หัวข้อ: ทำไม ต้องเข้า สลับ พระธรรมปีติ ครับ เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ ธันวาคม 28, 2011, 11:41:25 am คือปกติ แล้วผม ชอบการเดิน พระธรรมปีติ แบบ อนุโลม และ ปฏิโลม แต่ทำไม พระอาจารย์สอนให้สลับ พระธรรมปีติ ด้วยครับ คือไม่ค่อยจะเข้าใจ เพราะกรรมฐาน ต้องปฏิบัติไปตามลำดับ การ สลับนั้น บางครั้ง ก็กระโดดข้ามขั้น ไป จึงเห็นว่า ไม่เป็นไปตามลำดับ ครับ
คือยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ แต่ก็ปฏิบัติตามนะครับ :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1: หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเข้า สลับ พระธรรมปีติ ครับ เริ่มหัวข้อโดย: วิชชุดา ที่ ธันวาคม 28, 2011, 12:51:37 pm (http://www.madchima.net/images/717_peeti_2.jpg)
คิดว่า มีความจำเป็นนะคะ หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเข้า สลับ พระธรรมปีติ ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 29, 2011, 10:12:58 am เพื่อให้เกิด วสี ความชำนาญในการเข้าออกตามฐาน จิต และมีประโยชน์ ในการเปลี่ยน ฌาน
ดังนั้น จึงต้องมีการเข้าสลับ เรียกว่า เข้าสับ เข้าคืบ แต่ละฐานจิต ซึ่งยังมีประโยชน์ต่อเนื่อง ไปถึงการฝึก นวหรคุณ และ วิชาธรรมที่หลวงปู่ ถ่ายทอดอีกหลายวิชา เพื่อเป็นการนำออก ซึ่งการติด ปีติ ติดสุข ด้วยอีกประการหนึ่ง สมาธิ ต้องมี วสี ถึงจะใช้งานได้ ถ้าขาด วสี (ความชำนาญ )ก็ขาดองค์สมาธิ วสี 5 (ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามัคค์ มหาวรรค ญาณกถา ข้อ ๒๒๕) คือ อาวัชชนวสี ความชำนาญในการนึกถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปราถนา สมาปัชชนวสี ความชำนาญในการเข้าฌาน คือ ให้ฌานจิตเกิดได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปราถนา อธิษฐานวสี ความชำนาญในการให้ฌานจิตเกิดดับสืบต่อนานมากน้อย ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา วุฏฐานวสี ความชำนาญในการออกจากฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญในการนึกถึงองค์ฌานแต่ละองค์ได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ฌานวิถี ดังนี้ ภวังคจิต เป็น มหาวิบากญาณสัมปยุตต์ ภวังคจลนะ เป็น มหาวิบากญาณสัมปยุตต์ ภวังคุปัจเฉทะ เป็น มหาวิบากญาณสัมปยุตต์ มโนทวาราวัชชนะ เป็น อเหตุกกิริยา บริกัมม์ เป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต์ อุปจาระ เป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต์ (ประเภทเดียวกับบริกัมม์) อนุโลม เป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต์ (ประเภทเดียวกับบริกัมม์) โคตรภู เป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต์ (ประเภทเดียวกับบริกัมม์) ปฐมฌานกุศลจิต เป็น รูปาวจรกุศลจิต ภวังคจิต เป็น มหาวิบากญาณสัมปยุตต์ เจริญธรรม ;) (http://www.madchima.net/images/634_hpKantong.jpg) |