สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 01, 2011, 09:06:07 pm



หัวข้อ: ๒,๖๐๐-๘๔ พุทธชยันตีเฉลิมราช
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 01, 2011, 09:06:07 pm

http://www.youtube.com/watch?v=wOcQtXWFOU0# (http://www.youtube.com/watch?v=wOcQtXWFOU0#)

๒,๖๐๐-๘๔
รหัสศักดิ์สิทธิ์ เพื่อ....การเยียวยาสังคม
และ... ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ที่สุดในโลก

     หลังจากได้รับและช่วยกันส่งต่อเมล์แห่งสติ “วันนี้วันพระ วันพระงดเหล้า” ในฐานะธรรมอาสาสมัครสื่อสารความดี ก็รู้สึกดีเป็นมงคลแก่ชีวิตจริงๆ รู้สึกได้บุญกุศลเอิบอิ่มในจิตใจ งานนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมจิตอาสาง่ายๆ ที่ทุกท่านสามารถร่วมบุญกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า สสส. ได้ในแต่ละวันพระ

    เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในระหว่างวันวิสาขบูชา ๒๕๕๔ – วิสาขบูชา ๒๕๕๕ พร้อมกับชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งจะมีกิจกรรมปีโหมโรงเป็นปฏิบัติบูชาตั้งแต่วิสาขบูชา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป และจะมีกิจกรรมปีส่งท้ายถึงวิสาขบูชา ๒๕๕๖

โดยบุญกุศลที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดนี้ จะน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลวโรกาสที่จะทรงมีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา และยังจะเป็นการทำบุญร่วมกันของคนไทยทั้งชาติเพื่ออุทิศให้กับผืนแผ่นดินมาตุภูมิประเทศไทย

      ความจริงแล้ว ก่อนปีพ.ศ.๒๕๐๒ ก่อนที่ชาวพุทธในประเทศไทยจะถูกวางยาให้วิถีชาวพุทธอ่อนแรงและสลายหายไปจากสังคมไทย โดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับหนึ่ง วิถีวันโกนวันพระ เป็นวิถีแห่งการทำบุญร่วมกันของครอบครัวและชุมชนไทยพุทธมาโดยตลอด (วันพระหรือวันอุโบสถ แปลว่าวันเข้าใกล้ยา หรือวันที่เข้าไปรับยา โรคโลภ-โกรธ-หลง ต้องให้ยาอย่างน้อย ๗ วันครั้ง

 ซึ่งทุกวันนี้ คริสต์ก็ยังไปโบสถ์ทุกวันอาทิตย์ มุสลิมไปมัสยิดทุกวันศุกร์ ..แล้วพุทธล่ะ??) วันพระได้ทำหน้าที่เป็น “วันแห่งสติ” โอบล้อมให้ทุกครอบครัวทุกชุมชนได้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันถึงภาวะ “ละอายชั่วกลัวบาป” “ใฝ่บุญใฝ่กุศล” “บุพเพสันนิวาส-สมานสามัคคี” ซ้ำๆ พร้อมๆ กันทุก ๗-๘ วัน ทุก ๗-๘ วัน       

    ตามหลักอปริหานิยธรรม อุปมาเป็นเสมือนเขื่อนที่คอยดักบาปอกุศลไว้ไม่ให้แพร่ระบาด และทำหน้าที่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำสุด(minimum standard) ที่จะให้คนในสังคมได้ทำบุญความดีร่วมกันอย่างน้อยปีละประมาณ ๕๐ ครั้ง 


(http://j5.tagstat.com/image03/7/1b7f/002o001VNJ_.gif)

     เมื่อถูกภาครัฐวางยานำวิถีวันโกนวันพระนี้ออกไปแล้ว ไม่มีการเยียวยาหรือชดเชยใดๆ ครอบครัวและชุมชนไทยพุทธที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประมาณ ๙๕% ก็ขาดกิจกรรมทำบุญร่วมกัน (เหลือเพียงปีละครั้ง บางครอบครัวแม้แต่ปีละครั้งก็ทำไม่ได้ แต่วันหยุดเสาร์อาทิตย์กลายเป็นทำบาปร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น เป็นวันขี้เกียจ เมา เที่ยว ฯลฯ)

    ขาดการบ่มเพาะให้เรียนรู้แบบซึมซับซ้ำๆ ถึงความละอายชั่วกลัวบาป ใฝ่บุญใฝ่กุศล  ชุมชนเองก็ขาดกิจกรรมทำบุญร่วมกัน ไม่ได้ล้อมวงทานข้าวร่วมกันของหลายๆ ครอบครัวในชุมชนเดียวกันที่วัดเหมือนแต่ก่อน คนกลางคนวัยทำงาน เด็กและเยาวชนวัยเรียน ก็ถูกกันออกจากวัด เพราะถูกทำให้การไปวัดวันพระเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

    ถ้าเป็นราชการก็หนีราชการ หรือเป็นสิ่งน่าละอายว่าหนีงานหนีเรียน เหลือแต่คนแก่ชราไปวัด และเนื่องด้วยว่าวัดนั้นนอกจากจะทำหน้าที่ทางศาสนาแล้วยังเป็นศูนย์กลางทางวิถีวัฒนธรรมประเพณีด้วย

    เมื่อคนไทยถูกวางยาให้แปลกแยกจากวัดมา ๕๐ ปี ทั้งพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยในแต่ละท้องถิ่น จึงถูกทำให้อ่อนแรงลงและแปลกแยกจากคนไทยมากขึ้นไปด้วยกัน ทั้งพระและฆราวาสต่างก็ถูกวางยาให้แปลกแยกต่างคนต่างอยู่และเสื่อมลงด้วยกันทั้งสองฝ่าย (และต่างฝ่ายต่างโทษกัน)

    วิกฤตการณ์ความขัดแย้งที่รุนแรงที่ส่อแววนำพาประเทศชาติไปสู่หายนะอันใกล้นี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ออกมาให้เห็นนิดหน่อยเท่านั้น เป็นฟางเส้นท้ายๆ ที่ถูกสั่งสมมาจากสาเหตุหลักที่คนไทยส่วนใหญ่ถูกวางยาทำลายวิถีสามัคคีทำบุญร่วมกันไปถึง ๕๐ ปี (ปีละ ๕๐ ครั้ง รวมเป็นจำนวน ๒,๕๐๐ ครั้งแล้วที่ครอบครัวและชุมชนไทยพุทธไม่ได้ทำบุญร่วมกัน เท่ากับสังคมไทยขาดยาไป ๒๕๐๐ doses จึงป่วยใกล้ตายแบบนี้)

    เมื่อกินแต่บุญเก่าบุญใหม่ไม่เติม  เติมแต่บาปอกุศลทุกวันทุกคืน บาปมวลรวมประชาชาติจึงหนักยิ่งยวด แต่บุญมวลรวมเบาโหวงเหวง เมื่อกระบวนการ (process) แห่งความรักสมัครสมานสามัคคีไม่มี เมื่อกระบวนการ (process) แห่งความละอายชั่วกลัวบาปไม่มี เมื่อกระบวนการ (process) แห่งบุญกุศลไม่มี เกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นวิถีชีวิต  ผลลัพธ์ (output)

http://www.youtube.com/watch?v=caWFB8sHvUQ# (http://www.youtube.com/watch?v=caWFB8sHvUQ#)

    จึงเป็นอย่างที่เห็น ครอบครัวไม่อบอุ่น ชุมชนไม่เข้มแข็ง แตกแยกสามัคคีไปทุกหย่อมหญ้า ปัจเจกบุคคลเสื่อมทรามจากศีลธรรม ไม่ละอายชั่วกลัวบาปไม่ใฝ่บุญใฝ่กุศล (จะหวัง นักการเมืองดี หมอ ครู ฯลฯดีจากไหน ถ้าไม่มีprocessสร้าง) ละโมบโลภมากเข้ามายื้อแย่งอำนาจและผลประโยชน์  ความโกรธที่เกรี้ยวกราดรุนแรงจองเวรอาฆาตไม่สิ้นสุดกับฝ่ายตรงข้ามที่ยื้อแย่งกัน 

    ความหลงงมงายในลัทธิความเชื่อทางการเมืองที่ถูกปลุกปั่นจนสุดโต่งไม่มีใครยอมใคร จึงเป็นสิ่งที่เห็นได้ดาษดื่น และนับวันแต่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น  หากไม่ตัดตอนวิถีทำบาปร่วมกัน แล้วหวนกลับมาฟื้นฟูวิถีทำบุญร่วมกัน ให้วันพระ ย้อนกลับมาเป็น “วันแห่งสติ” ของสังคมไทยอีกครั้ง มัวแต่แก้ไขที่เปลือกผิวด้วยเทคนิคทางรัฐศาสตร์นิติศาสตร์เท่านั้น สังคมไทยจะเข้าสู่มิคสัญญีและกลียุคเป็นแน่แท้


   
 ดังนั้นการที่ช่วยกันฟื้นคืนให้วิถีทำบุญร่วมกัน กลับมาเป็นอ้อมกอดอันอบอุ่นและปลอดภัยของมารดาคือธรรมะ ให้แก่ครอบครัวชุมชนและสังคมไทยอีกครั้ง ให้กลับมาเป็น minimum standard ของสังคมไทยอีกครั้ง  จึงเป็นหนทางเดียวหรือเป็นรถไฟขบวนสุดท้ายแล้วที่เราจะมีโอกาสเยียวยากันและกัน โดยตรงไปที่สาระอันเป็นการปฏิบัติบูชาที่แท้จริง และยั่งยืน.

    ไม่ว่าวิกฤตการณ์ในปัจจุบันจะเลวร้ายเพียงใดก็ตาม หากเราทำให้มนุษย์สามารถค้นพบและดึงด้านที่ดีงามของจิตใจออกมาให้ได้ เกิดปัญญาอันมีกำลังที่เอาชนะด้านมืดในใจให้จางหายมลายไปได้ ด้วยการทำบุญร่วมกันให้เป็นวิถี

     เราจะสามารถพลิกฟื้นสังคมไทยจากหุบเหวแห่งหายนะ แล้วก้าวข้ามหรือยกระดับไปสู่สำนึกสาธารณะที่จะมาร่วมกันสร้างสรรค์ให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก  ให้การรับรู้ของคนทั่วโลกที่มีต่อคนไทย ว่าเป็นคนมีน้ำใจ ให้อภัย ใฝ่บุญกุศล ได้อีกครั้งหนึ่ง

    ในโอกาสนี้  เครือข่าย ๒๖๐๐-๘๔ พุทธชยันตีเฉลิมราช ขอเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนทุกท่าน มาร่วมบุญกุศลอันยิ่งใหญ่  ด้วยการช่วยกันคิดกิจกรรมการทำบุญกุศลร่วมกันในระดับครอบครัว ชุมชน และช่วยกันฟื้นคืนให้เป็น "วิถีทำบุญร่วมกัน" ของชุมชนชาวไทยพุทธอีกสักครั้ง


(http://gallery.palungjit.com/data/540/budhavx2.gif)

    เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา เฉลิมฉลองแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในโอกาสตรัสรู้ครบ ๒,๖๐๐ ปี และน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะทรงมีพระชนมายุ ๘๔ พรรษา  ดังนี้

   ๑. สื่อสารวันพระให้เป็น “วันแห่งสติ” คิดค้นวิธีการสื่อสารความดี ให้คนได้ระลึกถึง "วันพระ" ในทุกๆ วันพระ (ทุกๆ ๗-๘ วัน: ขึ้น ๘ ค่ำ, ขึ้น ๑๕ ค่ำ, แรม ๘ ค่ำ, แรม ๑๔/๑๕ ค่ำ) เพื่อสร้างจิตวิทยาการเรียนรู้โดยรวมทั้งสังคมไทย ให้เกิดความตื่นรู้ในทุกวันพระ ทำให้วันพระเป็น "วันแห่งสติ" ของสังคมไทยอีกครั้ง (เป็นวันแห่งการละอายชั่วกลัวบาป วันแห่งบุญกุศล วันแห่งการรับธรรมโอสถ)  มาตรฐานขั้นต่ำอยู่ที่ เดือนละ ๔ ครั้ง หรือ  ปีละประมาณ ๕๐ ครั้ง

   ๒. ทำบุญใหญ่ร่วมกันทุกวันเพ็ญ มีกิจกรรมการแสดงออกร่วมกัน ถึงการทำบุญกุศลครั้งใหญ่ ละบาปอกุศลความชั่วครั้งใหญ่ ในระดับชุมชน หมู่ของครอบครัว หรือหน่วยงานองค์กรของตนเอง ในทุกๆ วันพระที่เป็นวันเพ็ญ(ขึ้น ๑๕ ค่ำ คืนจันทร์เต็มดวง)  มาตรฐานขั้นต่ำตกเดือนละ ๑ ครั้ง  หรือ ปีละ ๑๒ ครั้ง

   ๓. ทำบุญร่วมกันทุกสัปดาห์ มีกิจกรรมในระดับครอบครัวของตนเองหรือระดับส่วนบุคคล ที่ทำให้ได้ทำบุญ หรือเรียนรู้ธรรมะร่วมกัน หรือเป็นกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง  อาจเลือก ทุกวันเสาร์ ทุกวันอาทิตย์ หรือทุกวันพระ ก็ได้ ตามความสะดวกและเหมาะสม ซึ่งจะตกประมาณ ปีละ ๕๐ ครั้ง เป็นอย่างน้อย

http://www.youtube.com/watch?v=44pq7MBlQ-A#ws (http://www.youtube.com/watch?v=44pq7MBlQ-A#ws)

ถ้าทำอย่างนี้ได้สำเร็จ จะทำให้สังคมไทยพุทธ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่กว่า ๙๕ % ของสังคมไทย
ได้มีมาตรฐานขั้นต่ำสุด (minimum standard) ทางศีลธรรมกลับมาสักที
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ครอบครัวชุมชน ได้ละอายชั่วกลัวบาป  ใฝ่บุญใฝ่กุศล ทุก ๗-๘ วัน
เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ครอบครัวชุมชน ได้มีความอบอุ่นและรักใคร่สามัคคีกัน ทุก ๗-๘ วัน
ได้เกิดเป็นวิถีซ้ำๆ ที่ลงมือปฏิบัติกันจริงๆ มิใช่แค่สักแต่ว่ารณรงค์แต่ไม่มีกระบวนการ!!

ขอทุกท่านผู้มีสัทธาและปัญญาในพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ได้โปรดปรึกษาหารือคิดค้นกิจกรรมร่วมกัน แล้วร่วมกันดำเนินการกิจกรรมนั้นๆ ให้เกิดการสืบต่อต่อเนื่อง เกิดการยอมรับรู้สึกเป็นเจ้าของอย่างลงตัว จนกลายเป็นวิถีชีวิตชาวพุทธที่ดีงามในสังคมไทยขึ้นมาได้อีกครั้งหนึ่ง

แล้วถ้ามีความคืบหน้าอย่างไร ได้โปรดส่งข่าวสารให้ได้รับทราบและอนุโมทนาในบุญกุศลนี้ร่วมกันต่อไป


อ้างอิง
ธรรมอาสาสมัครเครือข่าย “๒,๖๐๐-๘๔ พุทธชยันตีเฉลิมราช”
https://docs.google.com/Doc?docid=0Aa-U51-jQfloZGR6MjY1aGtfNmNzZjd3NXI2&hl=en&pli=1 (https://docs.google.com/Doc?docid=0Aa-U51-jQfloZGR6MjY1aGtfNmNzZjd3NXI2&hl=en&pli=1)
ขอบคุณภาพจาก http://j5.tagstat.com/,http://gallery.palungjit.com/ (http://j5.tagstat.com/,http://gallery.palungjit.com/)