หัวข้อ: อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ อะไร คะ เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ ธันวาคม 28, 2011, 03:22:09 pm อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ อะไร คะ
อ่านพบในพระสูตร แต่ไม่เข้าใจคะ :c017: :25: :58: หัวข้อ: Re: อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ อะไร คะ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 28, 2011, 10:15:47 pm (http://www.84000.org/tipitaka/picture/p40.jpg) ปาฏิหาริย์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์, เรื่องที่น่าอัศจรรย์, การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ มี ๓ คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์ ใน ๓ อย่างนี้ ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมเป็นประเสริฐ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ อนุศาสนี, คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์ (ข้อ ๓ ใน ปาฏิหาริย์ ๓) ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เรื่อง"อนุสาสนีปาฏิหาริย์" อยู่ใน "เกวัฏฏสูตร" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ๑๑. เกวัฏฏสูตร เรื่องนายเกวัฏฏ (ชาวประมง) เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๗๓๑๗ - ๗๘๙๘. หน้าที่ ๓๐๖ - ๓๒๙. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=7317&Z=7898&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=7317&Z=7898&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=338 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=338) (http://www.84000.org/tipitaka/picture/p47.jpg) ๑๑. เกวัฏฏสูตร สูตรว่าด้วยการแสดงธรรมแก่บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่ามะม่วงของปาวาริกะ ใกล้เมืองนาฬันทา . ณ ที่นั้น บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะเข้าไปเฝ้า ขอให้ทรงชวนภิกษุผู้แสดงอิทธปาฏิหาริย์ได้ให้แสดง ก็จะมีคนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พระองค์มิได้แสดงธรรมว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านจงแสดงอิทธปาฏิหาริย์แก่คฤหบดีผู้นุ่งผ้าขาว. แม้ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ บุตรคฤหบดีชื่อเกวัฏฏะ ก็ยังยืนยันจะให้ทรงชวนภิกษุผู้แสดงอิทธปาฏิหาริย์ได้ให้แสดง ก็จะมีคนเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้น. พระผู้มีพระภาคจึงทรงชี้แจงว่า ปาฏิหาริย์ที่ทรงทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งด้วยพระองค์เองและประกาศแล้ว มีอยู่ ๓ อย่าง คือ ๑ . อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์. ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจทายใจได้เป็นอัศจรรย์. ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ สั่งสอน ( มีเหตุผลดี ) เป็นอัศจรรย์. แล้วทรงอธิบายวิธีแสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ และสรุปในที่สุดว่า คนที่ไม่มีความเชื่อความเลื่อมใสก็อาจกล่าวได้ว่า ภิกษุที่แสดงฤทธิ์ได้นั้น เพราะมีคันธารวิชา ( วิชชาของคันธาระ). อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจทายใจของคนได้ คนที่ไม่มีความเชื่อ ความเลื่อมใส ก็อาจกล่าวได้ว่า ภิกษุที่ดักใจทายใจได้นั้น ก็เพราะมีมณีกาวิชา. ครั้นแล้วทรงแสดงถึงอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือการสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ ว่าควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร ตลอดจนการปฏิบัติได้ผลในศีล ๓ ประเภท ในฌาน ๔ ในวิชชา ๘ ( ดั่งกล่าวไว้แล้วในสมมัญญผลสูตร). แล้วทรงเล่าถึงภิกษุรูปหนึ่งข้องใจในปัญหาที่ว่า ธาตุ ๔ เป็นต้น จะดับโดยไม่เหลือในที่ไหน ภิกษุรูปนั้นเที่ยวตระเวนถามเทวดาต่าง ๆ จนกระทั้งถึงท้าวมหาพรหมก็ตอบไม่ได้ ในที่สุดท้าวใหาพรหมขอให้มาถามพระพุทธเจ้า ซึ่งตรัสสอนเป็นใจความรวบยอดว่า ดับวิญญาณเสียได้ ธาตุ ๔ เป็นต้น ก็ดับไม่เหลือในที่นั้น. ( เป็นการแสดงว่าฤทธิ์ช่วยแก้ปัญหาไม่ได้ แต่คำสั่งสอนสำคัญกว่า ) . (http://www.84000.org/tipitaka/picture/p62.jpg) ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ) http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/1.4.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/1.4.html) |