สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ มกราคม 17, 2012, 12:41:58 pm



หัวข้อ: อาถรรพ์ป่าคำชะโนด : ป่าผืนสุดท้าย ต้นไม้ 2,000 ปี
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ มกราคม 17, 2012, 12:41:58 pm
 ชื่อของป่าคำชะโนดเริ่มเป็นที่รู้จักไปทั้งประเทศพร้อม ๆ กับข่าวอื้อฉาวเรื่อง  “เปรต” แม้อาจารย์กู้ หรือนายกิตติ  ปภัสโรบล  จอมลวงโลก  เจ้าตำหรับสร้างเปรตตุ๋นคน  สิ้นฤทธิ์สิ้นเดชถูกจับยัดเข้าห้องขังไปโรงเรียนเปรตเรียบร้อยแล้ว  แต่ชื่อของ  “ป่าคำชะโนด” ยังอยู่ในความสนใจของผู้คน  ว่ามี ลักษณะ ความเป็นมาอย่างไร  เพราะป่าแห่งนี้คือสถานที่ที่อาจารย์กู้เลือกเป็นโลเกชั่นในการสร้างสถานการณ์เปรตโดยหลอกลวงผู้คนให้เข้าไปดู           
เกาะคำชะโนดดินแดนที่หลายคนเชื่อว่าทุกตารางนิ้วมีความศักดิ์สิทธิ์  ชาวบ้านหลายชั่วอายุคนเชื่อกันว่าใต้คำชะโนดเป็นเมืองบาดาลมีพญานาค  ชื่อ พญาศรีสุทโธนาค ปกครองอยู่  มีทางขึ้นลงเชื่อมระหว่างเมืองบาดาลกับโลกมนุษย์ในดงคำชะโนด  ซึ่งเรียกกันว่าบ่อน้ำ


(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQb2g9L_6eE7y1Q6-L3W28F_6DlOMeP6xqeshHMKeQX_44Q6xXg)

                คำชะโนดมีลักษณะเป็นเกาะลอยน้ำ  และมีตำนานเกี่ยวกับพญานาคโดยตรง  มีเรื่องราวแปลกประหลาดมากมาย  เป็นเรื่องโด่งดังมาแล้วทั้งประเทศไม่ว่าจะเป็นเปรตกู้และผีจ้างหนัง(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSvHcIruoU2yjbTGHqRE0V0AFyPBF35zatpe7-r8iAoRX9T7Onb)

มีบุคคลนิรนามไปติดต่อบริษัทหนังเร่แห่งหนึ่ง ซึ่งรับฉายหนังเร่ในตัวเมืองอุดร ให้เอาหนังกลางแปลงไปฉายที่บ้านวังทองในอัตราค่าจ้างสี่พันบาท  โดยมีสัญญาข้อหนึ่งว่าให้ฉายหนังถึงตี  4 เท่านั้น  พอถึงตี 4 ให้รีบเก็บข้าวของออกไปจากสถานที่ฉาย  อย่าอยู่จนถึงสว่าง เป็นเงื่อนไขที่ค่อนข้างจะแปลกอยู่สักหน่อย  แต่ผู้จัดการบริษัทหนังเร่ก็ไม่ติดใจอะไร  กลับจากฉายหนังพวกคนงาน เดินทางกลับมาเล่าเรื่องประหลาดให้เจ้าของฟังว่า ได้ไปฉายหนังให้ผีดู

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTCamrihRUEHHVsXXIi-fwlhTeZFlOUO0jZksEUzvFEGgbHX7VPNA)

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSK6jF_kpEQhb73u6-s0iFsOcyDAWGBjcxnadSel06cyhqeTnstFA)

  ผีจ้างหนัง :  มหรสพโลกวิญญาณ   

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR4NEvPSA0uGn4yrXpKgexzm-4kQOK3QlN4Q0-avYU5FWmKpbLFdQ)

