media/content/2009/11/07/45177/hr1667/630.jpg)

ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ ฮินดูและศาสนาพุทธ มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือบรมพุทโธ แต่คนทั่วไปมักเรียกกันว่า “บุโรพุทโธ” นั้น จะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่ปรามบานัน ที่เจ้าชายราไกดำริให้สร้างขึ้นนั้นก็เป็นศาสนสถานของฮินดูที่ใหญ่ที่สุดบนเกาะชวาและยิ่งใหญ่ไม่น้อยหน้านครวัดเช่นกัน
   
บุโรพุทโธตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือห่างจากยอร์กยาไปราว 40 กิโลเมตร โดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทราผู้เลื่อมใสในพุทธศาสนานิกายมหายาน เพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธตามคติความเชื่อในเรื่องศูนย์รวมแห่งจักรวาล นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นมีรูปทรงคล้ายกับภูเขาบนเนินดินธรรมชาติ โดยใช้หินภูเขาไฟขนาดมหึมาเป็นส่วนประกอบ
   
รูปทรงภายนอกเป็นรูปทรงดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ในพุทธศาสนา ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำโปรโกและอีโลไหลผ่าน แบบเดียวกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งแม่น้ำคงคาและแม่น้ำยมุนาไหลมาบรรจบกันเช่นที่ประเทศอินเดีย ต้นกำเนิดแห่งศาสนาพุทธนั้น ทำให้ดูเหมือนกับดอกบัวขนาดมหึมานี้ลอยอยู่ในบึงใหญ่

   
(http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/27/newspaper/p21g2.jpg)

จุดเด่นของพุทธศาสนสถานแห่งนี้คือ สถูปที่เจดีย์ตั้งอยู่บนพีระมิดทรงขั้นบันไดความสูงกว่า 42 เมตรจากฐานชั้นล่าง ซึ่งมีทั้งหมด 72 องค์ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหินแกะสลักนั่งปางต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่ถูกทำลายเสียหายทั้งจากภัยธรรมชาติอย่างแผ่นดินไหวและน้ำมือมนุษย์ จนทำให้มีพระพุทธรูปที่ค่อนข้างสมบูรณ์ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์ไม่กี่องค์ ขณะที่สององค์ที่เปิดสถูปไว้นั้นกลายเป็นไฮไลต์ที่ใครไปใครมาจะต้องมาเก็บภาพ โดยเฉพาะช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นและตกของวัน
   
แม้ว่าจะเป็นศาสนสถานที่ตั้งอยู่กลางแจ้งแต่การจะเข้าชมบุโรพุทโธนั้นจะมีการกำหนดช่วงเวลาปิดและเปิด โดยหากจะปีนป่ายขึ้นไปชมพระอาทิตย์ขึ้นตั้งแต่เช้ามืดจะต้องเสียค่าเข้าแพงกว่าเวลาปกติทั่วไป และจะต้องมีไกด์ท้องถิ่นนำทางเท่านั้น โดยทุกคนที่จะเข้าไปชมบุโรพุทโธไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใดจะต้องมีโสร่งสำเร็จรูปขนาดสั้นพร้อมสายผูกพันรอบเอวก่อนเข้าเขตศาสนสถานทุกคน
   
นอกจากสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปที่เป็นไฮไลต์ซึ่งเป็นสององค์จากทั้งหมด 504 องค์นั้น ทั้ง 10 ชั้นของบุโรพุทโธแต่ละชั้นจะมีภาพสลักนูนต่ำแสดงคติธรรมทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับจักรวาลตามพุทธศาสนาและการเข้าสู่นิพพาน 6 ชั้น รวมทั้งพุทธประวัติ


(http://wathuahin.com/Picture1.jpg)

ทั้งที่เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่แต่บุโรพุทโธไม่มีทางเข้าไปสู่ด้านในใด ๆ ทั้งสิ้น พื้นที่รอบนอกที่สร้างลดหลั่นเป็นชั้นในรูปทรงกลมนั้น เพื่อเป็นสถานที่สำหรับการปฏิบัติธรรมอย่างการเดินจงกรมตามความเชื่อในพุทธศาสนา
   
ขณะที่ปรามบานันนั้นแม้จะเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู แต่องค์เจดีย์ทั้งหมดนั้นมีสถูปเจดีย์เป็นองค์ประกอบด้วย แต่กลับไม่ได้มีความหมายใด ๆ เหมือนอย่างเจดีย์ที่รายล้อมอยู่รอบบุโรพุทโธ คนท้องถิ่นเรียกที่นี่ว่า วัดโลโร จองรัง สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระศิวะตามความเชื่อในศาสนาฮินดู
   
ปรางค์ 8 องค์ที่อยู่ตรงกลางมีวิหารของพระศิวะเป็นเทวสถานที่สำคัญและเด่นที่สุด สูงถึง 47 เมตรตั้งอยู่ตรงกลางซึ่งเปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ภายในเป็นที่ประดิษฐานรูปสลักของพระศิวะขนาดสูงใหญ่ถึง 3 เมตร ในท่าประทับยืนอยู่บนดอกบัว

   
(http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/27/newspaper/p21g3.jpg)

ส่วนปรางค์อีก 2 แห่งตั้งเคียงคู่อยู่กับปรางค์องค์กลาง คือ ปรางค์พระพรหมอยู่ทางทิศเหนือ และปรางค์พระวิษณุ หรือที่คนไทยรู้จักในนามพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไวษณวนิกายถือว่าพระองค์เป็นพระเจ้าสูงสุดในตรีมูรติ

แต่สำหรับที่นี่กลับถูกให้ความสำคัญน้อยกว่าพระวิษณุผู้ทำลายซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้รักษากฎ เพราะในฤคเวท นั้นพระวิษณุ เป็นเทพที่ไม่มีบทบาทสำคัญ แต่คอยช่วยพระอินทร์ต่อสู้กับศัตรูชั่วร้ายที่ทรงอำนาจ พระวิษณุจึงมีหน้าที่ในการรักษาจักรวาลที่พระพรหมได้สร้างขึ้นก่อนที่จะถูกพระศิวะทำลายในที่สุด
   
นอกจากความยิ่งใหญ่ของวิหารทั้ง หมดแล้ว ภาพสลักนูนตามระเบียงซึ่งแสดงตอนต่าง ๆ ของเรื่องรามายณะ เป็นอีกจุดเด่นสำคัญของปรามบานัน ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นตำราของคัมภีร์ศาสนาฮินดู ขณะที่ปรางค์องค์รองที่อยู่ตรงข้ามกับปรางค์หลักทั้งสามองค์นั้น เป็นปรางค์ที่ประดิษฐานพาหนะของทั้งสามนั่นเองและเพื่อให้เกียรติแด่เจ้าหญิงปราโมทะวาร์หานี แห่งราชวงศ์ไศเลนทรา


(http://www.dailynews.co.th/content/images/1111/27/newspaper/p21g1.jpg)

เจ้าชายราไก พิคาตันได้ดำริให้จัดสร้างพุทธสถานอย่าง วัดเซวูขึ้นห่างจากปรามบานันไปราว 800 เมตรเท่านั้น ประกอบด้วยวัดขนาดเล็กถึง 240 วัด ล้อมอยู่รอบวัดใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง โดยจุดเด่นของวัดเซวูอยู่ที่ ยักษ์ซึ่งสลักจากหินก้อนเดียวสูงกว่า 3 เมตร อยู่ที่ประตูทั้ง 4 ทิศ
   
ปัจจุบันผู้โดยสารสามารถเดินทางจากประเทศไทยไปยังเมืองยอร์กยาการ์ตา อินโดนีเซีย โดยสายการบินแอร์เอเชียได้จาก 3 เส้นทาง ซึ่งสามารถไปต่อเครื่องที่อินโดนีเซีย กัวลาลัมเปอร์ หรือสิงคโปร์ที่มีเที่ยวบินให้บริการทุกวัน ตรวจสอบได้ที่ www.airasia.com (http://www.airasia.com)


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=523&contentId=178100 (http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=523&contentId=178100)
http://images.palungjit.com/,http://wathuahin.com/,http://www.thairath.co.th/ (http://images.palungjit.com/,http://wathuahin.com/,http://www.thairath.co.th/)