หัวข้อ: จิตปภัสสร จิตเศร้าหมอง จิตล่วงทุกข์ ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2012, 12:30:15 pm พุทธภาษิตจากพระโอษฐ์ ว่าด้วยเรื่อง..จิต (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-1.jpg) 2.1 แก้ที่ต้นตอ พระเมฆิยเถระ...ปล่อยให้ความวิตก ๓ อย่างเข้าครอบงํา พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า... คนมีปัญญา ทำจิตที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก ให้ตรงได้ เหมือนช่างศรทำลูกศรให้ตรงได้ฉันนั้น (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-2.jpg) ปลาถูกเขาจับโยนไปบนบก ย่อมดิ้นรนเพื่อจะกลับไปยังแหล่งน้ำที่เคยอาศัย จิตใจเราก็เช่นเดียวกัน ดิ้นรนไปหากามคุณ เพราะฉะนั้น จึงควรละเว้นกามคุณเสีย (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-3.jpg) 2.2 ไม่แน่ไม่นอน ภิกษุรูปหนึ่ง...สนทนากับนางมาติกมาตา นางมาติกมาตานั้นเป็น พระอนาคามีพร้อมด้วยอภิญญาจึงสามารถทราบวาระจิตของผู้อื่นได้ ภิกษุนั้นเป็นเพียงปุถุชนมีความละอายจึงหนีไปยังสํานักของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนภิกษุนั้นด้วยภาษิตว่า... จิตควบคุมยาก แปรเปลี่ยนง่าย ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่ ฝึกจิตเช่นนั้นได้เป็นการดี เพราะจิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้ (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-4.jpg) 2.3 สุขุมคัมภีรภาพ อุกกัณฐิต...ออกบวชเป็นภิกษุ มีความอึดอัดใจในพระอภิธรรมและพระวินัยจึงปรารถนาจะสึก พระภิกษุอาจารย์ทั้ง ๒ ได้นําตัวเข้าเฝ้าพระ พุทธเจ้า อุกกัณฐิตภิกษุกราบทูลว่าถูกศีลและอภิธรรมห้ามปรามไว้ทุกสิ่ง ทํากิจใดไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ทําจิตกิจโดยตรัสภาษิตว่า... จิตเห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก มักใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่ ผู้มีปัญญาจึงควรควบคุมจิตไว้ให้ดี เพราะจิตที่ควบคุมได้แล้วนำสุขมาให้ (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-5.jpg) 2.4 อย่างลังเล ชายเลี้ยงโคผู้หนึ่ง...ออกบวชเพราะความต้องการอาหาร เขาบวชๆ สึกๆ อยู่ถึง ๖ ครั้ง การบวชครั้งที่ ๗ เขาจึงบรรลุอรหัตผล ไม่มีความ อาลัย ไม่ข้องเกี่ยวกับทางโลกอีกต่อไป ภิกษุทั้งหลายทราบความที่พระจิตตหัตถเถระกล่าวว่าตนไม่อาลัย ไม่ข้องเกี่ยวในกามคุณอีกแล้ว จึงโจษกันว่าพระจิตตหัตถเถระกล่าวคําไม่จริง พยากรณ์อรหัตผล พระพุทธเจ้า ทรงทราบความเหล่านั้นแล้วจึงตรัสภาษิตว่า... ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรม มีความศรัทธาไม่จริงจัง (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-6.jpg) ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เนืองนิตย์ มีจิตเป็นอิสระจากราคะและโทสะ ละบุญและบาปได้ ย่อมไม่กลัวอะไร ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.96rangjai.com/buddha/mind.html (http://www.96rangjai.com/buddha/mind.html) หัวข้อ: Re: จิตปภัสสร จิตเศร้าหมอง จิตล่วงทุกข์ ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2012, 12:40:52 pm (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-7.jpg) 2.5 พ้นจากบ่วงมาร พระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ...เป็นหลานของพระสังฆรักขิตเถระ มีความคิดฟุ้งซ่านจนเอาด้ามปฏักตีศีรษะของพระเถระ พระสังฆรักขิตเถระทราบความที่คิดฟุ้งซ่านโดยเจโตปริยญาณจึงกล่าวตําหนิ พระภาคิไนย สังฆรักขิตเถระมีความละอายได้หนีไปเพื่อสึก ภิกษุอื่นจับตัวได้แล้วนํามา ถวายต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความทั้งสิ้นจึงตรัสภาษิตว่า... จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ ใครควบคุมจิตนี้ได้ ย่อมพ้นจากบ่วงมาร (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-8.jpg) 2.6 ปัญญาคืออาวุธ ภิกษุหลายรูป...