สถานที่แห่งนี้กลายเป็นสถานที่ที่รู้จักไปทั่วประเทศจากเรื่องเล่าผีจ้างหนังโดยมีบุคคลนิรนามไปว่าจ้างหน่วยฉายหนังเร่แจ่มจันทร์ภาพยนตร์ในตัวเมืองอุดรธานีไปฉายหนังในเกาะคำชะโนด   และพบว่าละแวกที่ฉายหนังนั้นไม่มีหมู่บ้านใด ๆ โดยคนในหมู่บ้านใกล้เคียงแถวนั้นก็ยืนยันว่า ไม่ได้เดินทางมาดูหนังคืนนั้น  แต่คนฉายหนังก็ยืนยันว่า ตอนดึก ๆ  มีคนมานั่งดูหนังที่ฉายเต็มไปหมด
คุณธงชัย  แสงชัย  เจ้าของหนังเร่บริษัทแจ่มจันทร์ภาพยนตร์กล่าวในบันทึกประวัติคำชะโนดของนายสวาท  บุรีเพีย  อดีตศึกษาธิการอำเภอบ้านดุง 
“เรื่องเกิดขึ้นในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2532  มีคนมาว่าจ้างให้หนังของผมไปฉายที่บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง  ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 100 กิโลเมตร ค่าจ้างตกลงกันไว้ 4,000 บาท  มีหนังฉาย 4 เรื่อง  แต่มีสัญญาพิเศษอยู่ 1ข้อ คือ ให้ฉายถึงแค่ตี 4 เท่านั้น  ห้ามฉายถึงสว่าง  พอตี 4 ก็ให้รีบเก็บข้าวของออกจากสถานที่ฉาย   ซึ่งผมได้ฟังก็แปลกใจมากแต่ไม่ได้คิดอะไรในตอนนั้น  เพราะเห็นว่าเป็นความต้องการของผู้มาว่าจ้าง   จึงไม่ได้ซักถามถึงเหตุผล  แต่ปรกติแล้วเวลาไปฉายหนังที่อื่น ชาวบ้านมักจะให้ฉายถึงสว่างทุกเจ้าไป   
หลังจากนั้นผมก็ได้ส่งหน่วยฉายหนังไปตามที่ได้ตกลงกันไว้   ในตอนเช้าพนักงานของผมจำนวน 7 คน ซึ่งกลับมาจากฉายหนังเมื่อคืน  ก็เล่าให้ผมกับภรรยาฟังว่า เมื่อคืนไปฉายหนังให้ผีดู
เด็ก ๆ เล่าให้ฟังว่า หนังเริ่มฉายตั้งแต่ตอน 3 ทุ่ม  ในตอนหัวค่ำไม่เห็นผู้คน  ก็ยังสงสัยว่าหายไปไหนหมด  แต่พอ 3 ทุ่มก็มีคนมาเป็นจำนวนมาก  และที่แปลกคือ ผู้หญิงซึ่งนุ่งขาวห่มขาวจะนั่งอยู่ด้านหนึ่ง  ส่วนผู้ชายใส่เสื้อผ้าสีดำจะนั่งอีกข้างหนึ่ง  และคนทั้งหมดก็นั่งกันสงบเงียบเรียบร้อยเหมือนจะไม่เคลื่อนไหวตัว  และที่ยิ่งกว่านั้นคือ ไม่ว่าจะฉายหนังอะไร ก็ไม่มีการส่งเสียงเอะอะเหมือนกับฉายหนังกลางแปลงทั่ว ๆ ไป  ฉายหนังบู๊ก็เฉย  ฉายหนังตลกก็เฉย ไม่มีเสียงหัวเราะ
 อีกอย่างคือ งานนี้ไม่มีร้านขายข้าวของ จำพวกของกินเลย  โดยทั่วไปงานอื่น ๆ จะมีร้านขายขนม ขายบุหรี่   พอถึงตี 4 พวกคนดูก็ไม่รู้หายไปไหนกันหมด  หายไปเร็วเหลือเกิน    พวกเด็ก ๆ เขาก็รีบเก็บข้าวของออกจากสถานที่ฉายหนัง   พอขับรถมาถึงหมู่บ้านวังทองตอนเช้าก็แวะซื้อบุหรี่ก่อนเลย  เนื่องจากเมื่อคืนไม่มีขาย  ชาวบ้านถามว่าไปฉายหนังที่ไหนมา   เด็ก ๆ ก็บอกว่าฉายในหมู่บ้านวังทอง   แต่ชาวบ้านกลับยืนยันว่าไม่มีหนังมาฉายในหมู่บ้านเลย   
 เรื่องก็เลยยุ่งว่าเมื่อคืนไปฉายหนังที่ไหนมา  ในที่สุดเมื่อสอบถามกันจนเป็นที่เข้าใจ ชาวบ้านสรุปว่า “สงสัยพวกคุณจะไปฉายหนังที่ใน “ดงคำชะโนด”  ซึ่งเป็นสถานที่ลี้ลับที่เชื่อว่าเป็นเมืองพญานาค  มีภูตผีปีศาจสิงสถิตอยู่ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านวังทองนี่เอง
พวกเด็ก ๆ ก็เลยเชื่อว่าถูกผีจ้างไปฉายหนังจริงอย่างที่ชาวบ้านว่า   จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นผมก็อยากจะพิสูจน์ความจริงจึงเดินทางไปที่บ้านวังทอง  ผมไปที่ดงคำชะโนดซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านไปสัก 3  กิโลเมตร  แต่ที่ผมแปลกใจมากเพราะดงไม้ที่ผมมองเห็นอยู่กลางทุ่งนาห่างจากตัวถนนครึ่งกิโลเมตรนั้นเป็นดงไม้ทึบ   อย่าว่าแต่ให้ขับรถยนต์จะเข้าไปข้างในเลย  แม้แต่จะขึงตั้งจอหนังก็ยังไม่ได้ด้วย
 ผมจึงไปสอบถามชาวบ้านแถวนั้นว่า  เมื่อคืนที่ผ่านมาในหมู่บ้านวังทอง หรือหมู่บ้านใกล้เคียงมีการฉายหนังกันบ้างไหม   ทุกคนต่างก็ยืนยันว่า ไม่มีหนังเข้ามาฉายเลย   ทำให้ผมงุนงงเป็นอันมาก  ทำให้ผมต้องเดินทางกลับไปที่ดงคำชะโนดอีกครั้ง เพื่อหาข้อพิสูจน์ ว่าเด็ก ๆ ได้มาฉายหนังที่นี่จริง  ในที่สุดก็มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมเชื่อว่า  เด็ก ๆ ของผมได้เข้าไปฉายหนังในดงคำชะโนดจริง  นั่นก็คือ ตรงขอบถนนมีรอยรถยนต์แล่นผ่านลงไปในหล่มดินข้างทาง  รอยรถนั้น  แล่นผ่าเข้าไปในท้องนาซึ่งเป็นที่ลุ่มน้ำขัง   ไม่น่าเชื่อเลยว่ารถฉายหนังจะแล่นเข้าไปในดงคำชะโนดนั้นได้   
 ด้วยความประหลาดใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคุณธงชัยได้ไปนมัสการ  หลวงปู่คำตา  สิริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดศิริสุทโธ  คำชะโนด  ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้ ๆ ดงคำชะโนด  และได้ไต่ถามถึงเรื่องนี้กับเจ้าอาวาส  ซึ่งท่านก็ได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า
“คงเป็นเพราะช่วงนั้นเป็นเทศกาลของบรรดาวิญญาณซึ่งอาศัยอยู่ในดงไม้นี้  จึงได้ว่าจ้างให้หนังมาฉายฉลองเหมือนพวกมนุษย์   วิญญาณเหล่านั้นชาวอีสานเรียกว่า “ ผีบังบด” ในวันนั้นที่วัดไม่ได้มีการจัดงานแต่อย่างใด  แต่ในป่าคำชะโนดจะมีเสียงซู่ ๆ  เหมือนกับมีพายุพัดเข้ามาทั้ง ๆ  ที่คืนนั้นไม่มีลมใหญ่พัดมาจากไหนเลย”
“ในขณะที่หลวงปู่คำตาเล่าเรื่องนี้อยู่  ก็ปรากฏว่ามีงูตัวหนึ่งสีดำสนิท ท่าทางน่ากลัวเลื้อยเข้ามานอนขดอยู่ตรงหน้าของท่าน   ผมและภรรยาตกใจมาก   แต่หลวงปู่คำตาก็บอกว่าไม่เป็นไรหรอก  คงจะเป็นวิญญาณของผู้ที่อาศัยอยู่ในดงไม้ไม่ต้องการให้ท่านเล่าหรือเปิดเผยอะไรต่อไป  จึงได้ส่งให้งูตัวนี้มาปรากฏเพื่อเป็นการเตือน   หลังจากนั้นท่านจึงขอตัวไม่เปิดเผยรายละเอียดใด ๆ  แต่ผมก็เชื่อว่ายังมีอะไรที่แปลกน่าสนใจอีกมาก เกี่ยวกับดงคำชะโดนี้”


