สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: kindman ที่ มกราคม 30, 2012, 03:04:09 pm



หัวข้อ: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: kindman ที่ มกราคม 30, 2012, 03:04:09 pm
เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 ได้ไปนั่งสมาธิ 10 วันที่สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่งคะ ก่อนไปได้ศึกษาแนวทางแล้วว่าเป็นแนวที่อยากศึกษาคือดูจิต ดูเวทนาที่เกิดกับอารมณ์เพราะเป็นคนมักโกรธและหงุดหงิดง่ายคะ

ช่วงที่นั่งและฟังธรรมะบรรยายก็เข้าใจในการตีความแต่เกิดความสงสัยในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันว่าจิตจะไวได้เท่านี้ได้อย่างไร แล้วถ้าปล่อยวางทั้งสิ้นจะใช้ชีวิตฆราวาสอย่างไร

หลังจากกลับจากนั่งสมาธิก็เป็นช่วงเปลี่ยนงานพอดี พอเข้าทำงานที่ใหม่ปรากฏอาการมึนงงตลอดเวลา เหมือนเซื่องซึม ไม่อยากทำอะไร เบื่อหน่ายไปหมด และไม่มีความกระตือรือร้นจะทำงาน แล้วก็เอาแต่จะนอนอย่างเดียว ตอนแรกก็คิดว่าคงเพราะพักก่อนเริ่มงานใหม่นานเกินไปเลยขี้เกียจ หรือเพราะเพิ่งล้มจากที่ทำงานเก่ามาก่อน ทำให้หมดกำลังใจ ไม่มั่นใจในตัวเอง แต่เคยได้ยินคนเล่าว่าเวลานั่งสมาธิจะกระทุ้งกรรมเก่า ๆ ให้ออกมา

รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยคะ ว่าการนั่งสมาธิแล้วเกิดสับสนจะมีผลอะไรบ้าง คำที่เคยได้ยินมาจะเป็นไปได้หรือมีคำอธิบายทางหลักการและเหตุผลอย่างไรบ้างคะ

จากคุณ    : urius

อยากให้ทางทีมงาน มัชฌิมา และพระอาจารย์ ช่วยชี้แนะหน่อยครับ


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มกราคม 31, 2012, 12:46:35 pm
อาการมึนตึงเวียนหัว คือลักษณะของธาตุ ที่เป็นรูปกรรมฐาน บางทีทรงสมาธิอยู่ แต่ไม่เข้าใจ ว่าทรงสมาธิอยู่ ไม่พอกพูนต่อ เมื่อมี ความสับสน หรือวิจิกิจฉาเกิดขึ้น ปีติก็ล้าง สมาธิออกไป
      ควรไปขึ้นกรรมฐาน ที่วัด ราชสิทธาราม พบครูบาอาจารย์ ตั้งธาตุให้ก่อน ท่านจะมอบกรรมฐาน เริ่มต้นให้
             อย่าท้อ ขอให้กําลังใจว่า ภูมิธรรมของท่านมีอยู่ แต่ท่านยังไม่เข้าใจ เรื่องกายและใจ รูปนาม
                ควรมีครูบาอาจารย์จะได้แจ้งอารมณ์ และจะได้คืบหน้า อย่ารอ มันเสีย เวลา อย่าประมาท.
             รีบสร้างความดีและ อย่าทิ้งโอกาส  เวลาไม่คอยใคร


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ กุมภาพันธ์ 01, 2012, 10:25:59 am
ปฏิบัติผิดแนวทาง คะ เพราะส่วนตัวเวลาปฏิบัติธรรม แล้ว มีความขยันเพิ่มขึ้น และ รู้สึกมีความต้องการภาวนามากกว่า ไม่ค่อยนอนด้วย ถึงขั้นนอนไม่หลับคะ เหมือนสติตื่นตัวอยู่คะ และไม่อ่อนเพลียคะ
 :coffee2:


หัวข้อ: Re: ปัญหารเรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pussadee ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 01:34:29 am
เรียนผูก ต้องเรียนแก้ คะ ปกติ การดูเวทนา นั้นต้องมีสติ กับ สมาธิ ที่ดีคะ