เข้าบําเพ็ญสมณธรรมในป่าตลอดพรรษา เทวดาไม่อาจขึ้นสถิต ณ วิมานของตนเหนือพรรณไม้ได้จึงเที่ยวทํากิริยาหลอนภิกษุเหล่านั้นให้หนีไป ภิกษุได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลเรื่องที่เกิดขึ้น พระ พุทธเจ้าจึงให้ท่อง “กรณียเมตตสูตร” เมื่อภิกษุเหล่านั้นท่องคาถานี้ก็ได้รับความเมตตาจากเทวดาคอยอุปถัมภ์ภิกษุอยู่เนืองนิตย์ จนในที่สุดภิกษุ เหล่านี้ก็มีแก่ใจในการบําเพ็ญสมณธรรม พระพุทธเจ้าจึงเปล่งฉัพพรรณรังสีไปปรากฏเฉพาะหน้าแล้วตรัสภาษิตว่า... เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้ ระวังอย่าตกอยู่ในอำนาจมารอีก (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-9.jpg) 2.7 กายนี้มิใช่ถาวร พระติสสเถระ...ชาวเมืองสาวัตถี เป็นแผลเน่าพุพองไปทั่วเรือนร่างพระสัทธิวิหาริกทั้งหลายทนดูแลไม่ได้จึงทอดทิ้งไปเสีย พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาดูแลพระติสสเถระด้วยพระองค์เองจนพระติสสเถระหายจากโรคร้ายนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า... อีกไม่นาน ร่างกายนี้จักปราศจากวิญญาณ ถูกทอดทิ้ง ทับถมแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้ (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-10.jpg) 2.8 บำเพ็ญอย่าหลงทาง คนเลี้ยงวัวชื่อนายนันทะ...ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าจนบรรลุโสดา ปัตติผล ตามส่งเสด็จพระพุทธเจ้าแล้วถูกนายพรานฆ่าตายระหว่างทาง ภิกษุโจษกันว่าเพราะพระพุทธเจ้าใช้ให้เขาตามมาส่งเขาจึงถูกนายพรานฆ่า ตาย พระพุทธเจ้าจึงเล่าบุพกรรมของนายนันทะพร้อมตรัสภาษิตว่า... จิตที่ฝึกฝนผิดทาง ย่อมทำความเสียหายได้ ยิ่งกว่าศัตรูทำต่อศัตรู หรือคนจองเวรทำต่อคนจองเวร (http://www.96rangjai.com/buddha/images/p2-11.jpg) 2.9 ที่พึ่งอันแท้จริง โสไรยเศรษฐีผู้บุตร...แลเห็นพระมหากัจจายนเถระมีรูปงาม จึงมีความคิดลามกต่อพระมหาเถระ กรรมนั้นทําให้เขากลับเพศเป็นสตรี ภาย หลังเมื่อขอขมาพระมหาเถระแล้วเขาจึงกลับเพศเป็นบุรุษและออกบวช ภิกษุและชนทั้งหลายเที่ยวสอบถามความอยู่เนืองๆ ด้วยเรื่องการ กลับเพศและความรักในบุตรทั้ง ๔ คน อันบุตร ๒ คนเกิดโดยเขาเป็นบิดา บุตร ๒ คนเกิดโดยเขาเป็นมารดา พระโสไรยเถระตอบว่ามีความสิเนหาในบุตรอันเกิดแต่ครรภ์ของตนมากกว่า ชนและภิกษุทั้งหลายย่อมสอบถามดังนี้เป็นนิตย์ พระโสไรยเถระมีความรําคาญภายหลังจึงนิ่งเสีย แล้วตั้งใจ บําเพ็ญสมณธรรมจนบรรลุอรหัตผล ภิกษุยังคงมาสอบถามเรื่องบุตร พระโสไรยเถระตอบว่าไม่มีความอาลัยไม่ว่าบุตรคนไหน ภิกษุโจษกันว่ากล่าวเท็จเพราะเมื่อไม่นานยังกล่าว ว่าตนอาลัยในบุตร พระพุทธเจ้าจึงตรัสภาษิตว่า... มารดาก็ทำให้ไม่ได้ บิดาก็ให้ไม่ได้ ญาติพี่น้องก็ทำให้ไม่ได้ แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบย่อมทำสิ่งนั้นให้ได้ และทำให้ได้อย่างประเสริฐด้วย ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.96rangjai.com/buddha/mind.html (http://www.96rangjai.com/buddha/mind.html) หัวข้อ: Re: จิตปภัสสร จิตเศร้าหมอง จิตล่วงทุกข์ ได้อย่างไร เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2012, 12:53:16 pm (http://www.dmc.tv/images/articles/picture_article/20100903-1n.jpg) ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฺฐนฺติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาต เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๖๑ - ๒๐๙. หน้าที่ ๗ - ๙. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=161&Z=209&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=161&Z=209&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42) ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/ (http://www.dmc.tv/) |