(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSw3MVaQDZGtQK4_ZHVkXVH5Hj8EbskFexQmcwYRejMJIuCG6Vr3w)

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTRlwC80vNZfaglThXT3UT4JYmEBoEJkuRlKwagyTP1yqVvSfGsNQ)


(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSqnEXsCvSckjoOBINzoB7W4GwY5h4h7seS2nKcYUal5JJHcxeDqQ)


 
ตำนานวังนาคินทร์คำชะโนด

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRAHDVe-VhbakyZWJmRKtnQlvOjs_5HWj_iKzUxifzV6sbjNIKi)

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSqMGOVqNr-6vnBZyZO6r_in9Pqo6DaKKrxEagCms1A6aPrv5v2vg)

(http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSdlNjK_7kA3FNd21wD8x2EkqSfDzMyJFRNF80X6P6f26b9HCsNAUNcDYpuEg)

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTe2HxhmE_m7lBsyBaS0gLIfpOctbmNN8gZ-FqSj0LB7IBHyf5A-clRbf5Yug)

 คำชะโนดอยู่ห่างจากบ้านเกิดผมเพียง 10  กว่ากิโลเมตร  บ้านของผมอยู่ที่ตำบลบ้านจันทน์   ซึ่งเป็นตำบลที่ติดคืนหนึ่งในระหว่างกลางพรรษาได้ฝันว่าหลวงปู่พาเข้าไปในคำชะโนดไปดูทรัพย์สินทั้งหมดในเมืองคำชะโนด  เสร็จแล้วก็นำหลวงปู่คำตาขึ้นไปบนศาลาหลังใหญ่ซึ่งมีคนนั่งรอจำนวนมากประกาศให้ทุกคทราบ

“นี่คือลูกชายของเจ้าปู่  ต่อไปนี้ทรัพย์สินและการปกครองเมืองคำชะโนดนี้จะยกให้ลูกชาย  ขอให้ทุกคนเชื่อฟังคำสั่งและอยู่ในความปกครองของลูกชายตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”

หลวงปู่คำตาได้อาพาธและได้มรณภาพ  วันที่ 15  สิงหาคม พ.ศ. 2533

คำชะโนด :ป่าผืนสุดท้ายต้นไม้2,000ปี


(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQP_Bi22rI1LkKvI4R--_FbmNp-AEWt7Hi3myZBjFz7H--u3Yjn8rglQkTM)

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS5ut_Ga_OiypOnjnET6mY71i_q_Q4q3oLnW6jED7Smk-fVfkQsrLjp402S)http://t1.gstatic.com/images? (http://t1.gstatic.com/images?)(http://q=tbn:ANd9GcTesE_g1jujXcFrCrdfxM21ffk4YyBUVpm5aHqDUY_8IVLVEDyKu72GCLHH)

(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS0niUF_iJk0h_3_NqkUVwddNcMsHliVgXuxH7WYhNAAOzYLgG66SiYlCZfrg)

บนพื้นที่ราว 20 ไร่ ณ ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี คือ ที่ตั้งของ ป่าคำชะโนด  ชาวอำเภอบ้านดุงต่างเคารพนับถือและยึดถือปู่ศรีสุทโธและคำชะโนดเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ  คำชะโนดในภาษาถิ่น คำ คือ ที่ที่มีน้ำซับไม่เคยเหือดแห้ง  เมืองคำชะโนดอธิบายให้เห็นภาพมีลักษณะเป็นเกาะลอยอยู่บนน้ำ  ภายในมีสภาพเป็นป่าพรุดิบชื้น  มีต้นไม้แปลกประหลาดที่ชาวบ้านเรียกว่าต้นชะโนด  มีลักษณะคล้ายต้นตาลผสมต้นมะพร้าวและต้นหมากอย่างละเท่า ๆ กัน ซึ่งมีอยู่ที่เดียวในโลก แต่ละต้นเรียวยาวสูงเสียดฟ้า  ส่วนพื้นดินมีสีดำเปียกชื้นตลอดเวลา มีเฟิร์นขึ้นปกคลุมหนาทึบแดดแทบจะไม่ส่องถึงพื้น  และยังมีต้นไม้ใหญ่กับต้นไม้เล็กขึ้นแซมหลายชนิด  

(http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTFB3-X3m8Ys9i8MAM_yoXYr3tzoURFnXLpjQCscGUA6C-1hASvne5rQzs)

คำชะโนดนับว่าเป็นป่าดึกดำบรรพ์ผืนสุดท้ายของประเทศไทยที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์  เมื่อถึงฤดูน้ำหลากเกาะคำชะโนดนี้จะลอยได้ เมื่อมีน้ำท่วมบนพื้นที่หน้าวัดศิริสุทโธ  แต่ไม่ท่วมเกาะคำชะโนด  แต่ที่น่าแปลกใจคือ หากพ้นจากดงชะโนดแห่งนี้ไป ห่างกันแค่ไม่ถึง 300 เมตร ก็ไม่มีต้นชะโนดปรากฏให้เห็นแม้แต่ต้นเดียว 


นายทองอินทร์ ปักเสติ ชาวบ้านโนนเมือง ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้ ๆ กับป่าคำชะโนด เล่าว่า
           “เคยมีคนคิดเอาต้นชะโนดไปปลูกที่อื่นนะ แต่ไม่นานก็ต้องเอากลับมาคืนที่เดิม เพราะชีวิตการงานไม่ก้าวหน้า ชีวิตครอบครัวมีแต่ความเดือดร้อน ขนาดว่าแค่เอาเมล็ดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง  อาจจะเป็นใบแห้ง ๆ ออกจากป่า สุดท้ายต้องเอามาคืนกันหมด”


เคยมีนักวิชาการจากกรุงเทพฯ  ได้ไปทำการสำรวจต้นชะโนดมาแล้ว  โดยให้ข้อมูลว่าต้นชะโนดที่เห็นอยู่ในเกาะคำชะโนดนำไปพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า  ต้นไม้ชนิดนี้อายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี


มีพระภิกษุทำพิธีพลีขอเอามาจากเมืองคำชะโนด  เพื่อนำมาปลูกดูภายในวัด  ท่านกล่าวว่า  โดยนำเอาตั้งแต่ยังเป็นผล  เมื่อนำมาปลูกดูนั้นก็เห็นจริงว่าต้นชะโนดเป็นต้นไม้ที่โตช้ามาก  ปลูก 2 ปียังต้นเล็กเท่าต้นกล้า  ดังนั้นจึงเท่ากับเป็นการยืนยันว่าการที่นักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าต้นไม้ชนิดนี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จึงน่าจะเป็นเรื่องจริง


                 แรกเดิมทีทางเข้าดงคำชะโนดสะพานทำขึ้นด้วยไม้  เมื่อโดนแดดโดนฝนก็ผุพังจึงมีการร่วมกันทอดผ้าป่า สร้างสะพานขึ้นใหม่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทอดตัวยาวจากพื้นที่วัดศิริสุทโธลอดผ่านซุ้มโขงประตูเมืองเข้าไปในคำชะโนด  ปัจจุบันมีการสร้างสะพานขึ้นใหม่เป็นรูปปั้นพญานาคเจ็ดเศียรสองตัวทอดตัวบนราวสะพานเข้าไปยังคำชะโนด  ที่น่าแปลกก็คือสะพานทำไว้เป็นสองตอนไม่ได้ทอดยาวถึงเมืองคำชะโนด  จะมีช่วงที่สะพานเว้นช่วงขาดหนึ่งผ่ามือบริเวณทางเข้าเมืองคำชะโนด  ชาวบ้านเล่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ต้องการให้มนุษย์กับพญานาคเชื่อมต่อกันก็เลยทำให้สะพานแตกหัก


นายอุทัย ไพเราะ อายุ 59 ปี แต่งกายในชุดสีขาวซึ่งเป็นจ้ำปู่ศรีสุทโธ(ร่างทรงทางภาคอีสาน)  เล่าว่า


“ตอนช่างมาทำสะพานเชื่อมกันเข้าไปในคำชะโนดสร้างกี่ครั้งสะพานก็เกิดพังทลาย ซ่อมกี่ครั้งก็ยังพังเหมือนเดิม  กลางคืนเจ้าปู่ศรีสุทโธก็ได้มาเข้าฝันและบอกว่า  ให้เว้นช่องขาดระหว่างสะพานไว้  เพราะว่าเส้นทางระหว่างโลกมนุษย์จะเชื่อมต่อเส้นทางเมืองบาดาลไม่ได้ และให้ถอดรองเท้าก่อนถอดหมวกด้วย  เพราะใส่รองเท้าเข้ามานั้นบางคนเหยียบสิ่งสกปรกเข้าไปในเมืองหากไม่ทำตามแล้วจะทำให้ทุกคนที่เข้ามาได้เจ็บได้ไข้   เมื่อก่อนใครจะใส่เสื้อผ้าสีแดงเข้ามาคำชะโนดไม่ได้ต้องมีอันเป็นไปทุกราย ภายหลังปู่ศรีสุทโธจึงอนุโลมให้มีผ้าสีแดงเข้ามาได้  เปลี่ยนเป็นให้ถอดรองเท้ากับหมวกไม่ให้พูดจาหยาบคายและห้ามนำสิ่งใดออกไปจากป่าคำชะโนด  เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ  และแต่ก่อนใครมาหาปลาหาของป่าแถวนี้ต้องขอปู่ศรีสุทโธก่อน  บางคนทอดแหหาปลาบอกกับปู่ศรีสุทโธว่าขอปลาช่อนตัวใหญ่ ๆ สักตัวก็พอ ผลปรากฏว่าทอดแหก็ได้ปลาช่อนตัวใหญ่มา  ทุกคนก็จะได้ เพียง 1 ตัว เหมือนกันแถมขนาดตัวปลาช่อนยังมีขนาดเท่ากันด้วย”


ผมไปถึงทางเข้าคำชะโนดและเดินไปตามทางเข้าสะพานคอนกรีตที่สร้างใหม่  หลายปีแล้วที่ผมไม่ได้กลับมาที่นี่มันเหมือนกลับมาย้อนอดีตวันวานชีวิตที่ผ่านมา  บริเวณโดยรอบมีการปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยว  สะพานที่สร้างเข้าไปยังคำชะโนด มีการยกราวขึ้นสูงสะพานจนมองไม่เห็นสิ่งแวดล้อมธรรมชาติทางเข้าสองข้างทางสะพาน  ผมเขย่งเท้ามองดูธรรมชาติรอบ ๆ ทางเข้าแต่ก็มองไม่ถนัดนัก  เมื่อก่อนราวสะพานเป็นเสาปูนราวเหล็กโล่งสามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมและธรรมชาติรอบ ๆ อย่างสวยงามมาก  แต่สิ่งที่หลงเหลืออยู่ก็คือรอยขาดระหว่างโลกมนุษย์กับเมืองบาดาล 


เมื่อเดินเข้าไปในบริเวณคำชะโนดความเย็นไต่ขึ้นมาจากปลายเท้าจรดหัวทำให้ขนลุก  ป่าคำชะโนดเป็นป่าพรุที่อุดมสมบูรณ์   มีค้างคาวร้องส่งเสียงทั่วป่า  กระรอกวิ่งบนต้นชะโนดกระโดจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง  บริเวณบางจุดจะมีกลิ่นฉุนอับชื้นจากมูลสัตว์  ผมเดินเข้าไปศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธและจุดธูปเทียนดอกไม้บูชา  ท่องคาถาบูชาเจ้าปู่ศรีสุทโธ  “กายะจิตตัง  อะหังวันทา  นาคาธิบดีศรีสุทโธ  วิสุทธิเทวา  ปูเชมิ”   ที่เขียนในป้าย  จากนั้นผมเดินไปยังบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  ตักน้ำในบ่ออธิฐานขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองแล้วนำน้ำมาลูบหัว


ชาวบ้านเชื่อว่าบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์คือทางขึ้นลงเชื่อมระหว่างเมืองบาดาลกับโลกมนุษย์ในดงคำชะโนด  น้ำในบ่อจะมีปริมาณเท่าเดิมอยู่อย่างนั้นและจะขังตลอดปี  ไม่เคยแห้ง  เคยมีชาวบ้านนำไม้ไผ่ยาว ๆ มาต่อกันยี่สิบกว่าลำไม่สามารถหยั่งถึงก้นบ่อน้ำได้  ชาวบ้านเชื่อว่าน้ำในบ่อนี้จะไปทะลุที่สะดือแม่น้ำโขงหรือบริเวณวัดอาฮงศิลาวาส จังหวัดหนองคาย


จากที่พ่อเล่าให้ฟัง  แรกเดิมทีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์มีความกว้างประมาณหนึ่งเมตรเท่านั้น  ต่อมาเกาะคำชะโนดได้เป็นที่รู้จักมากขึ้นจึงมีการขยายขอบบ่อออกขนาด 5 x 5 เมตร  ขอบบ่อหล่อคอนกรีตสูงประมาณ  60  เซนติเมตร  สามารถนำกระบวยกะลามะพร้าวก้มลงตักน้ำจากบ่อได้  ปัจจุบันมีการสร้างพญานาค 7 เศียรโอบรอบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  มีน้ำพ่นออกจากปากพญานาคหัวตรงกลางลงมายังบ่ออ่างน้ำวงกลมที่สร้างไว้เพื่อรับน้ำให้คนมาตักไปล้างหน้าและดื่มกิน


ที่บ่อน้ำแห่งนี้บางเวลาจะมีฟองอากาศผุดขึ้นมาคล้ายกับว่ามีสิ่งมีชีวิตบางอย่างกำลังหายใจอยู่ใต้น้ำ  ชึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการหายใจของพญานาคจึงทำให้เกิดเป็นฟองอากาศผุดขึ้นมาให้เห็น  ต่อมามีสิ่งอัศจรรย์คือรูปปั้นพญานาคและพญาจระเข้ลอยขึ้นมาจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  ทั้งที่รูปปั้นต้องใช้สองมือยกจึงจะยกขึ้น  นับว่าเป็นเรื่องแปลกเหลือเชื่อเป็นอย่างมาก   


น้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เมื่ออธิฐานนำมารักษาโรคก็จะหาย   แต่ก่อนจะนำน้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปใช้นั้น  ต้องท่องคาถาบูชาสักการะเจ้าปู่ศรีสุทโธก่อน  เพื่อเป็นการขอได้อย่างถูกวิธีแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลรักษาอยู่   ทั้งยังเป็นการทำให้น้ำ              เปี่ยมไปด้วยเทวฤทธิ์จากนาคทั้งหลายที่มีฤทธิ์อันเป็นทิพย์  และที่น่าแปลกอีกอย่างหนึ่งคือเทศกาลออกพรรษาบางครั้งจะ  มีลูกไฟประหลาดพุ่งขึ้นจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์เหมือนกับบั้งไฟพญานาคที่จังหวัดหนองคาย


ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ ๆ คำชะโนดเล่าว่า  มักจะพบเห็นสิ่งมหัศจรรย์ในมิติลี้ลับอยู่เสมอ เช่น เห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญ มีผู้หญิงไปยืมเครื่องมือทอผ้าจากชาวบ้าน  และเห็นรอยพญานาคขึ้นภายในบริเวณวัดและใกล้ๆเกาะคำชะโนด


เมื่อคราวที่จัดงานพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา 5 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท้องสนามหลวง เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2530 น้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ “คำชะโนด” ได้รับเลือกไปร่วมงานพระราชพิธี ดังกล่าว


ผมเดินจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และมานั่งไหว้อธิฐานลูบคล้อง  ซึ่งเชื่อว่าใครลูบฆ้องและเกิดเสียงแสดงว่าเป็นคนมีบุญ   ผมลูบตรงกลางหลุมฆ้องเบาปรากฏว่าเริ่มมีเสียงดังออกมา  เมื่อยิ่งลูบเร็วและแรงเสียงฆ้องยิ่งดังสนั่นก้องทั่วป่าคำชะโนด   เกาะ   
เกาะคำชะโนดยังเป็นเรื่องที่พิสูจน์ยังไม่แน่ชัด แต่ก็มีวิทยาศาสตร์ที่พยามจะพิสูจน์ว่าเกาะนี้มันลอยน้ำได้อย่างไร

วิทยาศาสตร์กับความเชื่อ

วิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมีการค้นหาเพื่อจะพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ  ครั้งหนึ่งมีการพิสูจน์บั้งไฟพญานาคที่โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย  ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติหรืออะไรกันแน่  แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้จนวันนี้   แต่ทุกครั้งที่วิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทในเรื่องสิ่งต่าง ๆ นั้นจะจะต้องต่อสู้กับความเชื่อของคนในพื้นที่ที่มีมาแต่ครั้งโบราณกาลที่สืบทอดกันมา บางครั้งก็มีเรื่องขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลมาแล้ว  ส่วนคำชะโนดก็เช่นเดียวกัน    มีคณะนักวิชาการนักวิทยาศาสตร์และทีมงานจากรายการเรื่องจริงผ่านจอได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่เพื่อหาคำตอบความมหัศจรรย์ของเกาะนี้ว่าลอยน้ำได้อย่างไร  เป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์หรือธรรมชาติสร้างขึ้นกันแน่

 ร.ศ.ฤดีมล  ปรีดีสนิท  นักวิชาการผู้ศึกษาวิจัยเกาะคำชะโนด  กล่าวว่า  “เกาะนี้เป็นเกาะที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ  โดยการสะสมของซากพืชซากไม้ที่ทับถมกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในแอ่งแห่งนี้  จากเศษผง  ซากพืชซากไม้จนกลายเป็นดินในที่สุด  ปัจจุบันมีความหนาอยู่ที่1-3  เมตร  รากของต้นชะโนดที่แผ่ออกไปในแนวนอนทำหน้าที่เกาะเกี่ยวกันช่วยพยุงเกาะแห่งนี้ให้ลอยน้ำได้”

ดร.อดิชาติ  สุรินทร์คำ  นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอธิบายถึงเกาะคำชะโนดนี้ว่า 

 “จะว่าไปก็เหมือนแหลมของแผ่นดินที่ยื่นออกไปแต่มันไม่มีรากเท่านั้นเองไม่มีฐานมันเหมือนเราเอาสวะมากองรวม ๆ กันแล้วมีอะไรดึงไว้ไม่ให้มันลอยไปตามน้ำ  จนรากที่มันยึดเกาะติดกัน  แล้วมีบางส่วนที่มันเชื่อมจากดินที่ยื่นออกมาจากดินหมู่บ้าน แต่ตรงดินนี้เจาะออกนิดเดียวก็จะเป็นน้ำแล้ว” 

มีการสรุปเบื้องต้นว่าในช่วงเวลาน้ำหลากเกาะนี้ก็จะลอยตัวขึ้นตามระดับน้ำหลังน้ำลดเกาะนี้ก็จะยุบตัวลงตามผิวดิน  นั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้สะพานที่เชื่อมเกาะคำชะโนดและแผ่นดินหลักแตกหักทุกปี

ทางคณะทีมงานได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิกู้ภัยสว่างเมธาอุดรธานีเอื้อเฟื้ออุปกรณ์และนักประดาน้ำ  เพื่อที่จะดำน้ำทำการสำรวจพื้นที่ใต้เกาะคำชะโนด เพื่อหาคำอธิบายการลอยของเกาะคำชะโนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

การดำลงไปครั้งแรกคือการดำลงไปสำรวจพื้นที่เกาะด้านล่าง  การดำลงไปใต้เกาะคำชะโนดยังไม่มีใครกล้าทำมาก่อน  เพราะชาวบ้านเชื่อกันว่าใต้น้ำมีจระเข้และปลาขนาดใหญ่ที่ดุร้ายคอยดูน่านน้ำใต้เกาะให้เจ้าปู่ศรีสุทโธอยู่   จากการสำรวจเบื้องต้นนักประดาน้ำกล่าวว่า

“ข้างล่างน้ำใสมาก เห็นแต่หางสาร่าย และสามารถเข้าไปต่อได้”

การลงไปครั้งที่สองคือการลงไปบันทึกภาพของเกาะคำชะโนด  นักประดาน้ำสองคนดำลงไปในทิศทางเดิมระยะกว่า 20 เมตร ผ่านไปประมาณ  10  นาที  ก็ได้รับสัญญาณให้ดึงเชือกกลับ  เพราะเข้าไปไม่ได้แล้วจึงดึงเชือกขอขึ้นฝั่ง

“ข้างในเป็นโพรงเข้าไปเหมือนถ้ำลอยได้  เคลียร์สะดวกทางโล่ง  พอครั้งที่ 2 ปรากฏว่ามันตันเป็นรากหญ้ายาวติดพื้นเข้าไปไม่ได้  ไม่เหมือนรอบแรกมีกิ่งไม้หญ้าบ้าง  ผมพยายามเคลียร์ออกแล้วแต่ก็เข้าไปไม่ได้   เวลาแหวกหญ้าเข้าไปเหมือนกับคนมาดึงไว้ไม่ให้เข้าไป”

นับว่านับว่าเป็นการท้าทายอย่างมากในการดำน้ำลงไปสำรวจพื้นที่ใต้เกาะคำชะโนด  จากทดลองทางวิทยาศาสตร์ทำให้รู้ภายใต้เกาะคำชะโนดว่ามีลักษณะอย่างไร  จึงทำให้เกาะนี้ลอยน้ำได้

“ครั้งแรกที่เข้าไปอาจเป็นการไปทำช่องว่างให้เกิดขึ้น  เมื่อเราทำช่องว่างเกิดขึ้นมันจะต้องปรับตัวใหม่  สวะที่อยู่ข้างบนหรือรากไม้  วัชพืชที่เกิดอยู่ในน้ำมันต้องปรับตัวใหม่  ตรงไหนมีช่องว่างมันก็ขยับเหมือนเราขยับเข้าที่  พอไปอีกทีมันก็มาปิดบังแล้ว  จะมีต้นไม้บางชนิดที่สามารถเกิดอยู่ในน้ำและบนดินที่เรียกว่าเกาะลอย  บางส่วนผมเชื่อว่ามันหยั่งลงไปชั้นดินหรือชั้นหินที่อยู่ข้างล่างใต้หนองน้ำ”  ดร.อดิชาติ  สุรินทร์คำ   กล่าวสรุป

อย่างไรก็ตามชาวบ้านเชื่อว่าดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนต้องห้าม  ที่บางทีเราเองไม่ควรก้าวล้ำเข้าไป  แต่การสำรวจครั้งนี้วิทยาศาสตร์มีส่วนช่วยทำให้รู้ว่าเกาะนี้ลอยได้โดยรากของต้นชะโนดหยั่งลึกลงพื้นดินใต้น้ำเกาะคำชะโนด 

ภารกิจฟื้นฟูดำรงรักษาผืนป่าคำชะโนด : แม้ว่าต้องแลกด้วยฉายาป่าอาถรรพ์
 

(http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQQt3abnmqlJBVOVRI-L66WiZ0LGba8nvqAt_LqkMReg5VNXhHvqg)


                ปี พ.ศ. 2549  ความเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของป่าคำชะโนดก็เกิดขึ้น  มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวจนเกินขอบเขต  มีการสร้างสะพานเข้าเมืองคำชะโนด  และสร้างศาลเจ้าปู่ศรีสุทโธหลังใหม่  ส่วนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์มีการสร้างพญานาคล้อมรอบขอบบ่อ  ส่วนภายนอกนั้นมีการสร้างถนนรอบเกาะคำชะโนด  ภายในบริเวณวัดมีการสร้างพระพุทธรูปยืนปางประทานพรองค์ใหญ่สูงเสียดฟ้า  และสร้างอาคารต่างเพิ่มขึ้น  สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นสาเหตุทำให้ต้นชะโนดเหี่ยวเฉาและตายลง


การนำสิ่งก่อสร้างที่เป็นวัตถุสมัยใหม่เข้าไปไว้ในป่าคำชะโนด  ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายและเปลี่ยนระบบนิเวศ  ขัดต่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างรุนแรง  จึงมีการระดมความคิดจากหลายฝ่าย  ทั้งทางจังหวัด  ทางอำเภอบ้านดุง  ได้เร่งหาสาเหตุและแก้ไขฟื้นฟู   บ้างก็เสนอว่าให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างนั้นออก  แต่นั้นยังไม่ใช่ทางออกที่ดี  การแก้ปัญหาทั้งหมดต้องขึ้นอยู่กับคนในพื้นที่นั้นด้วย 


 เมื่อถามถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้นมีผลดีหรือผลเสีย  นายเข็มพร  เพ็งสุวรรณ  ชาวบ้านมีชัย  อำเภอบ้านดุงกล่าวว่า
              “ด้านการท่องเที่ยวมีผลดีขึ้นคนรู้จัก  มีคนมาทัศนศึกษามากขึ้น    ส่วนด้านธรรมชาติต้นชะโนดมีการตายบ้างบางส่วน  เพราะน้ำท่วม  มีการแก้ไขโดยสูบน้ำจืดเข้ามารอบ ๆ เกาะคำชะโนด  และไม่ให้ทำนาเกลือใกล้ ๆ บริเวณนี้  มันเป็นผลกระทบถึง  แม้มันไม่เป็นผลกระทบโดยตรง  ตอนนี้ได้มีการนำน้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์มาขายข้างนอกบริเวณในวัดโดยการให้ผู้สนใจบูชาดพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิตและครอบครัว”


การพัฒนาเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องดูผลที่ตามมาด้วยว่าจะมีผลดีหรือผลเสียมากน้อยอย่างไร  ผมมองดูรอบ ๆ ทางเข้าสิ่งก่อสร้างเดิมๆที่เติบโตมาพร้อมกับผมได้ถูกทำลายไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นต้นดอกจานสีเหลืองที่ออกดอกบานสวยงามช่วงหน้าหนาวข้างสะพาน  ซุ้มประตูโขงทางเข้าที่ทุบทิ้ง สะพานที่ต้องพายเรือเข้าไปในคำชะโนดตอนน้ำท่วม  จะมีเหล่าบรรดาสัตว์น้ำ ปู  ปลา หอย  ปลิงควาย  ว่ายน้ำมาตอนรับคนที่เข้าไปในเมือคำชะโนดเพื่อสักการะเจ้าปู่ศรีสุทโธ  สิ่งเหล่านี้ที่เติบโตมาพร้อมกับผมมันได้หายไปหมดแล้ว  เหลือไว้เพียงแค่ความทรงจำให้ผมได้คิดถึง


 นายอุทัย ไพเราะ จ้ำปู่ศรีสุทโธ (ร่างทรงทางภาคอีสาน)   ซึ่งเป็นผู้ดูแลป่าคำชะโนด  กล่าวว่า


“ไม่เห็นด้วยกับการสร้างสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้  มีแต่ปูนซีเมนต์มันอาจทำให้ดินเค็มต้นชะโนดในนี้อาจตายได้ หากต้นไหนตายก็จะหักล้มลง  จึงเป็นการเปิดช่องทางลมให้พัดเข้ามาแรงเกินไป  หากไม่มีต้นไม้ใหญ่บังลมข้างนอกอาจจะทำให้ต้นไม้ข้างในโดนลมพัดหักหมด  แล้วมันจะเหลืออะไร  เคยเสนอให้ใช้หินใช้ศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างมันจะไม่ขัดกับสิ่งแวดล้อมนัก  เขาก็หาว่าผมดึกดำบรรพ์เต่าล้านปี” 


พอพูดเสร็จนายอุทัยถอนลมหายใจมีสีหน้าไม่สู้ดีนัก 
              ทั้งนี้จากการสังเกตจากภายนอกเห็นชัดเจนว่าใบของต้นชะโนดที่เคยมีสีเขียวเข้มสดใส  ลักษณะเหมือนใบตาล กลับมีสีซีดลงมากจนเกือบเหลือง ส่วนปลายใบก็เหี่ยวพับลง รวมทั้งที่โคนก้านติดใบก็มีลักษณะพับลงอีก และจะเป็นเฉพาะต้นที่มีขนาดสูง ที่รายล้อมอยู่รอบๆป่า  ส่วนต้นที่อยู่ด้านใน หรือต้นขนาดเล็ก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด และเมื่อเดินเข้าไปใกล้ เห็นชัดเจนอีกว่าน้ำที่เคยท่วมรอบ ๆ ป่า มีระดับลดลงจนเห็นผิวดิน และตลอดสองข้างสะพานเดินเข้าป่า ก็ไม่มีลักษณะชุ่มน้ำเหมือนแต่ก่อน  หากเดินลงไปพื้นจะอ่อนนุ่ม เหมือนเดินบนเลน  ขณะนี้เดินลงไปได้เหมือนเดินบนพื้นดิน ต้นชะโนดอาจจะลดจำนวนลงเรื่อย ๆ หรือไม่อาจตายหมดใน 3-4  ปี  การทำลายธรรมชาติมนุษย์ยังคงเป็นตัวต้นเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้บริเวณรอบ ๆ เกาะคำชะโนดเปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนดังเช่นก่อน  เมื่อก่อนหากมองไปยังน้ำรอบ ๆ เกาะจะเห็นกอหญ้ารกรอบ ๆ เกาะ  มีพืชน้ำขึ้นแซมและจอกแหนบนผืนน้ำหนาทึบ 


 ด้านนายอดุลย์ จันทนปุ่ม นายอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า
               “ต้นชะโนดเหี่ยวในส่วนรอบนอก ทางอำเภอได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้ต้นชะโนดเหี่ยวเฉา น่าจะมาจากระดับน้ำลดลง อาจเกิดจากการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยปล่อยน้ำออกเพื่อสร้างถนน สะพาน เบื้องต้นอำเภอบ้านดุงได้อุดท่อระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำระบายออกไป พร้อมกับทดน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียง เข้าไปทดแทนเพื่อรักษาระดับน้ำ และในทางวิชาการทางได้ประสานไปยังป่าไม้จังหวัด และทางเกษตรจังหวัด ให้มาตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการตรวจสอบเบื้องต้นแล้ว ต่อจากนั้นจะขอนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกรมป่าไม้ ได้เข้ามาตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง”
            จากการที่ต้นชะโนดเหี่ยวเฉาและทยอยตาย  จึงมีการร่วมมือกันของหน่วยงานจังหวัด  เพื่อหาหนทางปรับปรุงแก้ไข ฟื้นฟูป่าแห่งนี้ให้กลับมาดำรงความอุดมสมบูรณ์โดยเร็วที่สุด  โดยมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้ามาดู  และทำการพลีขอนำต้นเมล็ดออกไปเพื่อเพาะพันธุ์  คาดว่าจะได้ต้นชะโนดเป็น 1,000  ต้น


นางสมร  สุริยะจันทร์  อาจารย์ประจำวิชาเกษตรกรรมโรงเรียนบ้านดุงวิทยา  ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุมหาหนทางฟื้นฟูเกาะคำชะโนดกับทางจังหวัดอุดรธานี  กล่าวว่า


“ในส่วนทางโรงเรียน  ได้ส่งเสริมให้ให้นักเรียนเพาะพันธุ์ต้นกล้าจากเมล็ดชะโนด  ที่ขอเก็บมาจากโคนต้นชะโนด  ก่อนนำไปปลูกทดแทนกับต้นที่ล้มตายไปจากการพัฒนาที่ผิด ๆ  ปัจจุบันเรามีต้นกล้าอยู่ประมาณ  17,000  ต้น  ที่พร้อมจะเดินทางเข้าสู่ป่าคำชะโนดแล้ว”


ด้านตัวแทนประชาชนในพื้นที่  ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการฟื้นฟูป่าคำชะโนดว่า  ครั้งแรกที่มีการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ภายในป่า  ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้เรื่อง  แต่ก็เห็นว่ารัฐบาลได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญที่จะพัฒนาป่าคำชะโนดเป็นแหล่งท่องเที่ยว  ทุกคนต่างก็ดีใจ  เพราะเศรษฐกิจจะได้ดีขึ้น  จะมีงานทำและมีรายได้จากการขายของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว 


หัวข้อ: Re: อาถรรพ์ป่าคำชะโนด : ป่าผืนสุดท้าย ต้นไม้ 2,000 ปี
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ มกราคม 17, 2012, 02:48:37 pm
 :25: :25: :25: :25: