หัวข้อ: บังสุกุลเป็น เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 18, 2012, 02:37:25 pm (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2012/02/16/bhii5gjiag7b9a9h65ihc.jpg) บังสุกุลเป็น : คำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์ การทำบุญต่ออายุ จะนิยมจัดงานใหญ่กว่าการทำบุญวันเกิด ส่วนใหญ่จะกระทำในวัยเบญจเพส คือ ๒๕ ปี เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต หรือช่วงอายุกลางคน คือ ๕๐ ปี เพราะถือว่าอายุยืนยาวมาได้ครึ่งหนึ่งของชีวิตแล้ว จึงควรทำบุญและเลี้ยงฉลองความยินดี รวมทั้งทำพิธี "บังสุกุลเป็น" คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กุล (อ่านว่า กุ-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกุล (อ่านว่า ปัง-สุ-กุ-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า "บังสุกุล" เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็นบังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์ บังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือพิจารณาผ้าบังสุกุล พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม อธิบายให้ฟังว่า บังสุกุลเป็น เป็นคำเรียกวิธีบังสุกุลคนที่ยังไม่ตาย ถ้าบังสกุลคนที่ตายแล้วอย่างที่ทำกันโดยทั่วไป เรียกว่า บังสุกุลตาย บังสุกุลเป็น เป็นการบังสุกุลพิเศษในกรณีที่ทำแก่คนเป็น เช่น คนป่วยหนัก คนที่มีเคราะห์ เป็นการเอาเค็ด โดยมีวิธีทำ คือ ใฝห้คนทำพิธีนอนหงาย ประนมมือเหมือนคนตาย แล้วใช้ผ้าขาวคลุมร่างผู้นั้นให้มิดทั้งตัว พระสงฆ์ที่มาทำพิธีจับชายผ้าหรือด้ายสายสิญจน์ที่ผูกมาจากชายผ้าแล้ว กล่าวคำสำหรับบังสุกุลคนตายขึ้นขึ้นต้นว่า "อะนิจจา วะตะ สังขารา..." จบแล้วให้ผู้นั้นนอนหันศีรษะไปทางทิศตรงกันข้ามกับครั้งแรก จากนั้นคลุมด้วยผ้าขาวเหมือนเดิม พระสงฆ์บังสุกุลอีกครั้ง โดยกล่าวคาถาพิจารณาสังขารว่า "อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะวิญญาโณ นิรัตถัง วะ กะริงคะรัง" เป็นการถือเคล็ดว่า "กลับฟื้นขึ้นมาใหม่แล้ว" บังสุกุลเป็นที่นิยมทำกันทั่วไปด้วยเชื่อกันว่าเป็นการต่ออายุ โดยเฉพาะคนที่ป่วยหนัก หรือกระทำกันในวันเกิดแม้ไม่เจ็บป่วยก็ตาม ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.komchadluek.net/detail/20120217/123177/ (http://www.komchadluek.net/detail/20120217/123177/)บังสุกุลเป็น.html หัวข้อ: Re: บังสุกุลเป็น เริ่มหัวข้อโดย: รีบอร์น ที่ กุมภาพันธ์ 18, 2012, 02:41:10 pm อนุโมทนา คะ สาธุ
:25: :25: :25: หัวข้อ: Re: บังสุกุลเป็น เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ กุมภาพันธ์ 18, 2012, 06:14:54 pm มีสาระ อยู่นะคะ แต่ก็ยังสงสัย อยุ่ว่า การบังสุกุล ซึ่งเป็นวิธีการต่ออายุนั้น ในครั้งพุทธกาลมีหรือไม่ คะ
การต่ออายุ นอกจากวิธีการนี้ ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกหรือไม่ คะ :c017: :c017: :c017: หัวข้อ: Re: บังสุกุลเป็น เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 18, 2012, 09:27:17 pm มีสาระ อยู่นะคะ แต่ก็ยังสงสัย อยุ่ว่า การบังสุกุล ซึ่งเป็นวิธีการต่ออายุนั้น ในครั้งพุทธกาลมีหรือไม่ คะ แนะนำให้สามกระทู้ครับ สวดพระปริตร ๗ คืน ๗ วัน ต่ออายุได้ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3099.msg10939#msg10939 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3099.msg10939#msg10939) ต่อชะตาชีวิต http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=461.msg1770#msg1770 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=461.msg1770#msg1770) สัมภเวสี กรรมตัดรอน สะเดาะเคราะห์ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=596.msg2376#msg2376 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=596.msg2376#msg2376) :49: |