หัวข้อ: ใคร ๆ ก็อินเทรนด์ กับ วันสิ้นปี เลยเกิดความสงสัยว่า ..... เริ่มหัวข้อโดย: ก้านตอง ที่ ธันวาคม 28, 2011, 03:28:10 pm ใคร ๆ ก็อินเทรนด์ กับ วันสิ้นปี เลยเกิดความสงสัยว่า .....
สำหรับนักปฏิบัติธรรม ภาวนาแล้ว วันส้ินปี กับ วันนี้ มีความแตกต่าง อะไร กันหรือไม่คะ มีความสำคัญ กว่า กัน และ กันอย่างไรดะ :25: :58: :hee20hee20hee: หัวข้อ: Re: ใคร ๆ ก็อินเทรนด์ กับ วันสิ้นปี เลยเกิดความสงสัยว่า ..... เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 28, 2011, 10:41:11 pm อยาก "อิน" ไม่อยาก "เอาท์" นี่เลย ไปอ่านซะ.. "ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว ไม่ควรหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง" http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5792.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5792.0) หนูก้านตอง ไปอ่านก่อนนะคะ มีเวลาจะมาคุยอีกที :s_good: :49: :s_good: หัวข้อ: Re: ใคร ๆ ก็อินเทรนด์ กับ วันสิ้นปี เลยเกิดความสงสัยว่า ..... เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 30, 2011, 08:40:12 pm กระทู้แนะนำให้อ่าน "กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวง กับทั้งตัวเองด้วย" http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6061.msg22713#msg22713 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6061.msg22713#msg22713) "กาลเวลากลืนกินสรรพสิ่ง" http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2442.msg8854#msg8854 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2442.msg8854#msg8854) :49: :49: :49: สำนวนและคำคม Joy and sorrow are as near as today and tomorrow. ความสุขกับความทุกข์อยู่ใกล้กันเหมือนวันนี้กับวันพรุ่งนี้ Time and tide wait for no man" เวลาและกระแสน้ำไม่เคยคอยใคร อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง :s_good: :s_good: :s_good: หัวข้อ: Re: ใคร ๆ ก็อินเทรนด์ กับ วันสิ้นปี เลยเกิดความสงสัยว่า ..... เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 31, 2011, 06:34:52 am ใคร ๆ ก็อินเทรนด์ กับ วันสิ้นปี เลยเกิดความสงสัยว่า ..... อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ,เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว; อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า “ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่ ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่ ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง (ข้อ ๑. ท่านเติมท้ายว่า อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่า เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๓. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้) ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หนูก้านตองครับ ผมพยายาม หาคำตอบงามๆให้หนูมาหลายวัน แต่ก็คิดไม่ออก เช้านี้นึกออกแล้ว ขอนำพุทธพจน์ ที่ว่า "วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่" ประโยคนี้อยู่ใน "อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต พุทธวจนะนี้สะท้อนให้เห็นว่า วันคืนผ่านไป ไม่ว่าจะปีใหม่หรือปีเก่า เราได้ปฏิบัติธรรมไปถึงขั้นไหนแล้ว ยังโลภอยู่ไหม ยังโกรธอยู่ไหม และยังหลงอยู่หรือเปล่า ยังมีพุทธพจน์ที่ควรระลึกถึง ก็ คือ "กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวง กับทั้งตัวเองด้วย" ประโยคนี้อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ พุทะวจนะนี้ ชีให้เห็นว่า กาลเวลายิ่งผ่านไป ร่างกายเรายิ่้งเสื่อมลงเรื่อยๆ เหมือนถูกเวลากลืนกิน การฉลองวันเกิด หรือฉลองเทศกาลต่างๆ ล้วนแต่เป็นการฉลอง "ความเสื่อมของร่างกายตัวเองทั้งสิ้น" การที่จะหลีกเลี่ยงกาลเวลาไม่ให้กลืนกินเราได้นั้น เราต้องเปลี่ยนจากเป็นผู้ถูกกลืนกิน เป็นผู้กลืนกินกาลเวลา ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว." (หมายถึงการสิ้นกิเลสเป็นอรหันต์) และสุดท้ายครับ ต้องปิดด้วย ธรรมคุณ ๖ ประการ ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็น อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล ดังนั้น "พุทธธรรม" จึงไม่มีปีเก่า ไม่มีปีใหม่ มีผลเป็นจริงได้ทุกสถานการณ์ :25: |