สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: somchit ที่ ธันวาคม 09, 2011, 06:06:37 am



หัวข้อ: อย่างนี้จัดเป็น ปีติ หรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: somchit ที่ ธันวาคม 09, 2011, 06:06:37 am
เมื่อตอนตี 4 ได้นั่งสมาธิ (10 นาที) กำหนดจิต พุทโธ แล้วเกิดอาการขนลุกขึ้นที่ ศรีษะ ตามตัว  1 ครั้ง
น้ำตาก็พรั่งพรูออกมา ไม่สามารถ สะกดระงับออาการปีิตินี้ ได้

เมื่อวานตอนที่นั่งทานข้าว ก็เกิดอาการขนลุกคล้าย ๆ กัน แต่ไม่มีน้ำตา ประมาณ  3 - 4  ครั้ง

ทั้งที่ไม่ได้ภาวนาอะไร ( แต่เมื่อตื่นขึ้นเช้านี้รู้สึกร่างกาย ดี และ สดชื่น เป็นอย่างมาก  ) 

ไม่แน่ใจว่า คืออาการปิติมั้ย  แล้วอาการปิติเกิดจากอะไร จะมีอยู่กับเราตลอดไปหรือไม่คะ

 :25:  :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: อย่างนี้จัดเป็น ปีติ หรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 10, 2011, 09:19:09 am
เป็นอาการที่พระลักษณะ เกิดขึ้นแก่ผู้ภาวนา นะจ๊ะในส่วนนี้

ส่วนหลังจากออกสมาธิ จิตยังจดจำ สภาวะ ได้อยู่ จึงมีอาการฟู ขึ้นเพราะจิตมีสมาธิ ได้ไวขึ้นด้วย เพียงจับที่อารมณ์ ใด อารมณ์ หนึ่ง เรื่องเดียวไม่ซัดส่ายออกไป ก็ จะมีลักษณะ คือ อาการของปีติ เกิดขึ้นทางใจ แต่ พระลักษณะ นั้นจัดเป็นอาการที่ควรจะมีในการภาวนา

 ที่สำคัญ คือ พระรัศมี นั้นหมายถึงการรวมจิตได้จริง ย่อมถืออุคคหนิมิต ที่เกิดนั้นเป็นอารมณ์ สมาธิ ได้

งานของสมาธิ ต้องอาศัย นิมิต ตั้งแต่ อุคคหนิมิต เป็นต้นไป

แต่การจะได้ อุคคหนิมิต นั้นต้องอาศัยนิมิต กรรมฐาน 3 ประการ เป็นผู้ปั้น คือ

   1.ปัคคาหะนิมิต  หมายถึง ที่ ๆ จิต ได้ปักหลักไว้ เป็น ฐาน จัดเป็น วิตก

   2.บริกรรมนิมิต หมายถึง คำภาวนา กำกับ เพื่อไม่ให้ใจฟุ้งในเบื้องต้น ในที่นี้ หมายถึง พุทโธ จัดเป็น วิจาร

   3.อุเบกขานิมิต หมายถึง การวางอารมณ์ การมีความเพียร ไม่ซัดส่าย ไม่วางธุระ แน่วแน่ มุ่งมั่น จัดเป็น วิตก วิจาร

   ส่วนใหญ่ผู้ ภาวนาจะมีปัญหาที่ อุเบกขานิมิต ที่ไม่เป็นสมาธิกันก็อยู่ที่นี่ พอจิตหลุดจา 1 และ 2 ก็จะตกข้างฝ่าย อดีต อนาคต และ ปัจจุบัน มีภาพปรากฏใน จิต เห็น ภาพ เป็น ตุ เป็น ตะ เป็น เืรื่องเป็นราว แล้วจิตก็หลุดจากสมาธิ เสวยอารมณ์ เวทนา จึงทำให้เกิดความท้อถอย ย่อ หย่อน ต่อการภาวนา ดังนั้น


   พระอาจารย์กรรมฐาน จึงแก้อารมณ์กรรมฐาน ให้กับศิษย์กรรมฐาน ด้วยการวางลำดับพระกรรมฐาน ดังนั้นผู้ใดแม่นในลำดับกรรมฐาน ก็หมายถึง วาง อุเบกขานิมิต ได้


   ส่วนคำถามที่ถามว่า จัดเป็นปีติ หรือ ไม่ ?

     ก็ขอตอบว่า จัดเป็นปีติ เป็นอารมณ์ภาวนา จริง

  ส่วนการที่ ปีติ ( ที่หมายถึงว่า ยังมีอยู่ นั้น ) เป็นเพราะจิตที่เป็นสมาธิ จดจำอารมณ์ได้ และมีความยินดีในปีติ ซึ่งจัดเป็นเบื้องต้นแห่งความสุข และ ปรารถนาอยู่ในสุข ยิ่งขึ้นไป จึงได้พอกพูนอารมณ์ปีติให้เกิดขึ้นเป็นธรรมสภาวะ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องดี สำหรับผู้ภาวนา เพราะจะไปถึง สุข อันประณีต มีฉันทะในการภาวนามากขึ้น

  เจริญธรรม อนุโมทนากับระดับความก้าวหน้านี้ด้วย

  ;)