สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มกราคม 09, 2012, 08:46:42 pm



หัวข้อ: 'ไทย-นอร์เวย์'ร่วมมือศึกษา-วิจัยพุทธศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 09, 2012, 08:46:42 pm

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2012/01/09/bbk6cifgbbh9f78e9bhbb.jpg)

ไทย-นอร์เวย์'ร่วมมือศึกษา-วิจัยพุทธศาสนา

ไทย-นอร์เวย์ ลงนาม MOU ว่าด้วย ความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัยทางด้านพุทธศาสนา และแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน มหาจุฬาฯร่วมมือกับชาวพุทธเอเซียสร้างสันติภาพผ่านวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนา

9 ม.ค.2555 มีรายงานว่า พรรณนภา จันทรารมย์ อุปทูตไทย ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม MoU ระหว่างมหาวิทยาลัยออสโล (University of Oslo : UiO)  และสถาบันวิจัยธรรมชัยนานาชาติ   (Dhammachai International Research Institute : DIRI) โดยศาสตราจารย์ Arne Bugge Amundsen หัวหน้าภาควิชา Culture Studies and Oriental Languages ได้กล่าวต้อนรับคณะฯ และแสดงความยินดีที่มหาวิทยาลัยออสโล และสถาบันวิจัยธรรมชัยนานาชาติ

ที่จะมีความร่วมมือทางการศึกษาและการวิจัยทางด้านพุทธศาสนา รวมถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน  ด้านพระครูปลัดนายกวรวัฒน์ ประธานของ Board of Directors, DIRI ได้กล่าวตอบขอบคุณมหาวิทยาลัยออสโล พร้อมแสดงความหวังว่า MoU ฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมให้การศึกษาด้านพุทธศาสนาให้กว้างขวางและทั้งสองสถาบันฯ จะได้มีความความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไป

     หลังจากนั้น ได้เป็นการลงนามใน MoU โดยพระครูปลัดนายกวรวัฒน์ เป็นผู้แทนลงนามฝ่ายไทย และศาสตราจารย์ Trine Syvertsen คณบดีคณะมนุษย์ศาสตร์เป็นผู้ลงนามแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยออสโล หลังจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร. เจนส์ บราร์วิก ได้กล่าวว่า

    การลงนามครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ได้มีการอัญเชิญธรรมเจดีย์ฯ ไปแสดงที่ประเทศไทย  ซึ่ง MoU ฉบับนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ทางด้านการศึกษาระหว่างไทย-นอร์เวย์ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. เจนส์ บราร์วิก ได้แสดงความสนใจที่จะมีความร่วมมือกับคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการร่วมมือกันทำงานวิจัยเพิ่มมากขึ้น

มหาจุฬาฯร่วมถกสร้างสันติภาพเอเซีย

       เมื่อเร็วๆนี้ พระธรรมโกศาจารย์, ศ.ดร. ได้มอบหมายให้พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ผศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และพระมหาราชัน จิตฺตปาโล รองผู้อำนวยการกองวิชาการ เดินทางไปปฏิบัติราชการในนามของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ

      เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนากับองค์ทางพระ พุทธศาสนากับอีก 13 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ลาว พม่า ศรีลังกา มาเลเซีย เวียดนาม จีน และกัมพูชา ในงาน "Asian Festival of Buddhist Culture" ครั้งที่ 1 ซึ่งรัฐบาลประเทศกัมพูชา และจีนได้เป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดงาน

       โดยมีนางเมน สาม อาน (Lok Chumteave Men Sam An) รองนายกรัฐมนตรี และนายมิน ขิน (Min Khin) รัฐมนตรีตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและศาสนาให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกตั้งแต่พิธีที่พนมเปญจนถึงพิธีการแสดงทางวัฒนธรรมและพิธีปิดที่เสียมเรียบ

       ในการนี้ ประเทศไทย ภายใต้การประสานงานของ 3 หน่วยงานหลักคือ มหาจุฬาฯ กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมปรึกษาหารือประเด็นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และนำการแสดงศิลปะ และวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาไปจัดแสดงหน้าอังกอร์วัด