   การดูเวทนา มีอยู่ 2 อย่างคะ

      คือ ดูเวทนา ที่เลี่ยงได้ คะ  หมายถึง ความเจ็บไข้ได้ป่วย มีทุกข์ มากกว่าสุข
          ดูเวทนา ที่เลี่ยงไม่ได้ คะ หมายถึง สามารถหลบได้ คะ เช่นนั่งแล้วทุกข์ เปลี่ยนเป็นยืนเป็นต้น หิวก็กิน เป็นต้น
         
   แต่ที่พระอาจารย์ เคยสอนไว้ มีการดูเวทนา อยู่ 6 ประการ
    คือ 1. ดูเวทนา สุข เกิดมีปัจจัย อย่างไร ตั้งอยู่ อย่างไร ดับไปแ้ล้วอย่างไร
        2. ดูเวทนา ทุกข์ เกิดมีปัจจัย อย่างไร ตั้งอยู่ อย่างไร ดับไปแ้ล้วอย่างไร
        3. ดูเวทนา อทุกขสุข เกิดมีปัจจัย อย่างไร ตั้งอยู่ อย่างไร ดับไปแ้ล้วอย่างไร
        4. ดูเวทนา โทมนัส เกิดมีปัจจัย อย่างไร ตั้งอยู่ อย่างไร ดับไปแ้ล้วอย่างไร
        5. ดูเวทนา โสมนัส เกิดมีปัจจัย อย่างไร ตั้งอยู่ อย่างไร ดับไปแ้ล้วอย่างไร
        6. ดูเวทนา อุเบกขา เกิดมีปัจจัย อย่างไร ตั้งอยู่ อย่างไร ดับไปแ้ล้วอย่างไร

   ดังนั้นการดูเวทนา ไม่ใช่เป็นการนอน นั่ง ยืน เดิน อย่างขี้เกียจ คะ แต่ให้ดูที่เหตุปัจจัย
    ว่า เกิดขี้นได้อย่างไร
        ตั้งอยู่ได้อย่างไร
        เสื่อมลงไปได้อย่างไร

    :coffee2: :coffee2: :coffee2:
   


หัวข้อ: Re: ปัญหารเรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 09:55:53 am
๖. อัสสชิสูตร
            ว่าด้วยความเป็นอนิจจังแห่งเวทนา
   [๒๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์. ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอัสสชิอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา พักอยู่ที่อารามของกัสสปเศรษฐี.

        ครั้งนั้น ท่านพระอัสสชิเรียกภิกษุผู้อุปัฏฐากทั้งหลายมาแล้วกล่าวว่า มาเถิดอาวุโสทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับจงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า ตามคำของเราว่า พระเจ้าข้า อัสสชิภิกษุอาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา และท่านทั้งหลายจงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด.
     
       ภิกษุเหล่านั้น รับคำท่านอัสสชิแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า อัสสชิภิกษุ อาพาธ เป็นไข้หนัก ได้รับทุกขเวทนา ท่านถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคด้วย เศียรเกล้า และสั่งมากราบทูลว่า พระเจ้าข้าขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปหาอัสสชิภิกษุถึงที่อยู่เถิด. พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ.

   [๒๒๓] ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่พักผ่อนแล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอัสสชิถึงที่อยู่ ท่านพระอัสสชิได้แลเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกลครั้นเห็นแล้ว ก็ลุกขึ้นจากเตียง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอัสสชิว่า อย่าเลยอัสสชิ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะเหล่านี้ ที่เขาปูลาดไว้มีอยู่ เราจะนั่งที่อาสนะนั้น.

       พระผู้มีพระภาค ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้.
       ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระอัสสชิว่าดูกรอัสสชิ เธอพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่าทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ?
      ท่านพระอัสสชิกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ไม่สามารถจะยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ฯลฯ ทุกขเวทนานั้นปรากฏว่า กำเริบขึ้นไม่ทุเลาลงเลย.
        ( หมายเหตุ พ. = พระพุทธเจ้า   อ.= พระอัสสชิ )
   พ. ดูกรอัสสชิ เธอไม่มีความรำคาญ ไม่มีความเดือดร้อนอะไรบ้างหรือ?
   อ. พระเจ้าข้า แท้ที่จริง ข้าพระองค์มีความรำคาญไม่น้อย มีความเดือดร้อนอยู่ไม่น้อยเลย.
   พ. ดูกรอัสสชิ ก็ตัวเธอเองไม่ติเตียนตนเองได้โดยศีลบ้างหรือ?
   อ. พระเจ้าข้า ตัวข้าพระองค์เองจะติเตียนข้าพระองค์เองได้โดยศีลก็หาไม่.
   พ. ดูกรอัสสชิ  ถ้าหากว่า ตัวเธอเองติเตียนตนเองโดยศีลไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอจะมีความรำคาญและความเดือดร้อนอะไร?
   อ. พระเจ้าข้า ครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) ได้อย่างลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่เสื่อมหรือหนอ.
   พ. ดูกรอัสสชิ สมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือหนอ. ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
   อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
   พ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง?
   อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
   พ. เพราะเหตุนั้นแล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ฯลฯ ย่อมทราบชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
        ถ้าอริยสาวกนั้น ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่าสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่าทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยสุขเวทนา ก็
ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้าย เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้ายเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน.
        หากว่า เสวยเวทนา  มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ถ้าเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา  มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.

   [๒๒๔] ดูกรอัสสชิ อุปมาเหมือนประทีปน้ำมันจะพึงติดอยู่ได้ เพราะอาศัยน้ำมันและไส้เชื้อไม่มีก็พึงดับ เพราะหมดน้ำมันและไส้นั้น ฉันใด. ดูกรอัสสชิ ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิต เพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.
            จบ สูตรที่ ๖.


พระสูตรนี้ได้ฟังวันนี้พอดี ทาง RDN รู้สึกประทับใจมากครับ


หัวข้อ: Re: ปัญหารเรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 10:14:29 am
จากพระสูตร เบื้องต้น พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นว่า พระอริยะบุคคล พระอรหันต์ ระดับปฏิสัมภิทา เจโตวิมุตตินั้นเมื่อได้รับความเจ็บไข้ได้ป่วย ( อาพาธ ) ก็รับเวทนาเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ตามความสาหัสของความเจ็บไข้ อาการของพระเถระนั้นจัดว่าเป็นอาการหนัก เพราะลูกศิษย์ต้องเข้ากราบทูลพระพุทธเจ้่าเพื่อ ให้เสด็จมาเยี่ยม เพื่อให้คำแนะนำที่ควรแก่พระมหาเถระ

อ้างถึง
อ. พระเจ้าข้า ครั้งก่อน ข้าพระองค์ระงับกายสังขาร (ลมหายใจเข้าออก) ได้อย่างลำบาก จึงไม่ได้สมาธิ เมื่อข้าพระองค์ไม่ได้สมาธิ จึงเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราไม่เสื่อมหรือหนอ.

 พระมหาเถระ ได้กล่าวว่าครั้งนี้ไม่สามารถเข้าสมาธิได้เพราะอาพาธมาก จึงมีความวิตกว่า สมาธิเสื่อมหรืออย่างไร ก็คงประมาณนี้ อันนี้แสดงให้เห็นว่า เมื่ออาพาธหนัก ๆ ก็ใช่ว่าจะเข้าสมาธิได้ทุกท่าน บุคคลที่สามารถเข้าสมาธิได้ในระหว่างอาพาธจึงถือว่ายอดเยี่ยม

อ้างถึง
พ. ดูกรอัสสชิ สมณพราหมณ์ที่มีสมาธิเป็นสาระ มีสมาธิเป็นสามัญญะ เมื่อไม่ได้สมาธินั้น ย่อมเกิดความคิดอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายไม่เสื่อมหรือหนอ. ดูกรอัสสชิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

 พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสแสดงให้เห็นว่า มีคนหลายพวกให้ความสำคัญกับเรื่องสมาธิ ทรงอยู่ในสมาธิเป็นปกติทั่วไป เมื่อเข้าสมาธิก็ย่อมสำคัญว่า สมาธินั้นเสื่อม หรือ คิดสงสัยว่า สมาธิของเราเสือมใช่หรือไม่ แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสแสดงให้เห็นว่า ตอนนี้  พระอัสสชิ เห็นรูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง พระองค์ทรงตรัสแสดงถึงความสำคัญของวิปัสสนาให้ควรมี ให้ควรเห็น เพราะจิตเป็นสมาธิอยู่แล้ว จึงเห็นตามความเป็นจริง เมื่อเห็นตามความเป็นจริงจึงเห็นว่า รูปไม่เที่ยง เป็นต้น แสดงว่า สมาธิของพระอัสสชิ นั้นมิได้เสื่อม วิปัสสนาการรู้แจ้งเห็นจริงก็มีอยู่ ความเป็นพระอรหัตผล ก็ยังมีอยู่ตราบนั้น

วิธีรับมือกับเวทนา ตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้า ( กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ )
อ้างถึง
ถ้าอริยสาวกนั้น ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่าสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่าทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน หากว่า เสวยสุขเวทนา ก็ปราศจากความยินดียินร้าย เสวยสุขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยทุกขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้าย เสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าหากว่า เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ปราศจาก ความยินดียินร้ายเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน.
        หากว่า เสวยเวทนา  มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ถ้าเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา  มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น.

    อริยสาวก ได้เสวยสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่าสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน
                เสวยทุกขเวทนา ก็ทราบชัดว่าทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน
     เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ทราบชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน
 
    อริยสาวก ย่อมปราศจาก ความยินดียินร้าย
    อริยสาวก  ย่อมทราบชัดว่า เวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่าพอใจ ไม่น่าเพลิดเพลิน.   

   ประโยคสำคัญ นะครับ ประโยคนี้
   หากว่า เสวยเวทนา  มีกายเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
   ถ้าเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ก็ทราบชัดว่า เสวยเวทนา  มีชีวิตเป็นที่สุด ทราบชัดว่า ก่อนแต่จะสิ้นชีวิตเพราะกายแตก ความเสวยอารมณ์ทั้งมวลในโลกนี้ไม่น่ายินดี จักเป็นของเย็น
   

  สำหรับ บทธรรมวันนี้ต้องขอขอบคุณพระอาจารย์ที่ช่วยชี้แนะครับ

   :25: :25: :25:
 
   


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pornpimol ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 11:42:46 am
มีสาระ ที่ให้พิจารณา ตามมากเลยคะ

  :s_hi: :25:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2012, 10:00:34 pm
อนุโมทนา คะ เรื่องนี้มีสาระ น่าอ่านมากคะ
คุณเสกสรรค์ นี่ถ้าจะเป็นศิษย์ ที่คอยตามพระอาจารย์มากเลยนะคะ เก่งมากคะที่นำเสนอคำตอบโดนใจคะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: winyuchon ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2012, 01:22:36 pm
เรื่องนี้ คุณ เสกสรรค์ ตอบได้ีดี มากครับ อนุโมทนาด้วยจริง ๆ ครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2012, 11:24:57 pm
หากเป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ผู้ที่ถามคนแรก ยังอยู่ขั้นฝึก ควรฝึกในนิมิต 3 ประการ เพราะยังไม่ได้สมาธิ
      ส่วนที่ครูบาอาจารย์ นําสมาธิสูตรต่าง มาลงช่วงนี้ สําหรับผู้ที่ได้สมาธิแล้ว จึงยกสมาธิสูตรมาให้ เป็น สโรริกาญาณ 1-8
     สําหรับผู้ที่ได้ลม อานาปานสติ เป็นกรรมฐานคนละห้องกัน
         ญาณ1-4 กายานุปัสสนา จนออกจากลมเมื่อไม่เห็นลมแล้ว คือกายดับ รูปดับ ไม่มีรูป เพราะมีรูปๆจึงไม่มีรูป เพราะลมคือกาย เมื่อลมดับกายดับ จึงต้องยกอารมณ์ต่อ
        ญาณ5-8 จึงให้ยกเวทนานุปัสสนาขึ้นมา การยกอารมณ์ ให้เป็นรูป คือการฝึกอรูป ให้เป็นรูป หรือวิปัสสนาให้เป็นสมถะ เพื่อฝ่าด่านตั้งแต่อากาสา-จนถึงเนวะนา
         แต่กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ เรียกว่าฝึกพุทธานุสสติ ปีติ ยุคคล สุข
         ผู้ฝึกเริ่มต้นควรฝึก จาก สมถะให้เป็นวิปัสสนาก่อน เมื่อได้รูปดับ สมาธิสองส่วน แล้วจึงค่อยมา ฝึกวิปัสสนาให้เป็นสมถะ ขึ้นโลกุตตระ(รูปให้เป็นอรูป แล้วจึง ทําอรูปให้เป็นรูป)  เรียกว่าเข้าสมาธิได้ทั้ง รูป และ อารมณ์ นามดับรูป รูป ดับนาม สําหรับศิษย์ที่เปิดธาตุ ปล่อยธาต เปิดอินทรีย์ เข้าจักรแล้ว จึงมาเรียนตรงนี้ เพื่อกันติด โอภาสด้วย จะได้ไม่หลงแสงสี
     อย่าเข้าใจผิดและเอาไปรวมกับผู้มาใหม่
         สมาธิสูตร สนับสนุน อานาปาน กรรมฐานห้อง 4
             สายกําหนดรู้ ชอบคว้าตรงนี้ไปทํา แต่สมาธิสูตร สนับสนุนสมาธิที่เกิดแล้ว หากสมาธิยังไม่เกิดต้องตั้งสมาธิก่อน อย่าใขว้เขว
           พระสาวกที่นอนป่วยนั้นๆ ท่านทรงฌาน4 สมาบัติแล้ว จึงทําผลเกิดได้
           ผู้ฝึกสมาธิใหม่คว้าเอาไปทําด้วยความเข้าใจผิดก็ได้แค่สลายปีติ รวมสมาธิไม่ได้ รวมลมไม่ได้ องค์ธรรมทั้ง5 ไม่รวม
           ขั้นฝึกควรอยู่กับนิมิต 3 ประการ
             แต่ที่ไม่ใช่ศิษย์สายนี้ ก็ตามใจท่านไม่เกี่ยวกันอยู่แล้วแนวใครแนวมัน ไม่ว่ากัน


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: pussadee ที่ กุมภาพันธ์ 13, 2012, 12:29:48 am
เป้นเรื่องที่ควร อ่านจริง ๆ คะ มีการยกได้อย่างเข้าใจ คะ

อนุโมทนา ผู้โพสต์ ด้วยนะคะ ขอให้แจกธรรมไปเรื่อย ๆ นะคะ

 สาธุ

  :25:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: วิชชุดา ที่ สิงหาคม 31, 2012, 01:57:14 pm
นิมนต์พระอาจารย์ แสดงความเห็นกระทู้นี้ด้วยคะ

  :c017: :c017: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: chatchay ที่ กันยายน 01, 2012, 12:50:18 am
คงต้องทำไว้เป็นหัวข้อต้น ๆ ให้พระอาจารย์ได้รับ ทราบ นะครับ เพราะคิดว่าเรื่องนี้หลุดไปอยู่หน้าลึก ๆ โอกาสที่จะได้รับคำตอบคงเป็นไปได้ยากนะครับ ดังนั้น ผมคิดว่า ห้องคำถามพระกรรมฐาน นี้ไม่ควรพลัสกระทู้นะครับ

  :49: :c017: :25:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: wayu ที่ กันยายน 01, 2012, 12:52:04 am
ใน facebook นั้นเห็นมี ท่าน ปัญญาปโชโต อาสาให้คำตอบเบื้องต้นไว้นี่ครับ
อนุโมทนา ด้วยนะครับ ถ้ามาช่วยชี้แนะในเบื้องต้นก่อนนะครับ ห้องนี้ไม่ค่อยมีพระสงฆ์มาช่วยตอบเลยนะครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ กันยายน 04, 2012, 12:53:15 am
การดูเวทนา เคยได้ยินมาจากพระอาจารย์ว่า จัดเป็นอรูปกรรมฐานนะครับ เพราะเวทนานั้นเป็นเพียงสภาวะ คือ สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา นะครับ

  :s_hi:

(http://www.vcharkarn.com/uploads/70/71067.jpg)
ขอบคุณภาพจาก http://www.vcharkarn.com (http://www.vcharkarn.com)


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ กันยายน 11, 2012, 07:57:19 am
อนุโมทนา สาธุ ครับอ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น ครับ

 :25: :c017:


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ กันยายน 12, 2012, 04:40:19 pm
สาธุ อนุโมทนากับคำถามและคำตอบของพระอาจารย์และท่านผู้รู้ทุกท่านครับ โดยเฉพาะคำอธิบายของท่านสมภพเป็นประโยชน์และเข้าใจง่ายมากครับ

ผมขอเสริมด้วยความเห็นและแนวทางส่วนตัวนิดหนึ่งนะครับ

การที่ร่างกายมันรู้สึกเนือยๆ ง่วงหนาวหาวนอนไม่กระปี้กระเป่า เอาแต่อยากนอน จัดเป็น 2 ประเด็นก่อนนะครับ
1. ร่างกายไม่สมบูรณ์ ป่วยอยู่
2. หากมันเกิดจากการปฏิบัติธรรม ให้พิจารณาดูเหตุดังนี้คือ
    2.1 เกิดนิวรณ์ความขี้่เกียจขึ้นอยู่ แล้วเสพย์ความปรุงแต่งนั้น เมื่อจิตเกิดสภาวะนั้นอยู่กายย่อมอ่อนเพลียตาม ตามที่รู้กันว่า จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
    2.2 เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายอย่าไปคิดว่าถึงธรรมแล้ว แต่ให้มองดูด้วยสติดูที่ จิตานุสติปัฏฐานว่า ขณะนั้นความหมองมัวใจ ขุ่นมัวใจเกิดขึ้นมาแล้วหรือไม่ หรือดูในสภาพความคิดที่ว่า เหนื่อยทำงาน เบื่อทำงาน ไม่ชอบที่จะทำ ไม่อยากไปมุ่งทะยานทำงาน ไม่อยากขวานขวาย นี่โมหะกับโทสะเกิดแก่จิตคุณแล้ว เจัดรวมเข้าสู่นิวรณ์ได้ มันไม่ใช่ความเบื่อหน่ายในสภาพที่เป็นกุศลจิตที่พิจารณารู้เห็นตามจริงโดยตัดจากกิเลส
    2.3 ธรรมชาติเมื่อเกิดความเบื่อด้วยโมหะ โทสะ เกิดขึ้นแล้ว ความตั้งอยู่ในโลภะย่อมมีอยู่อย่างแน่นอน เช่น อยากอยู่เฉยๆ สบายๆ ไม่ต้องขวานขวาย บางครั้งบางคนก็คิดไปว่า บวชสบายกว่า ไม่ต้องทำงาน ไม่ต้องทำตามคำสั่งใคร ปฏิบัติตามวัตรไปเฉยๆสบายๆ นี่ก็เพราะความพอใจใฝ่ที่จะสบาย หลีกลี้หนีสิ่งที่ตนไม่ชอบใจ ไม่ใช่เห็นว่าการบวชเป็นความพ้นทุกข์ นี่ไงความขี้เกียจก็เกิดขึ้นทันที พอปรุงแต่งไปปรุงแต่งมาก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับที่พบเจออยู่ด้วยความขุ่นมัวหมองจิตทันที ทำให้จิตเสพย์กิเลสมากจนไม่มีกำลังมากพอ ร่างกายก็จะรู้สึกอ่อนล้าตามไปด้วย
    2.4 ด้วยกรณีตามข้อที่ 2.1-2.3 สภาพความรู้สึกของจิตใจผู้นั้นจึงไม่รู้จุดมุ่งหมาย หรือ หน้าที่ๆตนเองต้องทำและปฏิบัติ ในฐานะของ ลูก พ่อ แม่ หลาย พี่ น้อง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย เหลน พนักงาน คนงาน หัวหน้า เจ้าของ เป็นต้น
3. ลองพิจารณาและกระทำแก้ดังนี้ดูครับ เพราะผมก็เคยเป็นเช่นกัน
    3.1 ดังนั้นเมื่อจิตเสวยอารมณ์ใดๆ เช่น ทุกข์ สุข เฉยๆ (ความรู้สึกเฉยๆนี่ มีทั้ง กุศล และ อกุศล นะครับ) ให้รู้ในเวทนานั้นๆ
    3.2 เมื่อรู้ในเวทนานั้นแล้วให้ถอยหาความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดีที่เรามีอยู่ ที่ตั้งความสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ ก็จะเห็นถึงต้นตอของเวทนานั้นๆ ว่า เราพอใจสิ่งใด ไม่พอใจสิ่งใด
    3.3 พอรู้เหตุที่ตั้งความสำคัญมั่นหมายที่ประกอบไปด้วยกิเลสตัณหาที่ตั้งไว้แก่ตนแล้ว ย่อมเห็นความเป็นไปของนิวรณ์ทั้งหลาย
    3.4 ให้หลับตา จากนั้นให้หายใจเข้าลึกๆ... กลั้นหายใจไว้นับ 1-5 หายใจออกยาวๆ กลั้นใจไว้นับ 1-5 ครบกระบวนการนี้นับในใจว่า 1 ทำอย่างนี้สัก 10 ครั้ง การตอบสนองของร่างกายจะเกิดขึ้น สภาพการสูบฉีดของเลือดในทางกายภาะจะเกิดขึ้นมีเกิดการกระตุ้นของธาตุ และ ความสงบและมีกำลังของจิตมากขึ้น
    3.5 พิจารณาถึงข้อดี ข้อเสีย ว่า หากเราเกียจคร้านกระทำตามความปรุงแต่งนั้น สิ่งใดจะเกิดขึ้น แล้ว คริอบครัว พ่อ แม่ ลูก หลาน พี่ น้อง จะต้องเป็นอย่างไร แล้วหากเราตัดความขึ้เกียจนั้นแล้วลุกขึ้นพยุงตนเองสู้ ข้อดี ข้อเสีย อะัไรจะเกิดแก่เรา
    3.6 พิจารณาว่า สภาพจิตความปรุงแต่ง นึกคิดที่เกิดขึ้นแก่เรานี้ มันก็ปรุงไปของมันตามธรรมชาติของจิต ที่เรียกว่้าธัมมารมณ์ เพราะธัมมารมณ์เกิดขึ้น แล้วเราเอาจิตไปเกี่ยวข้องกับมันเราจึงหลงตามไปในกระแสแห่งธัมมารมณ์ ปล่อยไปมันปรุงไปของมันให้รู้ว่าสิ่งที่มันปรุงไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆแก่เรานอกจากความพลาดพลั้งและความทุกข์
    3.7 ระึลึกย้อนถึงหน้าที่ๆตนเองต้องทำ ทำเพื่อสิ่งใด เพราะอะไร (ต้องพิจารณาหาหน้าที่และจุดหมายขอิงตนให้ได้นะครับ กำลังจิตจะเกิดขึ้นมาสัดนิดนึง)
   3.8 ระลึกถึงสภาพความรู้สึกที่มีความ ผ่องใส สงบ ไม่ติดข้องใจ พิจารณาว่าหากเราทำ เรามีเงินให้ครอบครัวได้ แม้เล็กน้อยก็สามารถทำให้ครอบครัวได้ หรือ สามารถใช้เงินนี้ไปทำนุบำรุงช่วยเหลือคนยากจน และ พระพุทธศาสนาได้ ตั้งจิตปารถนาดีต่อผู้อื่นไว้ แล้วระลึกว่าหน้าที่ของเราคือทำเพื่ออนุเคราะห์แก่บุคคลเหล่านั้น เราต้องทำให้ได้ นี่ความตั้งมั่นเกิดแล้ว
    3.9 ระลึกถึงความรู้สึกปรุงแต่ง สมมติสร้างเรื่องราวตรึกนึกใดๆที่เป็นสิ่งให้เกิดความมัวหมอง ขุ่นมัวใจนั้น โดยอาจตั้งบัญญัติโดยระลึกถึงความปรุงแต่งจิตเหล่านั้นว่า มาร ฉันเห็นแกแล้ว ความปรุงแต่งให้เกียจคร้านนั้นแหละคือแกะจัดมาปรุงฉันอยู่ ฉันจะไม่คล้อยตามแกอีก จะไม่หลงไปตามอารม์ที่แกปรุงแต่งอีก นี่เรียกว่ามี สติ มีจิตอยู่เกหนืออารมณ์
    3.10 กุศลจิตเกิด รู้ข้อดีข้อเสีย ก็สร้างเจตนาให้เกิด ตั้งมั่นในความเพียร ก็จะผ่านพ้นไปได้ หากจิืตยังไม่ตื่นตัวก็ให้เดินจงกรม หรือ ยืนสงบนิ่ง กิเลสที่นอนเนื่องมันจะลดลงได้เช่นกันครับ

เอาแค่นี้ก่อนนะครับ เบื้องต้นทำอย่างนี้ก่อน ผมเช่นร้านเนตเวลาหมดแล้วไว้ได้ผลยังไงมาตอบเพิ่มเติมด้วยนะครับ


หัวข้อ: Re: ปัญหา เรื่องการดูเวทนา ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ กันยายน 14, 2012, 12:29:39 am
ขอบคุณ ท่าน Admax ที่มาสนับสนุน ความรู้ทางธรรม ครับ ผมกำลังอ่าน และกำลังทำความเข้าใจ หลาย ๆ รอบ เดี๋ยวมีคำถาม เพิ่มเติมแล้วจะมาถามต่อนะครับ

  :25: :25: :c017: :c017: