สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 30, 2011, 10:02:13 am



หัวข้อ: "เราควรทำความเพียร" ตอนไหน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 30, 2011, 10:02:13 am
(http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/buddhist1pic/pic2/106.jpg)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๔. สมยสูตร

             [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

        - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๑
        - อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๒
        - อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีข้าวแพง ข้าวเสียหาย มีบิณฑบาตหาได้ยากไม่สะดวกที่จะยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๓ ฯ
        - อีกประการหนึ่ง สมัยที่มีภัย มีความกำเริบในป่าดง ชาวชนบทพากันขึ้นยานพาหนะอพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๔
        - อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน มีการใส่ร้ายกันและกันมีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้นย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสย่อมเป็นอย่างอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๕

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล ฯ


(http://www.dmc.tv/images/Jataka/alin-04.jpg)

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

      - ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม ตั้งอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๑
      - อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุที่เผาอาหารให้ย่อยสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๒ ฯ
      - อีกประการหนึ่ง สมัยที่ข้าวถูก ข้าวดี มีบิณฑบาตหาได้ง่าย สะดวกที่จะยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหาบิณฑบาต นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๓ ฯ
      - อีกประการหนึ่ง สมัยที่พวกมนุษย์พร้อมเพรียงกัน [สามัคคีกัน] ยินดีต่อกัน   ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ มองดูกันและกันด้วยจักษุที่ประกอบด้วยความรัก นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๔ ฯ
      - อีกประการหนึ่ง สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ยินดีต่อกัน ไม่วิวาทกันมีอุเทศร่วมกัน ย่อมอยู่เป็นผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันย่อมไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการใส่ร้ายกันและกัน ไม่มีการทอดทิ้งกันและกัน คนผู้ไม่เลื่อมใสในสงฆ์หมู่นั้น ย่อมเลื่อมใส และคนที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้นไป นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรข้อที่ ๕

            ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร ๕ ประการนี้แล ฯ

            จบสูตรที่ ๔


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๕๒๒ - ๑๕๕๖. หน้าที่ ๖๖ - ๖๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1522&Z=1556&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=1522&Z=1556&pagebreak=0)         
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=54 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=54)
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/,http://www.dmc.tv/ (http://www.rmutphysics.com/,http://www.dmc.tv/)


หัวข้อ: Re: "เราควรทำความเพียร" ตอนไหน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 30, 2011, 10:19:36 am

ขอนำความในพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ของ อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ มาสรุป "สมยสูตร" ให้อ่านดังนี้ครับ

     ทรงแสดงสมัยที่ไม่สมควรตั้งความเพียร ๕ ประการ คือ
        ๑. เป็นคนแก่,
        ๒. ถูกโรคเบียดเบียน,
        ๓. หาอาหารได้ยาก เกิดจราจล
        ๔. ประชาชนอพยพ,
        ๕. สงฆ์แตกกัน.
     ถ้าตรงกันข้ามก็เป็นสมัยอันสมควร.




(http://ohmpps.go.th/documents/BB2550902/pic/T0011_0002_01.jpg)

อะนิพพินทิยะการิสสะ สัมมะทัตโถ วิปัจจะติ
ทำเรื่อยไป ไม่ท้อถอย ผลที่ประสงค์จะสำเร็จสมหมาย

อะโมฆัง ทิวะสัง กะยิรา อัปเปนะ พะหุเกนะ วา
เวลาแต่ละวัน อย่าให้ผ่านไปเปล่า จะน้อยหรือมาก ก็ให้ได้อะไรบ้าง

อะโหรัตตะมะตันทิตัง ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ
ขยันทั้งคืนวัน ไม่ซึมเซา นั้นแลเรียกว่า มีแต่ละวันนำโชค

กะถัมภูตัสสะ เม รัตตินทิวา
วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

ขะโณ โว มา อุปัจจะคา
อย่าปล่อยโอกาสให้ผ่านเลยไปเสีย

ที่มา http://pirun.ku.ac.th/~fagisvtc/buddhism/lords/supasit1.htm (http://pirun.ku.ac.th/~fagisvtc/buddhism/lords/supasit1.htm)
ขอบคุณภาพจาก http://ohmpps.go.th/ (http://ohmpps.go.th/)