       ในหัวข้อการแสดงทางวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่อง "พุทธานุภาพอุบัติในโลกา ทวยเทวาและปวงประชาปีติ" ซึ่งประเด็นสำคัญได้แสดงให้เห็นถึงการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้านั้น ได้ทำให้พระอิศวร ปวงเทวา และมวลประชาทุกหมู่เหล่าค้นพบ "พลังแห่งสันติสุข" ทั้งในชีวิต ชุมชน และสังคม

       วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังที่จะนำหลักการทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันของประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในแทบอินโดจีน ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแหล่งอารยธรรมในการเชื่อมประสานกลุ่มคนต่างๆ ตั้งแต่ภูเขาหิมาลัยไหลผ่านจากประเทศจีน พม่า ลาว กัมพูชา ไทย และเวียดนาม มาอธิบาย

       และนำเสนอผ่านการแสดงทางศิลปะวัฒนธรรม เช่น การฟ้อน และการร้องรำ ที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับวิถีของพระพุทธศาสนา ที่หล่อหลอมให้กลุ่มคนในลุ่มน้ำสามารถดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนฐานของวัฒนธรรมดังกล่าว

       ในโอกาสดังกล่าวนี้ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการได้ร่วมกล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "World Peace and Buddhist Culture" เพื่อนำเสนอแนวทางการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างเพื่อนร่วมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พี่น้องชาวไทยและกัมพูชาซึ่งมีรากฐานวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นแกนกลางหล่อหลอมวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของชนในชาติทั้งสองประเทศ

       ฉะนั้น ในสถานการณ์ของความไม่เข้าใจ และความหวาดระแวงในมิติการเมืองระหว่างประเทศนั้น วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาที่ประสานและสอดคล้องกันจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งต่อการนำมาเชื่อมประสานความสัมพันธ์ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

      "สถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบันนี้ เต็มไปด้วยความขัดแย้งและความรุนแรง วัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นภูมิปัญญาสำคัญของโลกที่จะเข้ามาช่วยฟื้นฟู เยียวยา และเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งของกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคมไปสู่มิติที่ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันโดยการใส่ใจคุณค่าของความเป็นมนุษย์ จนนำไปสู่แบ่งปันความสุข และความทุกข์ระหว่างกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคม"

      "อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนต่างๆ ตกอยู่ในภายใต้อำนาจของตัณหา ทิฏฐิ และมานะ จึงทำให้เกิดการแย่งชิงผลประโยชน์และความต้องการโดยไม่ตระหนักรู้ และใส่ใจต้องการของการคนอื่นๆ การยึดมั่นในความเห็นของตัวเอง หรือกลุ่มตนถูกต้องและเหมาะสมกว่าคนอื่นๆ และการหยิ่งลำพอง และใช้อำนาจทั้งด้านเศรษกิจ การเมือง และสังคมไปเบียดเบียน และกดทับบุคคลอื่นๆ
      ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ความขัดแย้งซึ่งไม่ได้รับการจัดการที่ดีได้พัฒนาตัวเองไปสู่ความรุนแรงจนยากต่อการสร้างความปรองดอง"
 
      "การสร้างสันติภาพอย่างแท้จริงนั้น ไม่ใช่การเพียรสร้างเฉพาะสันติภาพภายนอกเพื่อสนองตอบผลประโยชน์และความต้องการผ่านกระบวนการเจรจากันเอง และการไกล่เกลี่ยคู่กรณีเท่านั้น หากแต่ควรเน้นหนัก และเสริมสร้างกระบวนการพัฒนาสันติภาพภายในให้มีความต่อเนื่องและยั้งยืน
      การสร้างสันติภาพภายในต้องเริ่มต้นจากจิตใจ โดยการกระตุ้นเตือนให้เกิดความรัก และปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลก อ้นจะก่อให้เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และความเป็นเอกภาพของชุมชนและสังคม"



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20120109/119800/ (http://www.komchadluek.net/detail/20120109/119800/)ไทยนอร์เวย์ร่วมมือศึกษาวิจัยพุทธศาสนา.html