สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2012, 07:48:20 pm



หัวข้อ: “เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 22, 2012, 07:48:20 pm

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/13874.jpg)

“เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน

เคยได้ยินคำว่า “เกรียน” อยู่บ่อยครั้งในระยะหลัง ๆ ในฐานะคนที่มีอายุเกินวัยรุ่นมาระยะใหญ่ๆแล้ว เลยสอบถามน้องๆกันว่า

ไอ้คำว่า “เกรียน” นี้มีความหมายว่าอะไร ก็ได้ความมาว่า

เป็นศัพท์แสลงของไทยที่แปลว่า เด็กๆที่เริ่มต้นเรียนรู้เรื่อง ตรรกะมาบ้างแล้วก็ใช้ ความรู้ตรรกะที่มีอยู่จำกัดๆนั้นมา ใช้ในการโต้เถียงแสดงความคิดเห็นกัน ที่เรียกว่าเกรียนก็เพราะว่า เปรียบเสมือนเด็กมัธยมที่ยังตัดผมทรงเกรียนอยู่แต่ทำตัวแสดงท่าทีแก่เกินวัย
 
ก็ลองนึกไปว่าคอนเซปต์ “เกรียน” นี้มีอยู่ในโลกสากลหรือเปล่าจึงได้นึกถึงคำว่า “sophomoric” อันเป็นคำนามวิเศษณ์ (adjective) ในภาษาอังกฤษนั่นแหละครับ คำนี้คนอ่านแล้วคงนึกถึงคำว่า Sophomore ที่แปลว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 2


(http://uc.exteenblog.com/abjit/images/En1/Image(340).jpg)

สำหรับคำว่า sophomoric นั้นเป็นคำแปลที่ใกล้กับคำว่า “เกรียน” มากที่สุดเพราะหมายถึง คนที่อวดอ้างความรู้ที่มีอยู่จำกัด และชอบใช้ความรู้และตรรกะที่จำกัดๆของตัวเองนั้นในการโต้เถียงอวดภูมิของตัวเอง (ที่ไม่ได้จำกัดว่าอยู่วัยไหน)
 
อยากจะพูดถึงเรื่องนี้เพราะสังคมไทยในปัจจุบันจะพบว่า มีคนที่ "แสดงความคิดเห็น" เยอะแยะมากมายไปหมดจนกระทั่งไม่รู้ว่าอะไรคือชุดความจริงที่ถูกต้องเพราะทุกคนต่างก็มีเหตุผลของตนเอง และ ตอนนี้ก็ด้วย “ชุดความคิด” และ “ชุดความจริง” ที่แตกต่างทำให้คนไทยนี่แหละกินแหนงแคลงใจกันจะฆ่าจะแกงกันไม่เว้นแต่ละวัน

จนบางคนถึงกับบอกว่า “เราเลิกคุยกันด้วยเหตุด้วยผลจะดีไหม เพราะคุณก็มีเหตุผลของคุณ ผมก็มีเหตุผลของผม แต่เหตุผลของพวกเราสองชุดมัน ไปกันคนละทิศละทางยิ่งคุยก็ยิ่งทะเลาะ” หากให้เข้าบริบทคำว่า “เกรียน” ต่างฝ่ายต่างก็มองว่าชุดเหตุผลของแต่ละคนนั้นไม่น่าเชื่อถือกันอีกด้วย (เฮ่อ.. แอบถอนหายใจ)

 
(http://1.bp.blogspot.com/_3yZH33jKo5g/SNj4f663HsI/AAAAAAAAC0U/anisihoxBCs/s400/dharma1.jpg)

สิ่งนี้ทำให้นึกถึง บทสนทนาของผมกับ พระอาจารย์ ว. วชิรเมธี ที่เมืองพุทธคยารัฐพิหารประเทศอินเดีย อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระบรมศาสดา ที่ผมถาม ท่าน ว. ว่า

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ค้นพบ "อริยสัจ" แสดงว่า ความจริงและเหตุผลของชาวอินเดียก่อนที่พระพุทธองค์จะพบกับ “อริยสัจ” ผ่านการตรัสรู้นั้นเป็น “ชุดความจริง” (หรือ สจฺจ) ที่ไม่อริยะใช่หรือไม่?

คำตอบก็คือ ความจริงในยุคพุทธกาลนั้นมีอยู่มากมายหลายชุด แต่ในฐานะชาวพุทธ ความจริงที่พระพุทธองค์ค้นพบถือเป็นชุดที่สิ้นสุดไม่จำต้องโต้เถียงกันอีกต่อไปแล้ว ถือเป็นความจริงอันเป็นอริยะ
 
สังคมสมัยพุทธกาลที่มีความจริงหลายชุด เถียงกันไม่จบ ก็คงคล้ายๆกับสังคมปัจจุบันของไทยในวันนี้ เป็นสังคมที่ ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรง ใช้เหตุใช้ผลในการประหัตประหารกัน ไม่ค่อยยอมลดราวาศอกกัน คนที่เป็นผู้รู้จริงก็มีมาก

แต่พวกที่เป็น “เกรียน” ก็มีอยู่ไม่น้อยดังนั้น การจะหาว่าอะไรถูกอะไรผิดนั้นก็หาข้อยุติไม่ได้ง่ายๆ ท่นผู้อ่านก็คงถามว่าแล้วถ้าเราไม่ใช้เหตุผลคุยกันแล้วเราจะใช้อะไร จึงหาข้อสรุปกันได้

 
(http://saveworld.ch7.com/year2/images/pic_tree.jpg)

ก็คงไม่ง่ายเหมือนกันแต่ อย่างหนึ่งที่อยากจะฝากเอาไว้คือ “การละการยึดมั่นถือมั่น" ตามแนวพุทธนี่แหละครับ ตราบเท่าที่เรายังไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เราก็ไม่ควรยึดติดยืดมั่นถือมั่นจนเกินไป นักปรัชญาชื่อดังชาวอังกฤษ เบอร์ทรานด์ รัสเซล เคยพูดเอาไว้ว่า

"คนเราไม่ควรที่จะต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งจนสุดโต่ง เพราะวันหนึ่งอาจจะพิสูจน์ได้ว่า สิ่งที่ตัวเองยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นนั้นมันผิด ซึ่งถ้าถึงเวลานั้นแล้วเราจะแก้ไขอะไรก็ไม่ทันกาล”
 
หลายท่านอาจคิดว่าแล้วมันมีด้วยหรือที่คนเราจะเชื่อมั่นหัวชนฝาแต่แล้ววันหนึ่งก็กลับมาคิดว่าตัวเองผิด ตัวอย่างของ องคุลีมาร ก็หนึ่ง หากมองประวัติศาสตร์ใกล้ๆก็เช่น เรื่องของ นาซีเยอรมัน ที่คนเยอรมันยุคนั้นให้การสนับสนุนเต็มที่ แต่แล้ววันหนึ่งก็ตื่นขึ้นมาจากฝันรู้ว่าสิ่งที่ตนเองสนับสนุนและยึดมั่นมันคืออุดมการณ์ที่คร่าชีวิตคนยิว 6 ล้านคน มานั่งเสียใจก็ไม่ทันกาลเสียแล้ว
 
   ในยามที่เรายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอะไรคือถูก อะไรคือผิด
   (อีกอย่างตัวเราเองนั้นเข้าข่าย “เกรียน” หรือไม่ก็ไม่รู้ คนเขียนเอง “เกรียน” หรือเปล่าก็ไม่รู้)
   “การละความยึดมั่นถือมั่น” ไม่สู้ ไม่เถียง เพื่ออะไรอย่าง “หัวชนฝา” จะช่วยให้เราฟังเหตุผลกันและกันมากขึ้น และจะนำสังคมไปในทางที่ดีขึ้น อย่างน้อยก็น่าอยู่มากขึ้นกว่าวันนี้แหละครับ.. แล้วคุณล่ะ ลดอัตตาตัวเองได้บ้างแล้วหรือยัง?.

เรื่องโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/article/630/13874 (http://www.dailynews.co.th/article/630/13874)
http://uc.exteenblog.com/,http://1.bp.blogspot.com/,http://saveworld.ch7.com/ (http://uc.exteenblog.com/,http://1.bp.blogspot.com/,http://saveworld.ch7.com/)


หัวข้อ: Re: “เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน
เริ่มหัวข้อโดย: sakol ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2012, 12:07:07 am
ใช่ เกรียน มาก ๆ ในสมัยนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น เอาเป็นว่า ไม่รู้จริงแล้ว ถอย.....


  :08:


หัวข้อ: Re: “เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ กุมภาพันธ์ 24, 2012, 02:20:44 pm
คนสมัยนี้ เกรียนกันจริงๆ ไม่ยอมลดลาวาศอกกันเลย ต่างคนต่างคิดว่าตัวเองถูกเสมอ ......สังคมถึงได้วุ่นวายขนาดนี้ เกรียน เกรียน เกรียน......  :c017: :c017:   :41: :41: