หัวข้อ: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ ธันวาคม 20, 2011, 08:46:27 am พิจารณา จาก คำพูดที่ว่าผู้บรรลุธรรม ต้องเป็นผู้ออกบวช
แต่ถ้าเทียบในสมัยครั้งพุทธกาล แล้วผู้ที่ไม่ออกบวชมาก่อน แล้ว บรรลุเป็นพระอรหันต์ ก็มีมากใช่หรือไม่ครับ บางท่านก็สร้างกรรม ผิดศึล ก็มากมาย เช่น องคุลีมาล หรืออำมาตย์ ( จำชื่อไม่ได้ )เป็นต้น ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่าการบรรลุธรรม ต้องอาศัย ศีล เป็นต้น อย่างนี้ จะผิด หรือ ถูก ครับ อยากให้ทุกท่าน ร่วมแสดงความคิดเห็นกันครับ :49: หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: namtip ที่ ธันวาคม 20, 2011, 10:40:19 am อำมาตย์ ที่กล่าวถึง น่าจะเป็น สันตติอำมาตย์ ใช่หรือไม่คะ
เคยอ่านผ่าน ๆ มา คะ แต่การภาวนา ถ้าเราจะทิ้งศีล จะดีหรือคะ ? :smiley_confused1: หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 20, 2011, 11:03:37 am การศึกษาพุทธธรรม เบื้องต้นต้องรู้มรรคมีองค์ ๘
มรรคนี้แบ่งเป็นไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เจ้าของกระทู้ดูเหมือน จะพยายามถามว่า องคุลีมาร ไม่ใช่พระ และก็ไม่มีศีล เพราะฆ่าคนมาเยอะ อีกคนคือ สันตติมหาอำมาตย์ ก็เพิ่งกลับจากการไปรบชนะศึกมา ต้องฆ่าคนมาเยอะเช่นกัน และอีกอย่างอำมาตย์คนนี้ ก็เพิ่งดื่มเหล้ามา แล้วทำไมทั้งสองคน จึงบรรลุธรรมได้ ทั้งๆที่ไม่มีศีล เรื่องนี้ขออธิบายด้วย จักร ๔ จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมายมี ๔ อย่างคือ ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ ๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ ๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) การที่คนเราจะพบธรรมได้ ต้องมีประกอบตามข้อธรรมของจักร ๔ เราลองมาพิจารณาทีข้อ ข้อแรก อยู่ในถิ่นที่เหมาะ ถิ่นที่อยู่ขณะนั้นมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ต้องเหมาะแน่นอน ข้อสอง สมาคมกับคนดี ได้สนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า ก็ถือว่า คบคนดีแล้วครับ ข้อสาม ตั้งตนไว้ชอบ ตั้งใจฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า มีจิตน้อมตามจนได้บรรลุธรรม ทุกอย่างก็ชอบแล้ว ข้อสี่ ได้ทำความดีไว้ก่อน เรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้งสองคนบรรลุธรรม หากทั้งสองไม่ได้สร้างบารมีธรรมมาในชาติก่อนๆ คงเป็นไปไม่ได้ที่จะบรรลุธรรม คนทั้งสองมีบารมีธรรมที่เต็มพอที่จะบรรลุอรหันต์ได้ แล้วอกุศลกรรมเก่าที่ทำมาก็ตามไม่ทัน อกุศลกรรมที่ทำมาไม่อาจขวางมรรค ผล นิพพานได้ กรรมที่ขวางนิพพานได้ต้องเป็น "อนันตริยกรรม"เท่านั้น นั่นคือ เหตุผลที่พระพุทธเจ้าต้องรีบไปห้ามองคุลีมารไม่ให้ฆ่าแม่ :25: หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ทินกร ที่ ธันวาคม 20, 2011, 12:48:38 pm ศิลปะวิชาในสมัยนั้น ส่วนใหญ่แล้วเกี่ยวข้องกับเรื่องจิตเป็นฐานสำคัญเลยครับคนในสมัยนั้น เป็นผู้มีปัญญามากเพราะสั่งสมอบรมมาดี แต่เด็กแล้ว ส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นที่เข้าใจอยากหน่อยสำหรับคนที่ไม่เชื่อ ก็คือ เป็นผลมาจากชาติก่อนๆ ที่ทำไว้
คนสมัยนั้น มีสมาธิ สูงแน่ๆ เพราะวิชาต่างๆ รวมถึงการต่อสู้ ก็ต้องมีจิตที่เป็นสมาธิจึงเป็นอานิสงค์ในส่วนหนึ่งเท่านั้นว่า ทำไม ฟังธรรม จากพระพุทธเจ้าแล้ว เข้าใจถึงแก่น ได้ในทันที ไม่เชื่อลอง พิจารณา จิตตัวเองดูซิครับ คิดเสียว่ามันเป็นลิง แล้วจับลิงผูกไว้ที่ใดที่หนึ่งดูซิว่ามันอยู่ไหม ปล. อันนี้เป็นความเห็นผมเท่านั้นนะ หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ ธันวาคม 21, 2011, 09:33:12 am ศีล กับ วินัย เป็นเรื่องเดียวกัน หรือ ไม่ การตีความ อาจจะยังไม่เข้าใจในส่วนนี้อยู่นะครับ
:smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1: หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 21, 2011, 11:36:15 am ศีล กับ วินัย เป็นเรื่องเดียวกัน หรือ ไม่ การตีความ อาจจะยังไม่เข้าใจในส่วนนี้อยู่นะครับ ศีล ความประพฤติดีทางกายและวาจา, การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย, ข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีพ; มักใช้เป็นคำเรียกอย่างง่ายสำหรับคำว่า อธิศีลสิกขา (ข้อ ๑ ในไตรสิกขา, ข้อ ๒ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๒ ในอริยทรัพย์ ๗, ข้อ ๒ ในอริยวัฑฒิ ๕) วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม, ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ; วินัย มี ๒ อย่างคือ ๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์ ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔ ๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หากพิจาณา"กุศลกรรมบถ" ของฆราวาสแล้ว ก็อยู่ในวินัยพระ ๒๒๗ เช่นกัน หากพิจารณา "ศีลสิกขา" เป็นการสำรวมกาย วาจา ใจ วินัยของพระและวินัยของฆราวาสก็มีจุดประสงค์เดียวกัน และที่สำคัญมรรคมีองค์ ๘ ก็ปฏิบัติตามได้ทั้งพระและฆราวาส :25: หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: modtanoy ที่ ธันวาคม 21, 2011, 11:46:10 am มีผู้ปฏิบัติ ที่ไม่ต้องเข้าเรื่อง ศีล มาก่อน ก็สามารถ ปฏิบัติได้
ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านพลัม ก็แสดงให้เห็นว่า บางครั้งเรายึดติดในเรื่อง หยุมหยิม คือ วิันัยกรอบสงฆ์ มากเกินไป เปอร์เซ้นนักปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่แล้ว ก็นับถือ ศีล 5 คะ ส่วนพระสงฆ์ ที่มีศีลมากมาย น้อยท่านที่จะปฏิบัติ สำเร็จได้คะ จะห็นว่า เราแทบไม่ได้ิยินข่าวพระสงฆ์ ที่ปฏิบัติได้ดี หรือตรง ชอบ อย่างมากมาย ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทย มีพระสงฆ์ เป็นแสน ๆ คะ ดังนั้น คิดว่า ศีล ทำให้เป็นปกติ เป็นนิสัย อันนี้น่าจะเป็น ศีล คะ ในครั้งพุทธกาล ยสกุลบุตร ไม่ได้มีศีลมาก่อน ไม่ได้ฝึกสมาธิมาก่อน แต่่ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ ดังนั้น คำถามนี้จัดว่าเป็น คำถามที่ดีคะ เพราะแสดงให้เห็นว่า ปัญญา เป็นเลิศกว่า ศีล บุคคลจะถึงการบรรลุธรรมได้ ก็เพราะปัญญา ดังนั้น สะสมการฟังธรรม เรียนธรรม ให้มาก ก็สามารถ บรรลุธรรมได้คะ ดิฉัน มีเพื่อนเป็น หมอ พยาบาล ก็หลายท่านส่วนมาก พอได้ฟังธรรมก็จะเปลี่ยนบุคลิกใหม่ หันมาภาวนามากขึ้น ฟังธรรม ส่งเสริมธรรมกันมากขึ้นคะ แสวสว่างใด เสมอด้วยปัญญา ไม่มี :88: :58: หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ทินกร ที่ ธันวาคม 21, 2011, 11:56:47 am มีผู้ปฏิบัติ ที่ไม่ต้องเข้าเรื่อง ศีล มาก่อน ก็สามารถ ปฏิบัติได้ ล่อแหลมครับ คำถามนี้ เข้าทางชี้แนว ไปในทางใดทางหนึ่งก็ได้ ผู้มีปัญญา อันที่จริงคือผู้รู้วิชชา การฟังธรรมให้เข้าใจจึงเป็นเรื่องง่าย เช่นรู้อยู่แล้วว่า ทุกคนมีความตายเป็นที่พึง หลีกหนีไม่ได้ แล้วพิจารณาเป็นอารมณ์ ทำให้เพิกถอนกิเลสบางส่วนลงเสียได้ แบบนี้ถึงเรียกว่าเป็นผู้มีปัญญาครับ ซึ่งวิชชา ก็คือความจริงซึ่งไม่ใช่ความจริงทางโลก หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: indy ที่ ธันวาคม 29, 2011, 06:43:44 am ผมคิดว่าศีลมีความสำคัญมาก ถ้าไม่มีศีลกำกับโอกาสที่จะเป็นสัมมา ก็น้อยลง
ลองคิดดูว่า พระโสดาบัน พระสกิทากามี ใช้ศีล ๕ คุม แต่พระอนาคามี ต้องเป็น ศีล ๘ พระอรหันต์ ก็ ๒๒๗ ไม่งั้นธาตุในร่างกายจะรับไม่ได้ มีคนเคยพูดว่าถ้าเป็นอรหันต์ ถ้ายังถือแปดอยู่ จะรับได้แค่วันเดียว ทั้งหมดก็ลองพิจารณาดูครับ หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: lamai54 ที่ ธันวาคม 29, 2011, 07:53:17 pm สิกขาบถ พระพุทธเจ้า บัญญัติ ทีหลังนะคะ 227 ข้อ ในพระไตรปิฏก กับ อีก 5000 กว่าข้อนอกพระไตรปิฏก
ความจริงยังไม่มีตอนที่พระพุทธเจ้า บวชให้กับ พระอัญญาโกณฑัญญะ และ ภิกษุ 60 รูป จนกระทั่ง ชฏิล 3 พี่น้อง อีก 1000 ก้เป็นพระอรหันต์ ตอนนั้นไม่มีสิกขาบถ เพราะมีแต่ พระอรหันต์ เชื่อว่า ศีลนั้น มีไว้ให้ผู้ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ คะ เพราะว่า พระอรหันต์ พระพุทธเจ้าไม่ปรับอาบัติคะ :25: :smiley_confused1: :c017: หัวข้อ: Re: การที่เราจะบรรลุธรรม เกี่ยวกับ ศีล หรือ ไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 29, 2011, 08:34:10 pm สิกขาบถ พระพุทธเจ้า บัญญัติ ทีหลังนะคะ 227 ข้อ ในพระไตรปิฏก กับ อีก 5000 กว่าข้อนอกพระไตรปิฏก ปาริสุทธิศีล ๔ (ศีลคือความบริสุทธิ์, ศีลเครื่องให้บริสุทธิ์, ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล ) ๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย) ๒. อินทรียสังวรศีล (ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖) ๓. อาชีวปาริสุทธิศีล (ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบอเนสนา มีหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพเป็นต้น) ๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล (ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัย ๔ ได้แก่ ปัจจัยปัจจเวกขณ์ คือ พิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ ให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา) อ้างอิง วิสุทฺธิ.๑/๑๙; สังคห.๕๕. ืที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มาช่วยคุณละมัยครับ วิันัย ๒๒๗ ข้อ น่าจะเป็น ปาฏิโมกขสังวรศีล และ ปัจจัยสันนิสิตศีล พระพุทธเจ้าบัญญัติเอาไว้ ส่วน ข้อ ๒ และ ๓ น่าจะเป็นของ โคตรภูบุคคล และอริยบุคคล :25:
พระอานนท์ หลังสำเร็จอรหันต์ ไปสังคยานาพระไตรปิฎก โดนพระเถระปรับอาบัติ โทษฐาน ไม่ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า "สิกขาบทเหล่าไหน เป็นสิกขาบทเล็กน้อย" ลองไปอ่านกระทู้นี้ครับ เมื่อ “พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า” และ “พระอานนท์ไม่เห็นด้วยกับพระเถระ" http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=583.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=583.0) :25: |